17 พ.ย. 2019 เวลา 01:05
เรื่องสุขภาพยังมีความลับซ่อนอยู่อีกมาก นี่คือเหตุผลว่า ทำไมเราเอาชนะปัญหาสุขภาพไม่ได้สักที ในยุคเปิดกว้างทางออนไลน์ เราจะได้พบเห็นบทความใหม่ๆ แปลกๆ(ต่างจากมุมมองแบบเดิมๆ)เสมอ
บทความเตือนเกี่ยวกับการนั่งนานๆ มีผลเสียต่อสุขภาพให้ได้อ่านบ่อยๆ เช่น ฆาตกรที่ชื่อว่าเก้าอี้ ของอาจารย์วรากรณ์ สามโกเศศ หรือในเพจ หมอขอเล่ามีงานวิจัยว่า การนั่งนาน เกินไป ภัยร้ายต่อสุขภาพที่ทุกคนคาดไม่ถึง
นั่งนานเกิดโรค
แต่ยังไม่เคยมีคำอธิบายว่า การนั่งไปทำอันตรายต่อร่างกายได้ด้วยวิธีใด? การนั่งมีกลไกใดไปเกี่ยวพันกับการเกิดโรคได้อย่างไร
ในยุคที่เพิ่งค้นพบDNA ใหม่ๆ บทความจากงานวิจัยแบบนี้คงไม่มีใครทำ เพราะงานวิชาการทำให้ทุกคนเชื่อว่า ทุกอย่างในร่างกายเป็นผลงานของDNA รวมทั้งการเกิดโรคด้วย ใครจะสนใจวิจัยเกี่ยวกับการนั่ง
ยิ่งเวลาผ่านไป ความกระหยิ่มใจที่คิดว่ารู้ทุกอย่างดีแล้ว ก็เริ่มสร้างคำถามใหม่ๆตามมา หลังจากการติดตามการทำงานของDNA เช่น DNA เป็นการถ่ายทอดทางGenetics แต่บางครั้งก็ไม่เป็นไปตามนั้น จนต้องใช้คำใหม่ว่า Epigenetics แปลว่ามีอิทธิพลเหนือGenetics แต่ไม่รู้ว่ามันคือ อะไร
การนั่งนับเป็นพฤติกรรมอย่างหนึ่งใน 3ท่า ที่ทุกๆคนต้องทำภายใน24ชั่วโมงที่ผ่านไป ในนาทีนี้ให้ลองค้นหาดูว่า คุุณกำลังอยู่ในท่านั่ง นอน หรือยืน
ผมเป็นคนขี้สงสัย ถ้าอ่านตำราหรืองานวิจัยแปลกๆ มักมีคำถามในใจตามมาเสมอ ถ้าไม่นั่งแล้วนอนนานๆมีผลเสียต่อสุขภาพไหม? ยืนหรือเดินนานๆ( การเดินวิ่งเป็นท่าทางหนึ่งของการยืน)สุขภาพจะแย่ลงบ้างไหม?
เอาเรื่องนอนก่อน ลองค้นหลายๆบทความดู พอสรุปได้ว่า นอนมากก็ไม่ดี นอนน้อยก็ไม่ดี ส่วนมากจะสรุปว่า ต้องนอน 6-8ชั่วโมง ถึงทำให้สุขภาพอยู่ในเกณฑ์ดี การนอนน้อย ใครๆก็อธิบายได้ว่า ร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอซ่อมได้น้อย สุขภาพก็โทรม แต่พอนอนมากไป กลับบอกว่าระบบต่างๆก็ทำงานไม่ดีด้วย ช่างน่าแปลกนะ จะอธิบายว่ามีเวลาซ่อมมากไปก็ไม่ดี
การยืนเฉยๆ ไม่ค่อยมีใครพูดถึงในแง่สุขภาพ จะมีก็เรื่องปวดเมื่อยกับเส้นเลือดขอด แต่ถ้ามีการเคลื่อนไหวร่วมด้วย ทุกคนจะบอกว่ายิ่งเดินยิ่งดี เพราะนี่คือการออกกำลังกาย แต่พอเคลื่อนไหวไปทำงาน ก้มบ้าง ยกของบ้าง กลับบอกว่าไม่ดี ใครเป็นคนอธิบายได้บ้าง และใช้หลักการใด
ความรู้เรื่องป้องกันสุขภาพเรายังรู้น้อยมาก เราจึงดูแลร่างกายไม่ให้เกิดโรคจนแก่ตายไม่ได้ ต่างกับความรู้ทางการแพทย์สมัยนี้ ถือเป็นสุดยอดของการค้นพบ เรารู้กลไกทุกอย่างที่โรคไปกระทำกับร่างกาย เราจึงมีวิธีรักษามากมายเพื่อไปแก้ไข แต่ทุกอย่างต้องเกิดหลังจากเป็นโรคแล้ว การรักษาจึงวนเวียนอยู่กับโรค ไม่มีวันแยกจากกันได้ เพราะเดินตามหลังโรคหนึ่งก้าวเสมอ
ร่างกายเป็นเครื่องจักรที่ธรรมชาติสร้างมา มีประสิทธิภาพสูงสุด ข้อเสียเพียงอย่างเดียว คือ ไม่มีคู่มือการใช้ร่างกาย ถ้ามีคู่มือเราจะรู้ทันทีว่า ควรนั่งนานกี่ชั่วโมง นอนกี่ชั่วโมง คู่มือที่ดีจะบอกถึงกลไกการทำงานด้วยและต้องระวังข้อห้ามอะไรบ้าง เพื่อไม่ให้เครื่องเสียเร็วเกิน สิ่งนี้คือการป้องกันสุขภาพ
จุดอ่อนนี้ ทำให้มนุษย์แสวงหายาอายุวัฒนะเรื่อยมาไม่รู้จบ ซึ่งปัจจุบันแปลงร่างมาเป็นอาหารเสริม หรือของกินผ่านปากที่โฆษณาว่าสุขภาพจะดี โดยไม่เฉลียวใจว่า ยังมีบางสิ่งอยู่ในร่างกายที่สำคัญ แต่มองไม่เห็นด้วยตา
ลองกลับมาย้อนดูเรื่องท่าทาง ซึ่งไม่ใช่ของกินผ่านปากแน่นอน เช่น การออกกำลังกายซึ่งทุกคนยอมรับหมดแล้วว่าทำให้สุขภาพดีได้ ในการออกกำลังจะมีก็แต่ท่าทางที่เปลี่ยน ต้องยืนขึ้น ลำตัวตั้งตรงกับแรงที่ออกเท่านั้น
ส่วนท่านั่งกลับไม่ดีต่อสุขภาพ ลองหาสิ่งที่ต่างออกไป ง่ายๆที่เห็นคือตอนนั่ง ตัวต้องงอที่สะโพก กับไม่มีการออกแรง ถ้านั่งไปนานๆตัวก็จะไหลลงมา ทำให้การงอเพิ่มขึ้น โดยไปงอที่กระดูกสันหลังด้วย
สิ่งที่นำมาเปรียบเทียบให้ดูนั้น ไม่เคยมีในตำราแพทย์ หรือในงานวิจัยเลย เพราะเราติดกับดักความรู้ที่เข้าใจว่า ร่างกายนั้นต้องเป็นเรื่องของชีวะเท่านั้น ทุกอย่างในตัวจึงต้องมีแต่สารอินทรีย์ ปัญหาทุกอย่างเริ่มที่เซลล์เท่านั้น
กับดักความรู้ทำให้เราอธิบายไม่ได้ว่าการออกกำลังกายทำให้สุขภาพดีได้อย่างไร? สถาบันNIHในอเมริกาใช้เงินเป็นพันๆล้านเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ในเรื่องนี้ แต่ก็ยังไม่พบคำตอบ เพราะมุ่งไปค้นหาการเปลี่ยนแปลงทางชีวะเคมี สิ่งที่พบมีเพียงไมโตคอนเดรียในเซลล์ของกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น
สิ่งที่ขาดไปในงานวิจัย คือความรู้เรื่องฟิสิกส์ที่ซ่อนอยู่อยู่ในร่างกายเรา การยืน การวิ่ง การนั่ง ฯลฯ ล้วนเป็นเรื่องของแรงกระทำทั้งสิ้น เพราะวัตถุทุกชนิดบนโลกใบนี้ ต้องมีน้ำหนักเสมอ นั่นคือแรงจากแรงโน้มถ่วงโลก
ถ้าการวิจัยเรื่องท่านั่งทำให้เกิดโรคเรื้อรังเพิ่มขึ้นได้ ก็สรุปง่ายๆแบบกำปั้นทุบดินว่า แรงโน้มถ่วงที่กระทำต่อร่างกายในลักษณะที่โครงสร้างอยู่ในท่างอหลังไม่ตรง ทำให้เกิดโรคเรื้อรังเพิ่มขึ้น
ข้อสรุปนี้ไม่มีหลักฐานทางวิชาการมาสนับสนุน เพราะยังไม่เคยมีการวิจัยในแนวทางนี้มาก่อน คนที่สงสัยแต่ต้องการเรียนรู้ ต้องเริ่มทดสอบ เรียนรู้และติดตามผล เหมือนทำวิจัยด้วยตัวเอง (โดยมีรายละเอียดเมื่อกลับไปอ่าน 3บทความแรกของเพจนี้ใหม่ แล้วทำตามดู)

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา