Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
สุขภาพดีไม่มีในขวด
•
ติดตาม
8 ม.ค. 2020 เวลา 05:17
รู้ไหมคะ..ความอ้วนในพุงน้อยๆของพวกเรานั้น มีปัจจัยที่ “เลี่ยงได้” และ “เลี่ยงไม่ได้”
👉🏻 ปัจจัยที่ “เลี่ยงได้”
- การรับประทานอาหาร ตัวการสำคัญที่เรารู้จักกันดี โดยเฉพาะในยุคที่อาหารเต็มไปด้วยของอร่อย และของอร่อยมักจะทำให้เราอ้วน ชานมไข่มุก เค้ก พิซซ่า ชาบู ต่างๆ รวมถึงการชอบกินจุบจิบระหว่างวัน
- การออกกำลังกายน้อย เนื่องด้วยชาวเราส่วนใหญ่มักจะมีข้ออ้างเรื่องการไม่มีเวลาออกกำลังกาย (แม้จริงๆจะมีเวลาดูซีรี่และเล่นเกม) จึงทำให้การใช้พลังงานสวนทางกับการกินเข้าไป จึงเห็นผลลัพธ์ออกมาในรูปพุงน้อยนั่นเอง
- การอดนอน ก็เป็นอีกปัจจัยกระตุ้นที่สำคัญเพราะเมื่อเราอดนอน ร่างกายหลั่งฮอร์โมนความอยากอาหารเพิ่มขึ้น และกินให้มากขึ้นเพื่อให้มีแรงทำงานและทำกิจกรรมต่างๆ และยังทำให้เกิดการต้านทางต่ออินซูลิน การเผาผลาญน้ำตาลลดลงจึงเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและโรคอื่นๆด้วย
👉🏻 ปัจจัยที่ “เลี่ยงไม่ได้”
- กรรมพันธุ์ มีผลการวิจัยพบว่า หากมีพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งอ้วน ลูกจะมีโอกาสอ้วน 3 เท่า แต่ถ้าหากมีญาติพี่น้องอ้วนจะมีโอกาสอ้วนเพิ่มเป็น 3 - 7 เท่า แต่หากเด็กที่ทั้งพ่อและแม่อ้วนจะมีโอกาสอ้วนมากถึง 10 เท่า แต่ถึงแม้พันธุกรรมจะมีผลทำให้อ้วนจริง แต่ก็ไม่ใช่ปัจจัยหลักที่ทำให้อ้วน 100% (มีผลแค่ 40 -70% เท่านั้น)ดังนั้นลูกที่เกิดจากครอบครัวที่มีพ่อแม่อ้วนสามารถมีน้ำหนักปกติได้
- ตั้งครรภ์ เนื่องจากเป็นช่วงที่ร่างกายแม่ต้องการพลังงานสูงเพื่อหล่อเลี้ยงทารก ซึ่งบางครั้งพลังงานที่มากเกินก็ไปสะสมในร่างกายของคุณแม่เอง ซึ่งความอ้วนระหว่างตั้งครรภ์จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อนต่อแม่และทารกได้มาก เช่น เบาหวาน ความดันสูง คลอดยากเนื่องจากทารกตัวใหญ่ผิดปกติ เป็นต้น
- การเลิกบุหรี่ ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุทำให้น้ำหนักขึ้นเนื่องจากเมื่อหยุดบุหรี่ ต่อมรับรสจะกลับมาทำงานเป็นปกติทำให้รับประทานอาหารได้อร่อยขึ้น ในขณะที่การเผาผลาญของร่างกายยังเหมือนเดิมจึงทำให้น้ำหนึกขึ้นได้
- ยาที่ทำให้น้ำหนักขึ้น เช่น ยาจิตเวช ยากันชัก อินซูลิน สเตียรอยด์
- โรคต่อมไร้ท่อ เช่น โรคถุงน้ำรังไข่ กลุ่มอาการคุชชิ่ง ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ
เห็นอย่างนี้แล้วก็อย่าพึ่งท้อใจไปค่ะ เรามาเริ่มปรับจากส่วนที่พอปรับได้กันนะคะ ปรับอาหาร ปรับการออกกำลังกายและปรับการนอนค่ะ นี่แหละคือวิธีการลดน้ำหนักที่ดีและยั่งยืนที่สุด
เอกสารอ้างอิง
ณิชา สมหล่อ. การดูแลผู้ป่วยโรคอ้วนในเวชปฏิบัติ. หน่วยโภชนาการคลินิก ฝ่ายอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
อ้วน เพราะกรรมพันธุ์. เกร็ดความรู้สุขภาพ. สสส. 2562
เลิกบุหรี่อย่างไร...ไม่ให้อ้วน. Infographic. MGROnline. 2561.
3 บันทึก
16
3
3
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ไม่อ้วนไม่มีพุงไม่เสี่ยงโรค
3
16
3
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย