10 พ.ค. 2020 เวลา 08:00 • ประวัติศาสตร์
รำลึก 'กบฏซีปอย' การลุกฮือครั้งใหญ่ของอินเดีย ที่ทำให้จักรวรรดิโมกุลถึงกาลอวสาน
WIKIPEDIA PD
ถ้าจะกล่าวถึงการก่อกบฏครั้งใดที่ลุกลามใหญ่โตจนอาจจะพลิกโฉมประวัติศาสตร์โลก คงจะหนีไม่พ้น 'กบฏซีปอย' ของอินเดียระหว่างปี ค.ศ. 1857-1858 มาดูกันว่าชนวนเหตุของความขัดแย้งดังกล่าวมีอะไรบ้าง และส่งผลทำให้อังกฤษมีท่าทีอย่างไรต่อดินแดนอันไกลโพ้นอย่างอินเดียในเวลาต่อมา
ซีปอย (Sepoy) เป็นทหารรับจ้างที่ได้รับการฝึกฝนทางยุทธวิธีแบบตะวันตกเพื่อทำหน้าที่ในการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อย กองทหารซีปอยได้กระจายตัวตามเมืองต่างๆ ที่บริษัทอินเดียตะวันออกถือครองอยู่ ทหารซีปอยระดับล่างส่วนใหญ่เป็นชาวอินเดียที่นับถือฮินดูและศาสนาอิสลาม
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
ในช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 19 บริษัทอินเดียตะวันออกได้ทำปฏิรูปขนานใหญ่ในอินเดีย ทั้งการศึกษา สาธารณูปโภค ทั้งหมดมีจุดประสงค์เพื่อให้ดินแดนต่างๆ ในอินเดียหลุดพ้นจากความป่าเถื่อน (ในมุมมองของอังกฤษ) ซึ่งทั้งหมดล้วนแล้วแต่ขัดกับธรรมเนียมประเพณีและความเชื่อดั้งเดิมของคนในพื้นที่ อีกทั้งการขยายดินแดนด้วยแสนยานุภาพทางการทหาร และลดทดอำนาจของคนพื้นเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งขุนนางและเจ้าผู้ครองนครซึ่งคนกลุ่มหลักที่สูญเสียอำนาจ ซึ่งความขัดแย้งนั้นได้ก่อตัวขึ้นโดยที่อังกฤษไม่รู้ตัว
WIKIPEDIA PD
กลุ่มทหารซีปอยก็อยู่ภายใต้วังวนแห่งขัดแย้งดังกล่าวเช่นกัน แม้จะเป็นกลุ่มคนที่ได้รับการปลูกฝังในรูปแบบทหารอาชีพ แต่ความก้าวหน้าในอาชีพการงานนั้น สำหรับคนพื้นถิ่นนั้นเป็นเรื่องที่ไปไม่ได้ อีกทั้งการเอารัดเอาเปรียบจากผู้บังคับบัญชาซึ่งเป็นชาวอังกฤษเป็นสิ่งที่มีปัญหามาโดยตลอด ความไม่พอใจจึงค่อย ๆ ปรากฏ จนกระทั่งมีข่าวลือที่แพร่สะพัดในกลุ่มทหารซีปอย ถึงน้ำมันหล่อลื่นของกระสุนที่ใช้กับปืน Enfield P53 ที่กำลังจะเป็นอาวุธประจำการชนิดใหม่ในกองทหารซีปอยว่ามีส่วนผสมของน้ำมันหมูและน้ำมันวัว ซึ่งขัดต่อหลักศาสนาอิสลามและฮินดู สร้างความไม่พอใจต่อนายทหารกลุ่มดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง แม้จะมีการร้องเรียนไปยังผู้บังคับบัญชา แต่ก็ไม่เป็นผล จึงทำให้ความขัดแย้งปะทุขึ้นจนเกิดเป็นการจลาจล
1
การจลาจลเริ่มขึ้นที่เมืองมีรุตในวันที่ 10 พฤษภาคม 1857 กลุ่มกบฏได้เผาทำลายอาคารบ้านเรือน และสังหารชาวยุโรปเป็นจำนวนมาก ทหารซีปอยบางส่วนได้บุกกรุงเดลีเพื่อโน้มน้าวจักรพรรดิบาฮาดูร์ ชาห์ ซาฟาร์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิโมกุล ซึ่งองค์จักรพรรดิตัดสินพระทัยที่จะสนับสนุนทหารกบฏเหล่านี้ และการจลาจลยังลุกลามออกไปตามเมืองต่างๆ ทั่วอินเดีย
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
ในช่วงแรก กลุ่มกบฏอาศัยความได้เปรียบด้านกำลังพลที่มากกว่า สามารถยึดเมืองสำคัญของรัฐต่างๆ ทั้งในรัฐ พิหาร หรยาณา มัธยประเทศ มหาราษฎระ และอุตรประเทศ ก่อนที่สถานการณ์จะพลิกผันเมื่อฝ่ายอังกฤษได้เรียกกำลังเสริมจากเปอร์เซียและจีน อีกทั้งชาวสิกข์ ปาทาน และกุรข่าที่มีความสามารถด้านการรบเข้าสนับสนุนฝ่ายอังกฤษอีกด้วย อีกทั้งความไม่เป็นเอกภาพของกลุ่มกบฏที่แบ่งออกเป็นหลายกลุ่มซึ่งมีเป้าหมายที่แตกต่างกันตามเชื้อชาติ ศาสนา ทำให้อังกฤษเริ่มยึดดินแดนสำคัญกลับคืนมา
WIKIPEDIA PD
การปราบปรามของอังกฤษเป็นไปอย่างดุเดือด จนกระทั่งฐานที่มั่นสุดท้ายของกลุ่มกบฏที่เมืองกวาลิออร์ (Gwalior) รัฐมัธยประเทศแตก อังกฤษจึงการประกาศสนธิสัญญาสันติภาพขึ้นในวันที่ 8 กรกฎาคม 1858 และมีการออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้แก่ผู้กระทำความผิดในเดือนพฤศจิกายนของปีเดียวกัน ปิดฉากเหตุการณ์กบฏครั้งใหญ่ที่กินเวลานานนับปี และมีผู้เสียชีวิตหลายแสนคน ถือได้ว่าเป็นเหตุการณ์กบฏที่ร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
ผลจากการปราบกบฏซีปอย ทำให้จักรพรรดิบาฮาดูร์ ชาห์ ซาฟาร์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิโมกุล ถูกเนรเทศไปอยู่ที่ย่างกุ้ง ซึ่งอังกฤษถือครองอยู่ เหล่าผู้นำกบฏถูกสังหารและหลบหนีไปยังดินแดนใกล้เคียง และเกิดการปฏิรูปครั้งใหญ่ในอินเดีย โดยรัฐสภาอังกฤษได้ตราพระราชบัญญัติรัฐบาลอินเดียในปี ค.ศ. 1859 ที่โอนอำนาจการปกครองอินเดียทั้งหมดจากบริษัทอินเดียตะวันออกมาอยู่ภายใต้รัฐบาลอังกฤษ โดยมีอุปราชแห่งอินเดียเป็นผู้ปกครองสูงสุดในฐานะผู้แทนพระองค์ของควีนอังกฤษ และกองทหารซีปอยถูกผนวกเข้ากับกองทัพอินเดีย ถือเป็นการสิ้นสุดของจักรวรรดิโมกุล และอินเดียก็ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษโดยสมบูรณ์เป็นเวลาเกือบหนึ่งศตวรรษ
WIKIPEDIA PD
โฆษณา