14 พ.ค. 2020 เวลา 11:00 • ประวัติศาสตร์
รู้จัก 'ดร. ภิมราว รามยี อัมเบดการ์' จากวรรณะจัณฑาลผู้ต่ำต้อย สู่ 'บิดาแห่งรัฐธรรมนูญอินเดีย'
1
จะมีสักกี่คนบนโลก ที่สามารถต่อสู่ฝ่าฟันกับความอยุติธรรมที่ผู้อื่นยัดเยียดให้ จนก้าวข้ามสิ่งอัปยศเหล่านั้นสู่การเป็น ‘บิดาแห่งชาติ’ ผู้ทรงความรู้และมีชื่อเสียงระดับโลก คงเป็นใครไปไม่ได้นอกจากเขาคนนี้
WIKIPEDIA PD
‘ดร. ภีมราว รามชี อัมเบดการ์’ (Bhimrao Ramji Ambedkar) บิดาแห่งชาติอินเดีย เกิดเมื่อวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1891 ในยุคที่อังกฤษปกครองอินเดีย ที่เมืองมหูม (Mhow) รัฐมัธยประเทศ (Madhya Pradesh) ประเทศอินเดีย เป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวนพี่น้อง 14 คน ครอบครัวของอัมเบดการ์มาจากวรรณะจัณฑาล ทำให้ถูกเอารัดเอาเปรียบและถูกกดขี่จากสังคมอยู่เสมอ แต่ ‘นาย รามชี’ บิดา และ ‘นาง พิมมาไบ’ มารดาของอัมเบดการ์ ก็พยายามอย่างหนักเพื่อสนับสนุนลูกๆ ของตนเองให้ได้รับการศึกษาอย่างดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ แม้ว่าจะต้องถูกคนจากวรรณะอื่นข่มเหงรังแกก็ตาม
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
ชีวิตในวัยเด็กของอัมเบดการ์นั้น ล้วนมีแต่ความทรงจำที่แสนเจ็บปวด ทั้งถูกเหยียดหยามเยี่ยงสัตว์เดรัจฉานจากเพื่อนร่วมชั้นเรียนที่มีวรรณะสูงกว่า ไม่เว้นแม้กระทั่งครูผู้สอนเอง เขาถูกกีดกันให้นั่งเรียนที่พื้นและต้องอยู่หลังห้อง ห้ามพูดคุยหรือเข้าใกล้เพื่อนๆ หรือครูที่มาจากวรรณะสูงกว่า ห้ามดื่มน้ำแก้วเดียวกัน ห้ามอ่านโคลงและกลอนภาษาสันสกฤต เพราะภาษาสันกฤตสงวนไว้สำหรับวรรณะพราหมณ์เท่านั้น แย่ถึงขนาดที่ว่า ครูประจำชั้นไม่ยอมแตะต้องสมุดหรือหนังสือของอัมเบดการ์เลย เพราะเชื่อว่าจะทำให้แปดเปื้อน ถ้าหากไปแตะต้องตัวหรือสัมผัสข้าวของเครื่องใช้ จะทำให้ชีวิตมีแต่ความล่มจม
WIKIPEDIA PD
ไม่เพียงเท่านั้น เมื่อใดก็ตามที่คนอื่นรู้ว่าอัมเบดการ์มาจากวรรณะจัณฑาลก็จะปฏิบัติตัวแปลกออกไป อย่างคราหนึ่งที่อัมเบดการ์ ไปตัดผม พอช่างตัดผมรู้ว่าเขาเป็นจัณฑาลก็ไล่ตะเพิดอย่างกับหมูกับหมา ช่างตัดผมคนนั้นยังเอ่ยด้วยว่า ‘ข้ายินดีตัดขนให้สัตว์เดรัจฉาน ดีกว่ายอมให้กรรไกรของข้าแปดเปื้อนไรผมของพวกจัณฑาลเช่นเจ้า’ นับแต่นั้นเป็นต้นมา พี่สาวคนหนึ่งของอัมเบดการ์ ก็ได้กลายเป็นช่างตัดผมประจำตัวเขาไปโดยปริยาย
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
ทุกสิ่งทุกอย่างที่อัมเบดการ์เจอทำให้เขาต้องทนทุกข์ทรมานราวกับตกนรกทั้งเป็นเลยก็ว่าได้ เขาเลยต้องลุกขึ้นสู้กับความอยุติธรรมเหล่านั้น เพื่อถีบตัวเองให้สูงขึ้นจะได้หลุดพ้นจากความต่ำต้อยที่ติดตัวมา และ มีเพียง ‘การศึกษา’ เท่านั้น ที่จะช่วยให้คนจากวรรณะจัณฑาลได้รับการยอมรับ เขาจึงตั้งใจเรียนอย่างมาก
WIKIPEDIA PD
ในปี ค.ศ. 1907 เขาสามารถสอบเข้าศึกษาต่อที่คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแห่งเมืองมุมไบ (University of Mumbai) เมื่อเป็นเช่นนั้นบิดาของอัมเบดการ์ได้พยายามหาทางช่วยเหลือโดยได้ขอทุนการศึกษาไปยังองค์กรต่างๆ ในที่สุด ‘มหาราชาแห่งแคว้นบาโรดา’ หนึ่งในเจ้าผู้ครองนครรัฐที่ใหญ่ที่สุดในอินเดีย ก็ตอบรับและสนับสนุนทุนการศึกษาให้กับอัมเบดการ์จนเรียนจบ แม้ว่าระหว่างที่เขาใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยนั้น เขาจะถูกเพื่อนร่วมชั้นเรียน อาจารย์ หรือแม้กระทั่งคนขายอาหาร คอยดูถูกกลั่นแกล้งตลอดเวลาเลยก็ตาม ซึ่งนั่นก็ทำให้เขาตั้งปณิธานไว้อย่างแน่วแน่ว่า
‘ในชีวิตนี้ เรามีภารกิจ 2 อย่างที่ต้องทำให้สำเร็จ หนึ่งคือการทำลายระบบชนชั้นวรรณะ สองคือช่วยให้อินเดียหลุดพ้นจากการปกครองของอังกฤษ’
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
WIKIPEDIA PD
หลังจบการศึกษาระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยแห่งเมืองมุมไบ ในปี ค.ศ. 1913 อัมเบดการ์เดินทางไปศึกษาต่อระดับปริญญาโทและปริญญาเอกในสาขารัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และกฎหมาย ที่ Columbia University ประเทศสหรัฐอเมริกา หลังสำเร็จการศึกษา ดร.อัมเบดการ์เดินทางกลับประเทศอินเดีย โดยตั้งใจไปทำงานสนองพระคุณท่านมหาราชาแห่งแคว้นบาโรดา ผู้มอบทุนการศึกษา และทำงานเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย
ไม่เพียงเท่านั้น ดร.อัมเบดการ์ ยังได้เขียนหนังสือเพื่อชี้นำสังคมหลายเล่มด้วยกัน เล่มที่โด่งดังที่สุดชื่อว่า ‘ผู้นำพลังเงียบ’ เนื้อหาเพื่อโจมตีนักการเมืองอนุรักษ์นิยมที่ไม่เคยเหลียวแลคนวรรณะต่ำ ดร.อัมเบดการ์ยังเริ่มรณรงค์เพื่อสิทธิของคนวรรณะจัณฑาล และด้วยการวิพากษ์วิจารณ์อย่างตรงไปตรงมานั่นเอง ทำให้ ดร.อัมเบดการ์ ได้รับคำชมและเป็นที่ชื่นชอบของชาวอินเดียวรรณะจัณฑาลจำนวนมาก
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
ด้วยความรู้ความสามารถที่มีจากการได้ร่ำเรียนในต่างแดน ทำให้ในปี ค.ศ. 1932 ดร.อัมเบดการ์ได้รับเชิญจากทางการอังกฤษให้ร่วมเสวนากำหนดอนาคตของอินเดียและยังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1947 อินเดียก็ได้รับเอกราชจากอังกฤษ
WIKIPEDIA PD
หลังจากอินเดียได้รับเอกราช ดร.อัมเบดการ์ได้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการในการร่างรัฐธรรมนูญอินเดีย โดยดร.อัมเบดการ์ได้พยายามร่างรัฐธรรมนูญเพื่อให้มีการยกเลิกระบบวรรณะ ผู้คนในอินเดียจะได้มีความเสมอภาคกันในทุกๆ ด้าน จนในที่สุดเมื่อปีค.ศ. 1949 อินเดียก็ได้ประกาศยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งรวมถึงมาตรา 17 ว่าด้วยการยกเลิกจัณฑาลเอาไว้ด้วย
อย่างไรก็ตาม ดร.อัมเบดการ์ยังคงตระหนักดีว่า แม้จะมีการเปลี่ยนกฏหมายและโครงสร้างทางสังคมใหม่ แต่หากจิตสำนึกของผู้คนไม่เปลี่ยนแปลง ก็คงยากที่คนจากวรรณะจัณฑาลจะสามารถมีที่ยืนในสังคมได้ จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1956 ดร.อัมเบดการ์พร้อมจัณฑาลอีกว่า 500,000 คน ได้ปฏิญาณตนเพื่อเปลี่ยนไปนับถือศาสนาพุทธ เพราะว่าพุทธศาสนาไม่มีชนชั้นวรรณะ ไม่ว่าใครก็ตามก็สามารถเรียนรู้และศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ได้ ถือเป็นการกระทำอันน่ายกย่องที่ผู้คนทั่วโลกต่างจดจำจนถึงทุกวันนี้
2
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
‘ดร. ภีมราว รามชี อัมเบดการ์’ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ค.ศ. 1956 ด้วยวัย 65 ปี ผู้คนต่างยกย่องให้เป็น ‘บิดาแห่งรัฐธรรมนูญ’ และ ‘ผู้ปลดปล่อยจัณฑาล’ ที่สามารถเปลี่ยนโฉมหน้าของอินเดียไปตลอดกาล
WIKIPEDIA PD
โฆษณา