19 พ.ค. 2020 เวลา 22:55 • ไลฟ์สไตล์
คำแนะนำ ถ้าอยากลาออกก่อนวัย 30
วันนี้จะขอแชร์ประสบการณ์ตรงที่พบเจอ (อาจไม่ถูกต้องที่สุด) คำถามคือว่าถ้าอยากลาออกก่อนวัย 30 ควรลาออกไม่ช้ากว่าอายุเท่าไหร่ดี??
คำแนะนำของผมถ้างานที่ทำไม่ใช่และอยากเปลี่ยนงานคือไม่ควรเกินอายุ 27 ปี ครับ
อ้างอิงอดีตผมมีโอกาสได้พูดคุยสัมภาษณ์คนออก (มีโดนหลอก โดนโกหกบ้างถึงสาเหตุการลาออก แต่ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ สำคัญคือผมมีโอกาสคุยครั้งสุดท้ายกับบุคลากรก่อนออกจากงานเกินระดับ 1,+++ คน) สิ่งสนับสนุนคำแนะนำจากประสบการณ์ของผมคือ
1. ส่วนใหญ่บุคลากรใหม่ เช่น เด็กปริญญาตรี เข้ามาอายุ 20 ต้นๆ ถ้างานไม่ใช่ ถ้ารู้ตัวเองดี ก็ออกตั้งแต่ตอนทดลองงาน หรือในปีแรกแล้ว แต่ข้อมูลทางสถิติที่มีนัยยะสำคัญ (การลาออกจะมากในช่วง 3 ปีแรก) ตามหลักวิชามีคำอธิบายมากมายตาม WEB แต่ผมจะมองในมุมที่ว่า อยู่ในกับดักการเข้าสู่ "การไร้ร่องรอย" สนใจอ่านละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ท้ายสุดบทความ*
เพราะจะเป็นช่วงเวลาที่เริ่มประสบความสำเร็จในสิ่งที่เคยทำเป็นประจำตลอด 3 ปี (ในหัวจึงวนกับว่า ที่เราเคยทำสำเร็จมันดี มันพอแล้วจริงไหมในเวลาอายุใกล้ 30 บวกกับโลกออนไลน์ที่การเปรียบเทียบกับเพื่อนรุ่นเดียวกัน ยิ่งทำให้สับสน ในหัวจะเริ่มมีความคิดขึ้นมาว่า ก็เรียนจบพอๆๆ กันทำไมในโลกออนไลน์เพื่อนดูสำเร็จกว่า มีไลฟ์สไตล์ที่ใฝ่ฝันมากกว่า <<< ทั้งๆ ที่ความจริงโลกออนไลน์ก็ไม่ค่อยแชร์เรื่องทุกข์ แต่ดึงมุมเล็กของความสุขสั้นๆ มาแชร์อยู่แล้ว)
2. รู้ว่าต้องพัฒนาทักษะใหม่ในส่วนที่ไม่ชอบ เกิดความกลัวความกังวล (ฟุ้งไปก่อน) ทั้งงานโครงการใหม่ๆ โอกาสในการขึ้นเป็นหัวหน้าโปรเจค โอกาสในการนำกลุ่ม (เลยจะเกิดอาการได้ 3 แบบ คือ แบบแรก เห็นโอกาส และทดลองทำสิ่งใหม่ที่ไม่เคยทำ แบบสองขอทำงานแบบเดิม หรือรูปแบบงานที่ต้องใช้ความรู้ ทักษะ คล้ายเดิมแต่ไม่ขอพัฒนาในทักษะใหม่ที่ไม่ถนัด และแบบสามออกหางานใหม่ในแบบใจที่อยากทำ หรือเปลี่ยนจากงานที่ทำในปัจจุบันข้ามสายงานไปเลย)
3. ที่ว่าทำไมอายุไม่ควรเกิน 27 เพราะต้องประเมินความเป็นจริงในตลาด .....คำถามคือ ตลาดวัย 30 ต้องการคนไม่มีประสบการณ์มาร่วมงานไหม?? นั่นแหละครับ คำตอบว่าทำไมการเปลี่ยนงานควรเกิดในวัยไม่เกิน 27 เพราะถ้าเปลี่ยนงานแล้วที่ทำงานใหม่ ไม่ใช่งานที่ต้องทำอีก ก็จะได้โอกาสได้เรียนรู้มีประสบการณ์ 3 ปี และ ทำไมประสบการณ์อย่างน้อย 3 ปี จึงสำคัญ?? ผมว่ามันก็อธิบายคล้ายๆ คำว่า การได้แชมป์ว่ายากแล้ว การรักษาแชมป์ยิ่งยากกว่า บางคนทำงานรับงานครั้งแรก กล้านำเสนอความคิด มีความคิดสร้างสรรค์ ลองทำ พอทำไม่สำเร็จ .... เลิก (ไฟดับ..จิตตก..คำอธิบายมาตรึมทำไม่ทำไม่ได้..และยอมมม..) แต่การที่อยู่กับงานนั้น 3 ปี ผ่านการเรียนรู้ CQI พัฒนางานไม่เพียงแสดงถึงความรู้ ความถนัดในงาน แต่จริงๆ คือเป็นการที่บุคลากรคนนั้น เริ่มมีทัศนคติของการเป็นมืออาชีพในงานที่รับผิดชอบครับ
ดังนั้นในช่วงอายุ 30 องค์กรตอนนี้จะมีคนในองค์กรแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มคนที่ไม่น่าจะลาออกอีกแล้วจากเหตุผล ข้อ 3 เพราะลึกๆ ไม่มั่นใจตัวเอง "ทนอยู่" (แต่องค์กร HR ก็ต้องออกแบบวิธีพัฒนารูปแบบอื่นอยู่นะ.. คนพัฒนาได้ แต่เหนื่อย(ใจ)ไม่เท่ากัน) กับ กลุ่มคนที่เจอตัวเองในวัย 30 ว่าช่วง 10 ปี ถึงอายุ 40 จะมีเป้าหมายในการทำงานอย่างไร วันพรุ่งนี้จะมาต่อ คำแนะนำคน ถ้าอยากลาออกก่อนวัย 40 <<< วัยผมเลย ประสบการณ์ตรงก็ผ่านมาแล้ว ถ้าตามหลักการหาตาม WEB คือ Mid-Career Crisis <<แต่เป็นแนวผมแชร์ ต่างใน WEB อยู่แล้ว เพราะผมประสบการณ์จากการปฏิบัติ ดังนั้นมันเป็น Case Study จากตัวผมพบเจอ
อ้างอิง การไร้ร่อยรอย

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา