26 พ.ค. 2020 เวลา 22:55 • ไลฟ์สไตล์
LIE TO ME โปรดโกหกฉันที
จากบทความก่อนที่ชีวิตเริ่มต้นการทำงานอยู่กับการ "เจอ ตอน ออก" และการคุยที่มีโอกาสครั้งแรกและครั้งสุดท้ายกับคนๆ นั้น*
โจทย์ของผมในวันที่ผมต้องมาสอนงานน้องๆ แทนผม....
คำถามคือ นอกจากหลักการทฤษฏีแล้ว จากประสบการณ์ผสมความติสท์ของผม ผมสอนอะไรเพิ่มเติมในการสัมภาษณ์คนลาออกจากงาน??
มองย้อนกลับไปที่ตัวผมเองที่ได้รับงานนี้ ส่วนหนึ่งมาจากเพื่อนร่วมงานคนแรกของผมที่เข้ามาพร้อมกันลาออกเพื่อไปดูแลธุรกิจครอบครัว พอผมต้องมาทำงานนี้ ผมก็ทำได้นะ เพราะเห็นและเรียนรู้ไว้แล้วว่าเบื้องต้นต้องทำอะไร
ประเด็นคือ ถ้าทำแค่นี้มันไม่สนุก ผมควรจะได้อะไรมากกว่านี้ (ที่ไม่ใช่ว่ารู้สาเหตุการออกเพราะ ใครไม่ถูกกับใคร ใครทำอะไรไม่ดี ใครมีปัญหากับใคร ใครทะเลาะกับใคร)
ผมน่าจะรู้ได้อย่างน้อยว่า "มีใครอีกไหม ในหน่วยงานที่จะออกอีก" (ถ้าสาเหตุมาจากหัวหน้าจริง)
เลยย้อนกลับไปถึงสิ่งที่ชอบ สมัยที่เรียนปริญญาโท นั่นก็คือเรื่องพฤติกรรมคน ก็เลยเริ่มสนใจและคิดว่า คนที่เราพูดอยู่ด้วย อะไรพูดจริง อะไรพูดไม่จริง แล้วในเมื่อเรามีโอกาสคุยกับคนอื่น 3-4 ร้อยคนต่อปี พร้อมด้วยสุดยอดข้อเด่นของงานนี้ที่
"หลังจากการพูดคุย เราก็จะไม่รู้จักกันและแทบไม่มีโอกาสเจอกันอีก" (ยิ่งน่าจะทำให้ได้เรียนรู้อะไรมากขึ้น)
เริ่มต้นผมอ่านหนังสือเกี่ยวกับการจับโกหก รวมถึง เข้าไปดูคลิปตัวอย่างต่างๆ หรือหลักการอ้างอิง ที่เชื่อว่ากำลังอยู่ในพฤติกรรม การพูดโกหก สุดท้าย... ผมก็ไปเจอสิ่งหนึ่ง ที่ช่วงเวลานั้นในแต่ละปี ผมจะต้องกลับมาดูย้อนเพื่อทบทวน นั่นคือการดูซีรีย์ฝรั่ง เรื่อง Lie to Me (ไม่เกาหลีนะครับ --_--" ถ้าเกาหลีเจออีกแนวซีรีย์เลย)
สิ่งที่ได้จากการดูซีรีย์นี้ ผมไม่ได้ดูทุกซีซั่น แต่ผมดูแค่ซีซั่นแรก ซ้ำทุกปี ที่แปลกคือการดูแต่ละครั้ง สิ่งที่ผมเรียนรู้ กลับมากยิ่งขึ้น บางสิ่งที่ผมดูตอนแรกแล้วไม่เข้าใจ แต่พอยิ่งมีประสบการณ์ ยิ่งทำให้ทุกครั้งที่กลับมาดูเข้าใจมากยิ่งขึ้น และเป็นความจริง ที่ช่วงระหว่างเรียนรู้ เราจะร้อนวิชา หรือ พยายามอธิบายปรากฏการณ์ ว่าคนที่คุยด้วย พูดจริง หรือพูดโกหก ซึ่งความจริงทุกคนรวมถึงผมเองก็มีการโกหกในแต่ละวันบ้างอยู่แล้วมั้ง!
สิ่งที่ผมจะแชร์ได้คือแรกเริ่มเหมือนผมต้องการเพื่อที่จะรู้ว่าใน "คำถามสำคัญ" นั้นคำตอบของผู้ถูกสัมภาษณ์กำลังโกหกอยู่หรือไม่?
แต่ไม่ใช่เลยครับพอผ่านการสัมภาษณ์คนมากๆ ผมสามารถจับปรากฎการณ์สัญญาณเชิงความรู้สึก ความไม่สบายใจในการไม่พูดความจริงมากขึ้น ผมจะเข้าถึงจุดเส้นระหว่างก่อนการระเบิดน้ำตาฟูมฟาย (จากการพูดความจริง) ซึ่งสิ่งที่ผมได้เรียนรู้ คือ ความรู้สึกในการเข้าใจคนที่เป็นคนที่มีความรู้สึกมากยิ่งขึ้นครับ
ซึ่งเวลาผมสอนน้องก็จะบอกว่า ถ้าเป็นไปได้ ว่างก็ไปลองดูซีรีย์ + ทดลองปฏิบัติหน้างานจริง (ผมหวังให้ดูอย่างน้อยหนึ่งตอน เพื่อตรวจสอบว่าวิธีการเรียนรู้พัฒนาของน้อง ผ่านการดูซีรีย์ตรงจริตหรือไม่?)
อาจมีคำถามว่าได้ฝึกได้ลองปฏิบัติแบบนี้จับโกหกเก่งแค่ไหน? ในยุคนึงผมบอกเลยว่าถ้ากับคนไม่รู้จัก พบเพื่อจาก แม่นมากครับ (แม่นแบบเหมือนมีเสียงลอยออกมาจากหน้า หรือร่างกายส่งเสียงคำพูดออกมาเลย <<จริงๆ ผมคิดว่าเป็นเพราะจำนวนเคสที่มากมาย บวกกับการสัมภาษณ์ทุกวัน ร่างกายเลยตอบสนองแปลกๆ แบบนั้น แต่พอไม่ได้ใช้ทุกวันก็หายไปเอง..)
แต่มีสิ่งที่ตรงกับข้าม อยากบอกว่ายิ่งเป็นคนรู้จัก ยิ่งสนิทมาก หรือเป็นคนที่แพ้ทาง ยิ่งจับโกหก หรือภาษากายอะไรไม่ได้เลยครับ ข้อมูลมันเยอะ รวมถึงมีความรู้สึกเข้ามาประกอบ บวกจิตใจที่ไม่เป็นกลาง (เบ้ ฟุ้ง ในสิ่งที่ใจเรามโน อยากให้เป็น) การแปลผลมันเลยรวนมากกก....รวนจนไม่เข้าใจพฤติกรรมอะไรซักอย่างเลย (-__-")
ผมเลยเข้าใจว่าทำไมหนอ.... หมอดูไม่ดูตัวเอง คนสนิท คนในครอบครัวเพราะถึงเวลาจริงๆ มันเบ้มาก เหมือนเสี่ยงดวง 50:50 มากกว่า
และเดี้ยวนี้พอไม่ได้ทำนานไม่ได้ฝึกฝนบอกได้เลยครับ เป็นตัวประกอบมากๆ น้องที่ทำงานด้านนี้โดยตรงจะเก่งกว่า และจริงๆ ในอนาคต HR ทุกที่ก็จะเปลี่ยนแนว หรือยกเลิกการสัมภาษณ์ในการลาออกแล้ว คงเหลือแต่ตำแหน่ง หรือกลุ่มคนที่สนใจมากๆ เท่านั้น
โดยจะมาวัดและสนใจที่คนที่ทำงานอยู่มากกว่า ว่าเริ่มมีแนวโน้มการลาออกหรือไม่ แล้วแนวโน้มที่ว่าก็ไม่ต้องทำแบบสอบถาม หรือต้องสัมภาษณ์อีกแล้ว........ระบบ AI กับ Big Data จะเข้ามาทำหน้าที่นี้แทน เช่นๆ....
ไว้มีโอกาสจะมาเล่าต่อไปครับ Q(-_--")Q บางอย่างที่เล่าเป็นอดีตนานมาแล้ว ปัจจุบันหลายๆ อย่างก็เปลี่ยนแปลงไป ถ้าผิดพลาดประการใดขออภัย ณ ที่นี้
อ้างอิง* กดรูปเบาๆ ถ้าสนใจว่า เจอตอนออก คืิออะไร

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา