23 พ.ค. 2020 เวลา 22:55 • ไลฟ์สไตล์
ประสบการณ์ทำงานกับคนต่างวัย
ชีวิตการทำงานช่างต่างกับสมัยเรียนมากมาย ในสมัยเรียนเต็มที่การมีปัญหา การไม่เข้าใจกัน ก็จะอยู่ในกลุ่มคนที่มีอายุแตกต่างกันไม่มาก ไม่น่าเกิน 6 ปี ส่วนใหญ่ก็บวกลบ 3 ปี แตกต่างกับการทำงานที่ช่วงอายุของวัยแรงงาน เริ่มได้ตั้งแต่ 18 ถึง 60 ปี
คำถามคือว่า คุณมองว่า การทำงานกับคนต่างวัย เป็นปัญหาหรือเป็นโอกาส?
ประสบการณ์ของผมไม่สวยงามอย่างที่คิด Q(--_---")Q ดังนั้น ผมเจอทั้งในช่วงที่มีปัญหา และช่วงที่เริ่มมองปัญหาเป็นโอกาส
แรกเริ่มทำงาน ผมเข้ามาจะเป็นคนที่เด็กมากประมาณนึง เพราะองค์กรที่ผมทำงานมีอายุยาวนาน ดังนั้น ในการรับผมเข้าทำงาน จึงเป็นเหมือนค่าเฉลี่ยใหม่ในยุคนั้น ที่อายุน้อย (แม้จบปริญญาโท)
เมื่อผมเข้ามาได้พบเจอพี่ๆ ผู้ใหญ่อายุมากกว่าที่สนับสนุนผม และเจอปัญหาในการทำงานกับพี่ผู้ใหญ่บางกลุ่มในเชิงมุมมองทัศนคติที่ผมไม่เข้าใจเลยยย... เช่น ทุกครั้งเวลามีกิจกรรมกลุ่มต่างๆ คนที่ถูกเลือกนำเสนอเป็นหัวหน้ากลุ่ม จะเป็นคนที่อายุน้อยที่สุดเสมอ โดยมีเหตุผลรองรับว่า เพื่อเปิดโอกาสให้น้องใหม่ พี่เคยทำมาเยอะแล้ว (เยอะแล้วคือ!!) ซึ่งแรกผมก็รู้สึกดี แต่พอเจอบริบทอย่างนี้ต่อเนื่องกันผมก็เริ่มสงสัยในเจตนาดี ที่เขาหวังไว้ (มีใครเคยได้รับโอกาสถี่ๆ แบบนี้ในทุกโปรเจคใหม่ไหมครับ? )
หรือในบางกรณี เช่น เมื่อมีปัญหาในการทำงานบางเรื่อง เราเห็นมุม เห็นประเด็น ที่ควรพัฒนาหรือทำต่อยอดเพิ่มเติม แต่เราก็จะได้คำตอบจากพี่ๆ ว่าเรื่องนี้ทำไม่ได้ เรื่องนี้เป็นไปไม่ได้ ไม่ ไม่ไม่ พี่เคยทำแล้วมันไม่สำเร็จ
หรืออาจจะเจอในมุมทัศนคติ ของคำพูด เช่น เรื่องอย่างนี้ตัวพี่ไม่ต้องทำหรอกเดี๋ยวอีกไม่นานพี่ก็เกษียณแล้วน้องทำได้เลย (พี่ให้โอกาสน้องทำหมด คิด นำเสนอ ลงมือทำเต็มที่เลย) ผมเคยมีประสบการณ์ตรงที่เพื่อนร่วมงานเดินไปหาพี่ท่านนั้นแล้วบอกว่า ถึงแม้ปีนี้ผมจะไม่ต่อสัญญาผมก็จะรับทำพี่ และผมทำทั้งๆ ที่ผมจะออกก่อนพี่อีก ผมยังรับทำเลย....
จริงๆ แล้วถ้าคุณเชื่อในเรื่องแรงดึงดูดทางบวก? และถ้าเชื่อว่า ในองค์กรจะมีคนบางกลุ่มที่เป็นกลุ่มคนส่วนน้อยที่มีมุมมองหรือทัศนคติทางบวก (จริง) มองเห็นผลลัพธ์ เป้าหมาย มุ่งการพัฒนาตามความเชื่อและวิสัยทัศน์ที่ไปข้างหน้า เห็นคุณค่าของคน มอง "'ความยาก" ว่า "เป็นไปได้" คุณจะได้รับพลังจากคนกลุ่มดังกล่าว (ถ้าทัศนคติคุณไม่ได้มองโอกาสในงานใหม่ที่ท้าทายว่า เป็นงานเพิ่มนะ ...
ในอีกมุมหนึ่งพอปัจจุบันที่ผมมีอายุใกล้จะ 40 (เริ่มมีน้องใหม่เข้ามาที่มีมุมมอง มีทัศนคติทางบวก รวมถึงแววตาของการสร้างความเป็นไปได้ที่แตกต่าง ถ้าถามหาว่าสรรหาอย่างไร โอกาสหน้ามาแชร์เพิ่มครับ) การบริหารจัดการของผมเลยจะต่างกับในตำราหรือคนอื่นๆ ประมาณหนึ่งเพราะผมเชื่อมั่นในศักยภาพความแตกต่าง และความเป็นตัวเองของน้องแต่ละคน เชื่อในเจตนาดีที่น้องแสดงออกมา แม้จะรู้สึกแปลกๆ ในการกระทำบางอย่างของน้องบ้างก็ตาม
งานผมแบ่งย่อยเป็นทีมงานขนาดเล็ก ผมจึงใช้วิธีคุยแยกกับแต่ละคน เพื่อเข้าใจและเรียนรู้ร่วมกัน ทำให้มองเห็นว่าจริงๆแล้ว คนที่อายุน้อยกว่ามีบางมุมที่สามารถสอนและแชร์ เตือนสติผมได้ (และส่วนใหญ่ทักตรงประเด็นด้วย) ไม่ใช่ว่าผมเป็นหัวหน้าแล้วทุกอย่างหรือ ทุกสิ่งที่ผมพูด จะเป็นสิ่งที่ถูกต้อง
ผมได้พบกับการมองมุมกลับว่าจริงๆ แล้ว การเรียนรู้กับกลุ่มคนที่เด็กกว่า ถ้าเกิดเราเปิดใจ น้องเองก็สามารถ เป็นครูหรือเป็นคนสอนในหลายเรื่อง ในหลายๆ มุม ที่น้องผ่านมาในสถานศึกษาตลอดจนรูปแบบการใช้ชีวิต (ซึ่งในยุคนี้ลองค้นตาม WEB จะใช้คำว่า "พี่เลี้ยงมุมกลับ Reverse Coaching"
ความเห็นส่วนตัวผมรู้ว่าจริงๆ การทำงาน ความต่างของอายุไม่ใช่เหตุผลประกอบหลัก แต่เป็นเรื่องของ "ทัศนคติทางบวก" และ "การเป็นมืออาชีพจนเกิดการได้รับการยอมรับ" ต่างหากที่สำคัญที่สุด หัวหน้าจึงควรสนับสนุนให้น้องได้มีเวทีในการแสดงความคิดเห็นเพื่อสร้างความมั่นใจ เริ่มเห็นคุณค่า สร้างการมีตัวตนในองค์กร เมื่อถึงจุดที่น้องมีตัวตนในองค์กรแล้ว ความต่างในเรื่องอายุก็จะหายไปเองครับ
สำหรับผม การที่วันใดวันหนึ่งต้องทำงานกับใครสักคนในโลกกลมๆ ที่มีคนมากมาย แล้วคนส่วนใหญ่เข้ามาแล้วก็จากไป (และชีวิตเองบางทีอาจไม่มีโอกาสครั้งที่สอง ถ้าสนใจเพิ่มเติมลองหา WEB ว่า "อิจิโกะ อิจิเอะ) ผมเรียนรู้และมองตรงนี้ว่า เป็นโอกาสที่ดีของผมแล้ว ผมจะหาวิธี เรียนรู้ร่วมกันและต่อยอดบนความเชื่อที่ว่า ไม่มีอะไร ที่เป็นไปไม่ได้ เราสามารถทำเกือบทุกอย่างออกมาได้ เต็มที่ก็คือทำออกมาไม่ดี ผิดหวัง แล้วก็ลองทำใหม่ (ถ้ายังมีโอกาส)
หรือถ้าสนใจว่าสิ่งที่ผมแนะนำน้องใหม่ว่าควรรู้อะไรบ้างเพิ่มเติมก็ กดเบาๆ ตามรูปข้างท้ายครับ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา