29 พ.ค. 2020 เวลา 10:00 • การศึกษา
เซตของจำนวน ตอนที่ 3
จากตอนที่แล้ว เรารู้จักเซต สมาชิกของเซต และการเขียนสัญกรณ์ (รูปแบบการเขียน)ของเซต ซึ่งเป็นพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ที่นักเรียนมัธยมจำเป็น ต้องเรียนรู้ โดยเฉพาะน้องๆที่ต้องการเรียนต่อมัธยมปลาย
สำหรับตอนนี้จะเป็นการเพิ่มเติมสิ่งที่ควรรู้ในเรื่องของเซตต่อจากตอนที่แล้ว เรามาเริ่มที่สัญลักษณ์ (เครื่องหมาย)ของเซตต่อครับ
สัญลักษณ์ที่บอกถึงการเป็นสมาชิกของเซต
ถ้าเราบอกว่า A = {1, 2, 3} เราหมายความ A มีสมาชิกอยู่ 3 ตัวคือ 1, 2, 3
หรือกล่าวอีกอย่างว่า 1, 2, 3 ต่างก็เป็นสมาชิกของ A
เราสามารถเขียนอีกแบบได้ว่า 1 ∈ A แปลว่า 1 เป็นสมาชิกที่อยู่ใน A แต่ถ้า 4 มิได้เป็นสมาชิกของ A เราจะเขียนว่า 4 ∉ A
จะดูอย่างไร ว่า 2 Set เท่ากัน
ถ้า A = {1, 2, 3} และ B = {2, 3, 1}
ดังนั้น A = B อ่านว่า เซต A เท่ากับ เซต B เพราะ “ทุกจำนวนใน เซต B ต้องเป็น สมาชิกในเซต A ทั้งหมด” และ "ทุกจำนวนในเซต A ต้องเป็นสมาชิกในเซต B ทั้งหมด” แม้ว่าการ “เรียงลำดับจำนวนของทั้ง 2 เซต จะไม่เหมือนกัน
แล้ว ถ้า A = {1, 2, 3} และ B = {2, 3, 4} ล่ะ เท่ากันหรือไม่
คำตอบคือไม่เท่ากันครับ เพราะ“ทุกจำนวนในเซต B มิได้เป็น สมาชิกในเซต A ทั้งหมด” ในกรณีนี้
--> “1 อยู่ใน A แต่ 1 ไม่อยู่ใน B” (เขียนได้ว่า 1 ∈ A แต่ 1 ∉ B) และ
--> “4 อยู่ใน B แต่ 4 ไม่อยู่ใน A” (เขียนได้ว่า 4 ∈ B แต่ 4 ∉ A)
ซึ่งเราเรียกว่า เซต A ไม่เท่ากับเซต B เขียนได้ว่า A ≠ B
การ"เท่ากันของเซต"
ถ้าเรามี 2 เซตมีสมาชิกไม่เท่ากันแต่มีสมาชิกบางส่วนเหมือนกับอีกเซตหนึ่ง จะเรียกว่าอะไร สมมุติว่า A = {1, 2, 3, 4, 5, 6} และ B = {1, 3, 6,}
ถ้าเป็นอย่างนี้คือ สมาชิกทั้งหมดของ B เป็นสมาชิกที่เหมือนกับสมาชิกบางส่วนของ A เราเรียกว่า B เป็นเซตย่อย (Subset) ของ A แต่........ A ไม่ได้เป็นเซตย่อย (Subset) ของ B
เราเขียนในได้ดังนี้ B ⊆ A อ่านว่า B เป็น เซตย่อย (Subset) ของ A
แต่ A ⊈ B อ่านว่า A ไม่ได้เป็นเซตย่อย (Subset) ของ B
เซตย่อย (subset)
ยังมีเรื่องของเซตที่น่าสนใจอีก ซึ่งน้องๆควรจะได้รู้ ขอยกยอดเป็นตอนที่ 4 ครับ
โฆษณา