1 มิ.ย. 2020 เวลา 04:00 • ประวัติศาสตร์
แผนผิดชีวิตเปลี่ยน! เผย 5 ยุทธวิธี ที่จะทำให้จักรวรรดิญี่ปุ่นเป็นผู้ชนะในสงครามโลกครั้งที่สอง
หากพูดกันตามความเป็นจริงแล้ว จักรวรรดิญี่ปุ่นไม่มีทางเอาชนะสหรัฐอเมริกาได้เลย เพราะข้อจำกัดเรื่องทรัพยากร และพลังอำนาจด้านอุตสาหกรรมของทั้งสองประเทศนั้นแตกต่างกันมากเกินไป กล่าวกันว่าขนาดเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในขณะนั้นมีขนาดเพียง 1 ใน 10 ของสหรัฐฯ หรืออาจจะน้อยกว่านั้น
อย่างไรก็ตาม ยังมีนักวิชาการต่างประเทศได้ทำการวิเคราะห์ไว้ว่าประตูสู่ชัยชนะของจักรวรรดิญี่ปุ่นก็ใช่ว่าจะไม่มีทางเป็นไปไได้ ยังพอมีทางชนะอยู่บ้าง แล้วจักรวรรดิญี่ปุ่นจะต้องทำอย่างไร ลองไปติดตามกันดู
WIKIPEDIA PD
1. อย่าเปิดแนวรบหลายด้านเกินไป
สำหรับเสนาธิการทหาร การจำกัดศัตรูให้มีจำนวนน้อยที่สุดคือความคิดที่ฉลาดที่สุด หากย้อนเวลากลับไป จะพบว่าญี่ปุ่นนั้นทะเยอทะยานมากเกินไป ในตอนนั้นญี่ปุ่นยังไม่สามารถพิชิตจีนแผ่นดินใหญ่ได้ แต่กลับเลือกที่จะขยายอำนาจไปทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีก และประกาศสงครามกับอเมริกาในเวลาต่อมา แน่นอนว่าญี่ปุ่นทำเช่นนี้เพื่อหาแหล่งทรัพยากรสำหรับทำสงคราม แต่การเปิดแนวรบมากเกินไป ย่อมส่งผลเสียต่อกองทัพฝ่ายตนอย่างร้ายแรง
1
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
2. ฟังคำแนะนำของนายพลเรือยามาโมโตะ
พลเรือเอก อิโซโรคุ ยามาโมโตะ เคยกล่าวเตือนผู้บังคับบัญชาของเขาว่าสมควรพิชิตสหรัฐฯ ให้เร็วที่สุด ก่อนที่สหรัฐฯ จะตั้งตัวได้ พลเรือเอกยามาโมโตะให้คำนิยามสหรัฐฯ ว่าเป็น ‘ยักษ์หลับ’ แต่เหล่าบรรดาผู้บัญชาการของเขาไม่ฟังคำแนะนำ จนทำให้อีกหกเดือนต่อมา สหรัฐฯ สามารถฟื้นฟูตัวเองกลับมาแข็งแกร่งกว่าเดิม และสร้างความยากลำบากให้กับญี่ปุ่นในภายหลัง
3. อย่าเชื่อแผนปฏิบัติงานของนายพลเรือยามาโมโตะ
พลเรือเอกยามาโมโตะ นั้นได้ชื่อว่าเป็นผู้ให้คำแนะนำที่ชาญฉลาดในด้านยุทธศาสตร์ ด้วยการโจมตีหัวใจหลักของกองทัพข้าศึก ยกตัวอย่างเช่นการโจมตีฐานทัพเรือที่เพิร์ล ฮาร์เบอร์ ที่ฝ่ายญี่ปุ่นสามารถทำลายกองทัพเรือสหรัฐฯ จนเสียหายอย่างหนักก็จริง แต่กองทัพเรือสหรัฐฯ ที่ถูกทำลายไม่ใช่กองทัพเรือทั้งหมดที่ฝ่ายสหรัฐฯ มี กล่าวคือแผนงานของนายพลเรือยามาโมโตะยังมีข้อกังขาเกี่ยวกับการวางแผนรับมือกับกองทัพที่มีแสนยานุภาพเหนือกว่าอย่างสหรัฐฯ รวมไปถึงแผนการตั้งรับกองทัพเรือสหรัฐฯ ในมหาสมุทรแปซิฟิก ที่บีบบังคับให้กองทัพเรือญี่ปุ่นที่ด้อยกว่าต้องสู้รบขั้นแตกหักกับกองทัพเรือของสหรัฐฯ จนเกิดความสูญเสียอย่างหนัก แน่นอนว่าแผนการรบของนายพลเรือยามาโมโตะนั้นได้ผลในแง่ของการชะลอความเคลื่อนไหวของข้าศึกเท่านั้น แต่ไม่ใช่สำหรับการเอาชนะขั้นเด็ดขาด
1
WIKIPEDIA PD
4. ใช้ทรัพยากรที่มีอย่างประหยัด
ดูเหมือนว่าจักรวรรดิญี่ปุ่นจะมีความทะเยอทะยานมากเกินไป ด้วยการเปิดศึกใหม่ติดต่อกันในหลายพื้นที่ ทั้งที่ยังไม่สามารถเอาพิชิตจีนแผ่นดินใหญ่ได้ ก็คิดวางแผนยึดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปประกาศสงครามกับสหรัฐฯ หลังจากนั้นก็วางแผนรุกรานพม่าและอินเดีย เข้าใจได้ว่าจักรวรรดิญี่ปุ่นทำเช่นนี้เพื่อหาแหล่งทรัพยากร แต่การเปิดสนามรบแห่งใหม่พร้อมๆ กันหลายที่มากเกินไปแบบนี้ ยิ่งทำให้ทรัพยากรที่มีอยู่ยิ่งถูกใช้ไปอย่างรวดเร็วกว่าเดิม
5. ทุ่มเทกับเรือดำน้ำมากเกินไป
กองทัพเรือญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับเรือดำน้ำมากเกินไป ทั้งที่ในตอนนั้นกองเรือประจัญบานยังคงมีความสำคัญอยู่ เหตุผลเพราะกองทัพเรือญี่ปุ่นต้องการใช้เรือดำน้ำในการจมเรือขนเสบียงของฝ่ายข้าศึก ผู้บัญชาการกองทัพเรือญี่ปุ่น ควรดูแผนที่การเดินเรือ จะพบว่ากองทัพเรือสหรัฐฯ ต้องเดินทางหลายพันกิโลเมตรสู่มหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก และยังต้องใช้ผู้บัญชาการแยกย่อยอีกหลายคนเพื่อรับผิดชอบเขตการเดินเรือของตน ซึ่งถ้าหากฝ่ายญี่ปุ่นรับรู้ คงตระหนักได้ว่าจะต้องมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล ดังนั้น ญี่ปุ่นควรหลีกเลี่ยงการทำส่งครามใต้ท้องทะเลโดยไม่จำเป็นจะดีกว่า
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
โฆษณา