Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Stay with Math
•
ติดตาม
6 มิ.ย. 2020 เวลา 11:00 • การศึกษา
ตัวหารร่วมมากและตัวคูณร่วมน้อย (ตอนที่ 5)
ในโลกแห่งความเป็นจริงตัวเลขที่จะมาหาค.ร.น. มี 2 หลักหรือมากกว่า
พี่ขอยกตัวเลขที่ใช้อธิบายเรื่องการหา ห.ร.ม. มาเป็นตัวอย่างอธิบาย ค.ร.น.
คือ 15, 30, 105 และ 56, 84, 140
จากเรื่อง ห.ร.ม. น้องๆรู้แล้วว่า ห.ร.ม. ของ 15, 30, 105 และ 56, 84, 140
เป็นเท่าใด ย้อนกลับไปดูอีกทีก็ได้ครับ
การหา ค.ร.น. ด้วยวิธีแยกตัวประกอบเฉพาะ
ลองดูอีกตัวอย่างครับ
การหา ค.ร.น. ด้วยวิธีแยกตัวประกอบเฉพาะอีกตัวอย่าง
น้องๆเห็นความแตกต่างของการหา ห.ร.ม. กับ ค.ร.น มั๊ยครับ
ถ้าเราหา ห.ร.ม. ได้แล้ว ..... ค.ร.น. คือ ห.ร.ม. คูณ กับ ส่วนที่เหลือจากการ
แยกตัวประกอบเฉพาะของ ห.ร.ม. นั่นเอง
การหา ค.ร.น. ด้วยวิธีการหาร
การหา ห.ร.ม. กับ การหา ค.ร.น โดยวิธีตั้งหาร มีขั้นตอนเหมือนกัน แต่ ค.ร.น. เอาเศษเหลือ นำมาคูณด้วย ทำให้ ค.ร.น.มีตัวเลขมากกว่า ห.ร.ม.
เราสามารถเลียนแบบวิธีหา ค.ร.น. โดยการแยกตัวประกอบเฉพาะมาเป็น
แนวทางการเลือกตัวหารได้เลย ตัวหารควรเป็นจำนวนเฉพาะ
เริ่มต้นจาก 2, 3, 5, 7...... เพราะง่ายดีสำหรับการเริ่มต้น
การหา ห.ร.ม. ด้วยวิธีการหาร
ห.ร.ม. ค.ร.น. ช่วยอะไรเราได้บ้าง ?
---> ทำเศษส่วนให้เป็นเศษส่วนอย่างต่ำ โดยการนำจำนวนเฉพาะมาลอง
ตัดทั้ง เศษและส่วน จนกระทั้งตัดไม่ได้ ซึ่งก็คือการใช้ ห.ร.ม.
---> ถ้าเราจะบวกหรือลบหรือเปรียบเทียบ เศษส่วนแล้ว ถ้าเราปรับฐานให้
ส่วนเท่ากัน เราจะดำเนินการ บวกหรือลบ หรือเปรียบเทียบได้ง่าย
---> ใช้แบ่งสิ่งของหลายๆชนิดที่มีปริมาณต่างกัน ให้ได้สัดส่วนเท่ากัน เช่นมีผลไม้ 3 ประเภท ที่มีจำนวนไม่เท่ากัน เราจะแบ่งผลไม้เป็น กองๆ แต่ละ
กองมีผลไม้ทุกชนิดในสัดส่วนที่เท่ากันทุกกอง
---> ใช้คำนวณวงรอบของเวลาการทำงานงานที่มีระยะการทำงานต่างกัน
เช่น งานที่ 1 ใช้เวลา 15 นาทีเสร็จ งานที่ 20 นาทีเสร็จ งานที่ 3 ใช้เวลา 25 นาทีเสร็จ หากแต่ละงานทำไปเรื่อยๆ จะต้องมี จุดหนึ่งที่เสร็จพร้อมกัน
น้องๆพยายามทำโจทย์ ในหนังสือเรียนด้วยนะครับครับ เพื่อน้องๆจะรู้ว่า
มีสิ่งใดที่ตนเองไม่รู้บ้าง
การเรียนหนังสือ มิใช่การแข่งขันกับเพื่อนๆร่วมห้องเรียน เพราะทุกคนมีสิทธิที่จะได้คะแนนเต็ม 100 หรือได้ 0 คะแนนทัดเทียมกัน และน้องๆคนใดก็ตาม ที่ได้คะแนนมาก ๆ ก็ไม่มีใครมาแย่งชิงเอาไปได้ ..... ดังนั้น เรากำลังแข่งกับ
ตัวเองครับ
อย่าลืมว่า ทุกคนมีความขี้เกียจเป็นสมบัติประจำกายกันทั้งนั้น เพียงแต่ว่า
เราจะใช้เวลาว่างจากความ “ขี้เกียจ” มาสร้างโอกาสในการเรียนรู้ และฝึกฝนความชำนาญมากน้อยเท่าใด
ขอเป็นกำลังใจให้น้องๆทุกคนครับ
แล้วพบกันใหม่ ในเรื่องของระบบจำนวนเต็มครับ ......
3 บันทึก
1
2
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
คณิตศาสตร์ ม.ต้น
3
1
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย