Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Stay with Math
•
ติดตาม
11 ก.ค. 2020 เวลา 12:00 • การศึกษา
สมการเชิงเส้น (ตอนที่ 5)
วันนี้เรามาคุยเรื่องของ จุด เส้น ระนาบ และทรงตัน กันครับ
จุด (point) ไม่มีขนาด ใช้บอก (กำหนด) ตำแหน่ง (พิกัด) ว่าตัวมันเองอยู่ ณ พิกัดที่เท่าไหร่
เส้น (line) ใช้บอกขนาด, เป็นเรื่องของความยาว ไม่มีความหนา บอกว่า “ยาวเท่าใด” เท่านั้น ดังนั้นเส้นจึงมีมิติเดียว เมื่อถูกนำไปใช้กับอะไรก็จะพูดถึง”ขนาดของความยาวเส้น” ในเรื่องที่กำลังพูดถึงเท่านั้นครับ
ลักษณะของเส้นในเชิงเรขาคณิต
➨ เป็นเส้นตรง ไม่บิด งอ โค้ง
➨ ไม่มีความหนา
➨ สามารถขยายได้จากปลายทั้ง 2 ข้างโดยปราศจากที่สิ้นสุด
ถ้าเรามีจุดแล้วลากจุดยาวไปเรื่อยๆ นั่นคือ “เส้น”
ระนาบ (Plane)
ถ้าเราให้จุดเคลื่อนที่ (ลาก) ไปใน 2 ทิศทางที่ต่างกัน เราจะได้ระนาบ
ระนาบเป็นพื้นที่ผิวเรียบ 2 มิติ แต่ไม่มีความหนา
การเคลื่อนที่ของจุดดังกล่าวไม่มีที่สิ้นสุด วงกลม วงรี สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม หรือ รูปหลายเหลี่ยม เป็นระนาบ
ทรงตัน (Solid)
ถ้าจุดเคลื่อนที่ใน 3 ทิศทางที่แตกต่างกันเราจะได้ 3 มิติ เช่น ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ (cube) ทรงกระบอก ทรงกรวย ฯลฯ เหล่านี้ถือว่าเป็นวัตถุทรงตัน (Solid) ทั้งสิ้น
เส้นขนานและเส้นตั้งฉาก
เส้นขนาน
เราจะรู้ได้อย่างไรว่า เส้น 2 เส้นขนานกัน?
ดูความชันครับ ถ้าขนานกัน ความชันของทั้ง 2 เส้น เท่ากัน
ความชันเป็นค่าของ m ในสมการเส้นตรง y = mx + b
ดูตัวอย่างครับ
เส้นตรง 2 เส้นตั้งฉากกัน
สมการเชิงเส้น
เป็นหนึ่งในหลากหลายสมการทางคณิศาสตร์ที่เราเห็นและใช้กันบ่อยๆ สามารถนำมาเขียนกราฟได้ง่าย เห็นพฤติกรรมของสมการได้จากการนำมาเขียนกราฟ นอกจากนี้เรายังนำมาเป็นฐานคิดทางคณิตศาสตร์ ได้อย่างไม่ซับซ้อนนัก
ข้อสำคัญมันเป็นฐานให้แก่เราในการไปศึกษาในเรื่องของคณิตศาสตร์ส่วนอื่นๆได้เป็นอย่างดี
จบเรื่องของสมการเชิงเส้น ครับ
6 บันทึก
5
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
คณิตศาสตร์ ม.ต้น
6
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย