14 ก.ค. 2020 เวลา 22:55 • ไลฟ์สไตล์
วิธีแก้สิ่งที่กวนใจที่ยังยึดติด
มีกรอบความคิดอะไรช่วยได้บ้าง
คุณเคยไหมครับ ประสบความสำเร็จเป็นร้อย ได้ดั่งใจเกือบทุกครั้ง พอมีบางสิ่งบางอย่างที่เป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่อาจคิดว่าไม่สำคัญ แต่กับตัวเราให้ความสำคัญมากๆ เพราะมันขัดกับเส้นทางความสำเร็จในอดีตของเรา
จนมันกลายเป็นสิ่งที่กวนใจตลอดเวลาในเวลาที่ว่าง หรือเวลาที่กำลังคุยกับตัวเอง ว่าทำไมถึงไม่สามารถปล่อยวางได้ ยังค้างคาติดอยู่ในสภาวะที่ต้องยอมรับ ที่จะกินเวลายาวนานเป็นเป็นระดับสัปดาห์ ระดับเดือน หรือบางเรื่องที่ค้างคาที่ผ่านไปไม่ได้อยู่ในระดับปี
ประสบการณ์ของผมใช้กรอบคิดอะไรบ้าง ซัก 3 กรอบแนวคิด (ถูก ผิด เห็นเหมือน เห็นต่างได้เช่นเคย เพราะเพจนี้เน้นผลจากการปฏิบัติมากกว่าทฤษฏี)
กรอบความคิดที่ 1 ประยุกต์ใช้กลยุทธ์ทางสงครามมาปรับใช้กับชีวิตจริง
"รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง"
ในมุมมองผมทำไมถึงกล้าใช้คำว่ารบร้อยครั้งชนะ 100 ครั้ง!!! ทำไมถึงกล้าบอกว่าจะชนะได้ 100 ครั้งหล่ะ
ก็เพราะว่า....
"ครั้งไหนรู้ว่ารบแล้วไม่ชนะ ก็ไม่รบครับ.....หนี.....ถอยยย...ยอมมม" Q(-_-")Q
กรอบคิดแรกคือจริงๆ คือ หนีปัญหาครับ ผมว่าคนส่วนใหญ่ก็ทำกัน
เช่น ในเมื่อปล่อยวางไม่ได้ ถ้าว่างก็จะคิดถึงเรื่องนั้น ถ้าคุยกับตัวเองช่วงนั้นแล้วก็จะคิดถึงเรื่องนั้นตลอด ก็หนี(ต้นเหตุของกระบวนการที่จะคิดถึงปัญหา)ครับ
หนี....โดยไม่ปล่อยตัวเองให้ว่างโดยหาอะไรทำตลอดเวลา
หนี...โดยไม่ปล่อยให้อยู่คนเดียว (ข้อแรกนี้ไม่ต้องอธิบายเยอะคนส่วนใหญ่ก็เป็น)
ก็หนี....หนี....หนี....ไปเรื่อย...จนเวลาเยียวยาทำให้ทุกอย่างดีขึ้นครับ
กรอบความคิดที่ 2 "ของขวัญชิ้นใหม่"
บางทีการจะลืมอะไรมันยาก
ที่ยากเพราะแค่คิดว่าจะลืม สมองเราก็ดึงความจำเรื่องนั้นขึ้นมาแล้ว ต้องดึงความจำเรื่องนั้นขึ้นมาก่อน ถึงจะมีข้อมูลมาให้ประมวลผลต่อว่าจะลืมมันไหม ดังนั้น เมื่อการจะลืมอะไรมันยากนัก
กรอบแนวคิดนึงที่สามารถสะท้อนแก้ปัญหาตรงนี้ได้ เมื่อรู้ว่าลืมไม่ได้ ก็หาของขวัญชิ้นใหม่ หรือหาสิ่งใหม่ๆ ในเรื่องนั้นมาแทนที่ ผมว่าในชีวิตของทุกคน น่าจะมีประสบการณ์ร่วมในการที่แต่ละช่วงชีวิตจะมีสนใจและชอบอะไรมาก ดูจากพวกมือถือ พวกคอมพิวเตอร์ก็ได้ครับ ในแต่ละยุค คุณน่าจะมีมือถือ หรือคอมพิวเตอร์รุ่นที่อยากได้มากๆ อยากได้จนมีมัน ใช้มันเต็มที่ผูกพันยึดติด (สินค้า บริการ แบรนด์) จนมันเสีย ถ้าซื้อใหม่ ก็อยากได้ตัวเดิมรุ่นเดิม แต่พอคุณเปิดใจได้มาลองใช้รุ่นอื่น ยี่ห้ออื่น บางทีเมื่อคุณเริ่มเปิดใจใช้ คุณก็อาจจะกลายเป็นลืมสิ่งที่จุดเวลานึงคุณเคยต้องการมันมากๆ ก็ได้
(ถ้าเป็นประสบการณ์ร่วมแบบเข้าใจง่าย ลองเป็นเวลาโดนบอกเลิก แล้วอยากกลับไปหาคนเก่ามากๆ แต่วันนึงพอมีคนใหม่แล้ว ก็..เอิ่ม...ในอดีตเราเคยเวิ้นเว่อทำตัวแบบนี้ด้วยเหรอเนี้ย คิดไม่ออกเลยว่าอารมณ์ตอนนั้นเป็นอย่างไร....แต่ทำไมหนอเวลารวมรุ่นกับเพื่อนๆ ทีไรโดยแซวในวงสนทนาทุกครั้งเลย..นี้ก็แต่ละคนก็แก่ก็ผ่านช่วงเวลานั้นมาเป็นสิบๆ ปีแล้วทำไมยังจำกันได้ละเอียดกว่าตัวเราเองอีก)
กรอบแนวคิดที่ 3 "คิดแบบมองมุมกลับ"
ที่ยังค้างคาจริงๆ ผ่านไปไม่ได้ จริงๆ แล้วตัวเรากำลังชอบสภาวะเจ็บปวดแบบนี้ใช่หรือเปล่า
คุณอาจเคยได้ยิน ได้ฟัง ได้ผ่านตาจากการสัมภาษณ์ นักกีฬาชื่อดังไหมครับ ทำไมถึงแม้เขาจะเก่งมีพรสรรค์อยู่แล้วแต่เขายังมีพรแสวงมากมาย (มากกมายกว่าคนธรรมดาทั่วไปมาก) เพราะความกลัวของเขาจริงๆ คือกลัวการไม่ชนะ กลัวสูญเสียสิ่งที่เป็นความสำเร็จในปัจจุบัน แปลกมากเลยใช่ไหมครับแรงผลักดันลึกๆ ที่ทำให้สำเร็จ และต้องพยายามมากกว่าคนอื่น มาจากความรู้สึก ความกดดัน หรืออะไรต่างๆ ที่มองได้ว่าเป็นทัศนคติทางลบ
เป็นการมองมุมกลับโดยใช้ทัศนคติทางลบมาผลักดันให้ประสบความสำเร็จ
ในเรื่องนี้ก็เช่นกันบางปัญหาที่เป็นเรื่องที่คิดถึงและยังปล่อยวางไม่ได้ เราต้องยิ่งยอมรับและเดินหน้าชนเรื่องนี้ ชนเรื่องนี้ให้แรงที่สุดให้บ่อยที่สุด เหมือนนักมวยที่ต่อยกระสอบทรายทุกวัน เหมือนนักบอลที่ฝึกเตะบอลทุกวัน เหมือนนักยกน้ำหนักที่ซ้อมมาหนักมากมายเพื่อมายกน้ำหนักในไม่กี่วินาที เหมือนทุกนักกีฬาที่ซ้อมให้ร่างกายซึมซับความเจ็บปวดที่สุด ซึมซับทุกวัน เพื่อเตรียมพร้อมกับการแข่งขันที่ใหญ่กว่าที่จะใช้เวลาแข่งเหมือนการกระพริบตา (เมื่อเทียบกับช่วงเวลาแห่งการซ้อม)
ซึมซับความเจ็บปวดจนไม่รู้ว่าที่ทำอยู่มันสนุกหรือไม่ ซึมซับทุกความเจ็บปวดความข้างคาใจ เพื่อผลักดันให้ไม่ผิดพลาดในครั้งต่อไป เป็นแรงสนับสนุนให้เรื่องอื่นๆ ไปถึงความสำเร็จที่ต้องการ
หมายเหตุ ไม่ได้บอกว่าผมทำได้ทุกครั้งนะครับ คิดได้ ปฏิบัติพอได้ แต่ใช่ว่าทำสำเร็จได้ทุกครั้ง (พลาดมาเยอะ และยังพลาดอยู่เรื่อยๆ เช่นเคย) ถ้าท่านใดมีทางใดที่ลองปฏิบัติแล้วเห็นผลมากกว่าก็บอกเล่าร่วมแบ่งปันประสบการณ์ได้ครับ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา