2 ก.ค. 2020 เวลา 22:55 • ไลฟ์สไตล์
ถ้าต้องเสนอการนำไอเดียลงสู่การปฏิบัติ อย่างน้อย 2 วิธี ใช้กรอบคิดอะไรดี?
สำหรับคนทำงาน นักเรียนนักศึกษา หรือบริษัทต่างๆ ถ้าตามตำราตอนนี้เวลาเป็นเรื่องเกี่ยวกับการนำไอเดียลงสู่การปฏิบัติคงใช้แนวคิด Pilot Project / Design Thinking หรือ การบริหารแบบ Agile and Scrum ซึ่งหาอ่านตาม WEB ได้เช่นเคย
แต่ถ้าเป็นผมวันนี้ขอแชร์เพิ่มอีกมุม (ซึ่งสามารถเห็นถูกผิด เห็นต่างได้เสมอนะครับ) ผมเป็น 1 รูปแบบของการนำเอามาปฏิบัติ ที่บางอย่างอาจมีตรงตำรา หรือ ต่างตำราบ้างในมุมที่เคยประสบว่าลองทำจริงแล้วดีหรือลองมาปรับใช้แล้วไม่ดี
ประเด็นของผมคือ ตอนทำ Pilot Project / Design Thinking หรือการ Agile and Scrum ในกลุ่มเล็กดีแต่ตอนเลือกมาขยายวงทั้งองค์กรและถ้าองค์กรมีขนาดใหญ่ ทางเลือกกรอบการตัดสินใจ อย่างน้อย 2 วิธีจะเป็น
1. บนความเชื่อที่ว่าสิ่งที่ออกแบบเป็นสิ่งที่จะนำมาปรับใช้ทั้งองค์กร เป็นรูปแบบหรือเป็นมาตรฐานในอนาคตที่ควรจะเป็น และเป็นรูปแบบที่ Lean Process ที่สุดบนแนวคิดของลูกค้าเป็นศูนย์กลางแล้ว
ดังนั้นการปรับใช้ในระดับองค์กร คือทุกภาคส่วนต้องเข้ามาปรับใช้ในส่วนนี้ (ไม่แน่ใจว่าพอเป็นเรื่องการทำงานผมจะสื่อสารได้ตรงประเด็นแค่ไหน อธิบายเป็นว่า ถ้าใครใช้ Facebook หรือ Instagram แล้วถ้าบริษัทปรับอะไรใหม่เข้ามา แรกๆ บางคนอาจไม่ชอบการออกใหม่บางอย่าง แต่ทางองค์กรก็ไม่ได้ปรับแก้อะไรจนผู้ใช้ปรับเข้ากับระบบที่องค์กรออกแบบไว้เอง
หรือเหมือนการที่คุณผู้อ่านเล่นเกมในสมัยนี้ที่พอเข้าเกมส์แล้วหน้าจออกแบบทุกอย่างออกแบบมาหมดแล้ว หรือพอผ่านไปหลายๆ ปี มีปรับปรุงอะไร เราก็ต้องปรับตาม ซึ่งอาจมีบางอย่างที่เราอาจจะไม่ชอบก็ได้อยู่ที่ว่าเรายังเลือกเล่นต่อไปเพราะยังรู้สึกว่าคุ้มดีเล่นแล้วยังสนุก หรือถ้าแนวทางต่างกันเกินไปก็ยกเลิก เลิกเล่นเกมส์นั้นไป)
2. ต้องมีการ Segmentation บนความเชื่อที่ว่า ประสบการณ์การใช้งานที่แตกต่างกัน ในยุคนี้ไม่สามารถใช้แนวคิด One Size Fit All กับทุกผู้ใช้งานได้ ต้องมีการปรับแต่ง (Customize) ให้เหมาะสมกับบริบทที่แตกต่าง เพื่อให้ผู้ปฏิบัติทำงานได้จริง
ผมจะไม่ลงเพิ่มในข้อดี ข้อเสียของทั้ง 2 ทางเลือก เพราะทุกการตัดสินใจส่วนใหญ่จะเป็นสีเทา (คือมีทั้งด้านบวก และด้านลบ) และการไม่ตัดสินใจอะไรเลยเป็นผลเสียมากกว่า ดังนั้นมันเป็นเพียงในจุดเวลาหนึ่งในแต่ละเรื่องว่าในช่วงเวลานั้นผมตัดสินใจอย่างไร เพราะเหตุผลสนับสนุนอะไร หรือจะเพิ่มทางเลือกที่ 3 ก็ได้เหมือนกัน โดยการใช้ผสมกันระหว่างข้อ 1 และ ข้อ 2 เช่นเคย
ทางเลือกที่ 3 ส่วนนี้มีประเด็นน่าสนใจที่อยากเพิ่มเติม ให้คุณกลับมามองมือถือคุณเอง แม้คุณจะใช้มือถือรุ่นเดียวกัน แต่คุณอาจมีทางเลือกในการตกแต่งมือถือภายนอก เช่น เคสมือถือ ที่แตกต่างกัน และในตัวมือถือเอง ในหน้าจอที่คุณใช้อยู่ตอนนี้ "คุณก็ปรับแต่งหน้าจอให้เป็นบริบทถนัดที่สุดเฉพาะคุณได้เหมือนกัน"

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา