Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
อ่าน เขียน เรียน รู้
•
ติดตาม
14 ก.พ. 2021 เวลา 06:40 • สุขภาพ
“ไตวาย ตายไว” จริงหรือไม่?
ไตวาย ตายไว จริงหรือไม่?
คำตอบ คือ “จริง”
จากข้อมูลทางระบาดวิทยาในผู้ป่วยที่มีภาวะไตวาย หรือปัจจุบันเรียกว่า “โรคไตเรื้อรัง”ในระยะต่าง ๆ ตั้งแต่ ระยะที่ 1 ถึงระยะที่ 5 จนได้รับการบำบัดทดแทนไตพบว่า ผู้ป่วยกลุ่มนี้ มีอัตราตายสูงขึ้นตามระยะของโรคเมื่อเปรียบเทียบกับคนที่ไม่มีโรคไตเรื้อรัง ผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตแล้วยิ่งมีอัตราตายสูงที่สุด (J Am Soc Nephrol 17: 2034–2047, 2006.)
ดังนั้นคงไม่ผิดที่จะกล่าวว่า “ไตวาย แล้วตายไว”
Adapted from J Am Soc Nephrol 17: 2034–2047, 2006
ทำไมไตวายแล้วตายไว?
ปกติ ไตมีหน้าที่ขับของเสีย รักษาสมดุลน้ำและเกลือแร่ รวมทั้งสร้างฮอร์โมน เมื่อไตวายหน้าที่ดังกล่าวจะถูกรบกวน ส่งผลให้มีของเสียมากขึ้น สมดุลน้ำและเกลือแร่ผิดปกติ ของเสียบางชนิดที่ไตขับไม่ออกทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง หลอดเลือดหัวใจผิดปกติ กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ มีความดันโลหิตสูงขึ้น มีการลดลงของสารต้านอนุมูลอิสระ มีการอักเสบของร่างกาย เหล่านี้ทำให้หัวใจและหลอดเลือดมีปัญหา เพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดตามมา
ทำอย่างไรจึงจะป้องกันโรคไตได้บ้าง?
ในผู้ที่มีโรคประจำตัวที่เสี่ยงต่อโรคไตเรื้อรัง ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคอ้วน เป็นต้น ควรได้รับการควบคุมโรคให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี และตรวจติดตามการทำงานไตเป็นระยะ ๆ
ส่วนผู้ที่ไม่มีโรคไตเรื้อรัง มีมาตรการอะไรบ้างที่จะช่วยป้องกันการเป็นโรคไตได้บ้างไหม โดยไม่ต้องใช้ยา
จากงานวิจัยแบบทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบใน ปี พ.ศ. 2563 (J Am Soc Nephrol 32(1): 239-253, 2020) พบว่า
👍🏻สิ่งที่ควรปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคไต
-รับประทานผักให้มากขึ้น
-รับประทานอาหารที่มีโปแทสเซียมสูง โดยเฉพาะผลไม้
-มีกิจกรรมทางกาย (physical activity) รวมทั้งการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 150 นาทีต่อสัปดาห์
-ดื่มแอลกอฮอล์อย่างพอเหมาะ (ดื่มมากไป มีผลเสียต่อสุขภาพ)
👎สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงเพื่อป้องกันโรคไต
-ทานอาหารเค็ม มีโซเดียมสูง
-สูบบุหรี่
🙅นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการทานอาหารเสริม สมุนไพร ยาชุด ยาหม้อ ยาลูกกลอน ที่ไม่จำเป็น หลีกเลี่ยงการใช้ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDS ติดต่อกันเป็นเวลานาน หลีกเลี่ยงการทานยาลดกรดในกระเพาะอาหารกลุ่ม proton pump inhibitor เช่น ยา omeprazole pantoprazole เป็นต้น ติดต่อเป็นระยะเวลานาน เนื่องจากเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคไตเรื้อรังและโรคไตวายเฉียบพลัน
พอทราบเช่นนี้แล้ว เราควรปฏิบัติตนเองเพื่อหลีกเลี่ยงโรคไต จะได้ “ไม่ไตวาย และไม่ตายไว”
#รู้ทันหมอ
สุขภาพ
บันทึก
1
3
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ไตล้วนๆ ไม่มีวัวผสม
รู้ทันหมอ
1
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย