26 ก.พ. 2021 เวลา 07:30 • ประวัติศาสตร์
พ.ศ.2328 ณ สมรภูมิทุ่งลาดหญ้า
เมื่อทัพของสมเด็จกรมพระราชวังบวรยกมาถึงทุ่งลาดหญ้า ทรงให้ตั้งค่ายที่เชิงเขาบรรทัดเป็นหลายค่าย ชักปีกกาถึงกันสกัดทางที่พม่าจะยกเข้ามา ที่ลาดหญ้าเป็นทุ่งกว้างใหญ่ต่อเนื่องกับเทือกเขาตะนาวศรีที่ทัพพม่าจะยกผ่านลงมาทางช่องเขา ที่ตั้งของชัยภูมิฝ่ายไทยเป็นชัยภูมิที่อุดมสมบูรณ์สามารถเลี้ยงพาหนะทั้งกองทัพได้
สมเด็จกรมพระราชวังบวรทรงดำริให้ ค่ายหลวง ค่ายกองหน้า ค่ายกองหนุน ค่ายเกียกกาย ฯลฯ เรียงรายชักปีกกาถึงกันเพื่อช่วยกันป้องกันให้เเต่ละค่ายไม่ถูกโจมตีเเตกพ่ายได้โดยง่าย หากค่ายใดเพลี่ยงพล้ำ อีกค่ายที่ชักปีกกาถึงกันก็สามารถโอนกำลังถ่ายเทเข้าช่วยกันได้โดยไว
1
หลังจากตั้งค่ายมั่นคงเเล้วทรงมีรับสั่งให้พระยามหาโยธา(เจ่ง) ยกกองมอญ 3,000 คน ออกไปขัดตาทัพพม่าที่ด่านกรามช้างเขตเมืองท่ากระดาน ทัพมอญของท่านพระยามหาโยธาได้ปะทะกับทัพหน้าของ "เมียนหวุ่นเเมงยีมหาทิมข่อง" ซึ่งเป็นทัพเเรกของพม่าที่เดินทัพผ่านด่านพระเจดีย์สามองค์
ทัพหน้าพม่ามีกำลังมากกว่าทัพของพระยามหาโยธาหลายเท่าตัวเเต่ไพร่พลมอญก็ต่อสู้อย่างทรหดถึงสองวันจึงได้ล่าถอยกลับไปที่ทุ่งลาดหญ้า เเต่ก่อนจะจากไปได้เเกล้งทิ้งเสบียงอาหารใส่ยาพิษเอาไว้ในกระบอกน้ำเเละห่อข้าว ไพร่พลพม่าไม่รู้ในอุบายก็กินข้าวกินน้ำตายกันไป 400 คน
หลังจากได้ชัยชนะที่ด่านกรามช้าง เมียงหวุ่นเเมงยีมหาทิมข่อง จึงได้ยกเข้าเขตชายทุ่งลาดหญ้าซึ่งเป็นที่มั่นของฝ่ายไทยเราเเต่ปะทะเเล้วสู้ไม่ได้จึงถอยกลับเเละรอทัพที่ 5 ของเมียนหวุ่นเคลื่อนตามเข้ามาสมทบโดยไพร่พลทั้งสองทัพรวมเข้าด้วยกัน 15,000 คน ตั้งค่ายเป็นเเนวรบติดต่อกัน
"ยุทธการที่ทุ่งลาดหญ้าจึงเริ่มต้นขึ้น"
สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทรงบัญชาการรบอย่างเฉียบขาด วางกลศึกเเละปลุกขวัญเหล่าทหารกล้าให้ห้าวหาญ เเต่ก็ยังไม่สามารถหักเอาทัพของพม่าข้าศึกได้อย่างเด็ดขาด เนื่องด้วยทัพหน้าของทัพหลวงนำโดยพระราชโอรส 2 พระองค์ของพระเจ้าปดุงตามมาสมทบ ทำให้ทหารไทยไม่สามารถตีหักเอาได้
นายทัพนายกองเเละไพร่พลบางส่วนรู้สึกท้อเเท้จึงถอนกลับเข้าค่าย เมื่อสมเด็จกรมพระราชวังบวร ทรงทราบก็พิโรธเป็นอย่างมากเพราะเกรงว่าจะทำให้ทหารคนอื่นเสียขวัญเเละย่อหย่อนในการศึกจนเป็นเหตุให้เเพ้ศัตรูในคราวนี้
จึงทรงมีพระบัณฑูรให้จัดทำครกเเละสากขนาดใหญ่ไว้ในค่ายหลวงรวม 3 สำรับ เเละมีพระราชโองการอย่างเด็ดขาดว่าหากเเม่ทัพนายกองเเละทหารถอยหนีข้าศึกจะมีโทษถูกจับโขลกในครกนี้ ทำให้นายทัพนายกองเเละทหารทั้งหลายกลัวเกรงพระราชอาญาไม่ถอยหนีข้าศึกอีก
ในเวลานั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงรอฟังการข่าวจากพระอนุชาด้วยความกังวัลเนื่องด้วยการศึกที่ยังไม่รู้ผลเเพ้ชนะ
8 มกราคม 2328
จึงทรงเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคนำทัพหลวงไพร่พล 20,000 คน ไปเป็นกองหนุนช่วยสมเด็จกรมพระราชวังบวรที่ทุ่งลาดหญ้า
สมเด็จกรมพระราชวังบวรทรงได้รับข่าวศึกของกองสอดเเนมว่าทหารในค่ายพม่าต้องอาศัยเสบียงอาหารที่ทัพหลวงของพระเจ้าปดุงส่งตามมาจากเเนวหลัง ด้วยเส้นทางลำเลียงของข้าศึกต้องผ่านเเนวเขาคับเเคบ ทรงเห็นเป็นช่องลัดที่จะเอาชัยในการศึกคราวนี้
จึงทรงมีพระราชบัญชาให้จัดเเต่งเป็นทัพกองโจร รวม 500 คน โดยมี พระยาสีหราชเดโช พระยาท้ายน้ำ พระยาเพชรบุรีเป็นนายทัพ เเละให้พระยารามคำเเหงเเละพระยาเสนานนท์เป็นปลัดทัพ ยกเข้าไปตามป่าคอยดักซุ่มโจมตีกองลำเลียงเสบียงของข้าศึกที่จะผ่านด่านพระเจดีย์สามองค์ มาตามลำน้ำเเควน้อย
เเต่ในการณ์ครั้งนั้น นายทัพทั้ง 3 ปฏิบัติการไม่สำเร็จด้วยเกียจคร้านเเละย่อท้อเเก่ข้าศึก จึงหนีไปซุ่มทัพอยู่ที่อื่น จนทำให้บรรดาทหารในกองนั้นได้ฟ้องร้องกล่าวโทษมา สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทจึงมีพระบัณฑูรให้พระยามณเฑียรบาลเเละข้าหลวงยกทัพไปจับกุมตัวนายทัพเเละปลัดทัพด้วยตามกฏหมายอาญาศึก
" ผู้นั้นหลบลี้หนีให้เสียราชการไป ท่านให้ตัดศีศะเสียบไว้"
" อนึ่งพระเจ้าอยู่หัว ใช้ให้ผู้ใดทำการณรงสงคราม เเลมันหลบ หลีกหนีละการณรงสงคราม ให้ตัดศีศะเสียบไว้ ถ้าพระเจ้าอยู่หัวงดโทษ ให้ไปต่อรบข้าศึกเเก้ตัว ถ้าเเก้ตัวได้คุมโทษ ถ้าไม่เเก้ตัวได้ โทษคุงตายบุตรภรรยาอย่าเลี้ยง"
เมื่อจับกุมตัวได้เเล้วทรงให้พระยามณเฑียรบาลทำการไต่สวน พบว่านายทัพทั้ง 3 คน มีความผิดเเละยอมรับผิด จึงมีรับสั่งให้ตัดศีรษะนายทัพทั้ง 3 คนเสียบประจานไว้ที่หน้าค่ายเพื่อไม่ให้ผู้อื่นเอาเยี่ยงอย่าง ส่วนปลัดทัพ 2 คนถูกดาบสับศีรษะคนละ 3 เสี่ยงตามพระราชบัณฑูร
1
หลังจากประหารชีวิตนายทัพทั้ง 3 คนไปเเล้ว สมเด็จกรมพระราชวังบวร ทรงคิดอย่างหนักที่จะหาผู้มาเป็นเเม่ทัพเหล่ากองโจรในภารกิจที่สำคัญนี้ เพราะหากทำภารกิจนี้สำเร็จศึกลาดหญ้าจะไม่ยืดเยื้อเเละสามารถทำตามเเผนการใหญ่ที่จะต้องกลับไปไล่ตีทัพข้าศึกที่บุกมาจากทั้งทิศเหนือเเละใต้ให้หมดทุกทิศทางออกจากเเผ่นดินไทย
ทรงฉุกคิดถึงความกล้าหาญ องอาจ คล่องเเคล่วเเละมีฝีมือเพลงดาบที่ว่องไวร้ายกาจของบุรษผู้หนึ่งขึ้นมาได้ในเวลานั้น ซึ่งเป็นพระอนุชาต่างชนนีของสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ โดยตามเสด็จร่วมทัพมาในคราวนี้ด้วย
"เจ้าขุนเณร"

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา