Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Stay with Math
•
ติดตาม
19 มี.ค. 2021 เวลา 12:00 • การศึกษา
ทฤษฎีบทพีทาโกรัส (ตอนที่ 2)
คราวที่แล้วเราได้รู้จัก นิยาม ทฤษฎีบทพีทาโกรัส และตัวอย่าง การใช้ทฤษฎีบทพีทาโกรัส เพื่อหาความยาวด้าน ตรงข้ามมุมฉาก
วันนี้เราจะมาคุยกันต่อครับ
ในกรณีที่เราทราบความยาวด้านตรงข้ามมุมฉาก และ ทราบความยาวด้านประกอบมุมฉาก เพียงด้านเดียวเราจะหาด้านที่เหลือได้ไหม?
ลองดูรูปด้านล่างครับ
ดังนั้นหากเรามีสามเหลี่ยมมุมฉากที่ทราบความยาวของ 2 ด้านเป็น 3, 4 หรือ 3, 5 หรือ 4, 5 เราจะทราบด้านที่เหลือทันทีโดยมิต้องคำนวณ เช่นถ้ามี “สามเหลี่ยมมุมฉาก” ที่มีความยาว 3, 5 เราจะทราบทันทีว่า ด้านที่เหลือ ยาว 4 แล้ว ด้านที่เหลือจะเป็น 5 หรือ 6 ได้หรือไม่ ? เราต้องพิจารณาเฉพาะ “สามเหลี่ยมมุมฉาก” เท่านั้นนะครับ ลองแทนค่าในสมการดูครับ
จากตัวอย่างข้างบน เราเรียก 3, 4, 5 ว่าเป็น สามจำนวน พิธาโกเรียน ปฐมฐาน (Primitive Pythagorean) เพราะว่าเป็นจำนวน 3 จำนวนที่มี ห.ร.ม. เท่ากับ 1 ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีบท พิธาโกรัส และเซตของ 3 จำนวนใดใดที่สอดคล้องกับทฤษฎีบท พิธาโกรัส เราเรียกว่า พิธาโกเรียนทริปเปิล (Pythagorean triple)
ในทำนองเดียวกันหาก ชุดจำนวน 3 ตัวข้างบนมีตัวคูณร่วม หรือ ห.ร.ม. ที่มิใช่ 1 เช่น เป็น 2 , 3 ..... แล้ว จะยังคงเป็น พิธาโกเรียนทริปเปิล (Pythagorean triple) หรือไม่
ลองดูตัวอย่างครับ
ดังนั้น เมื่อเราคูณ ชุดของจำนวน พิธาโกเรียนทริปเปิ้ล ด้วยจำนวนเต็มเดียวกัน ผลลัพธ์ย่อมเป็น พิธาโกเรียนทริปเปิ้ล ด้วย
คราวหน้าเราจะมาคุยกันในเรื่องของทฤษฎีบทพีทาโกรัส (ตอนที่ 3) ในวันที่ 21 มีนาคม 2564 เวลา 19.00 น.
บันทึก
1
2
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
คณิตศาสตร์ ม.ต้น
1
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย