30 มี.ค. 2021 เวลา 10:05 • ธุรกิจ
ขายดีเพราะขึ้นราคา! ศิลปะการตั้งราคาสวนกระแสที่คุณก็ทำได้
ในช่วงที่เศรษฐกิจย่ำแย่ ขายของไม่ออก
“การขึ้นราคา” เป็นอีกทางออกหนึ่งที่ช่วยให้ธุรกิจอยู่รอดได้จากการเปลี่ยนกลุ่มลูกค้า
ลองสังเกตดู สินค้าต่างๆมักขึ้นราคาตามกาลเวลา ตามกลไกการตลาดอยู่แล้ว
การขายถูกเป็นจุดเริ่มต้นที่ผิดมหันต์!!! อาจขายดีระยะสั้น แต่ระยะยาวอาจอยู่ไม่ไหว
หน้าปก
💵💵💵💵💵💵💵💵💵💵💵💵💵💵💵💵💵💵💵💵💵💵💵💵💵
เปรียบเทียบผลของการ “ลดราคา” กับ “ขึ้นราคา” ให้เห็นภาพชัดๆ ได้ดังนี้
สมมติ ราคาขายสินค้าตั้งต้นชิ้นละ 100 บาท ต้นทุน 70 บาท ได้กำไร 30 บาท
• ถ้า “ลดราคา” เหลือชิ้นละ 80 บาท ต้องขายให้มากกว่าเดิม 3 เท่า จึงจะรักษากำไรเท่าเดิมไว้ได้
แต่ต้องจำนวนพนักงาน หรือเพิ่มชั่วโมงการทำงาน เพื่อให้ขายสินค้าได้มากขึ้น
ต้องสต๊อกสินค้าเพิ่มขึ้น อาจมีจำนวนเรื่องร้องเรียนมากขึ้น
• แต่ถ้า “ขึ้นราคา” เป็นชิ้นละ 130 บาท กำไรจะเพิ่มขึ้นจาก 30 บาท เป็น 60 บาทต่อชิ้น
ถึงจะขายได้น้อยลงครึ่งนึงก็ยังได้กำไรเท่าเดิม
จำนวนพนักงาน หรือชั่วโมงการทำงานที่ใช้ก็ลดลง
สต๊อกสินค้าลดลง จำนวนเรื่องร้องเรียนก็ลดลง
จะเห็นได้ว่า “การลดราคา” อาจไม่ได้ส่งผลดีเสมอไป
เปรียบเทียบ
💸💸💸💸💸💸💸💸💸💸💸💸💸💸💸💸💸💸💸💸💸💸💸💸💸
ผู้บริโภค 4 ประเภทที่เจ้าของธุรกิจต้องทำความเข้าใจ
1. ซื้อเพราะราคาถูก
ซื้อสินค้าโดยคำนึงถึงเรื่องราคาเป็นหลัก เน้นถูกไว้ก่อน จะซื้ออะไรก็ตาม
ต้องเช็กราคาทุกครั้ง และพยายามหาสินค้าที่ถูกที่สุดโดยไม่คำนึงถึงปัจจัยอื่น
2. ซื้อเพราะความเชื่อมั่น
ตรงข้ามกับประเภทแรก เลือกซื้อสินค้าที่มีราคาสูง
ด้วยความเชื่อว่าสินค้าหรือบริการที่มีราคาสูงย่อมมีคุณภาพที่ดีกว่าเสมอ
3. ซื้อเพราะประสบการณ์
เลือกซื้อสินค้าหรือบริการโดยคิดว่า เป็นการซื้อประสบการณ์ที่เป็นความทรงจำที่ดี
และทำให้รู้สึกอิ่มเอมใจ เช่น การไปกินโอมากาเสะสักครั้งในชีวิต
หรือการจ่ายเพื่อไปท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ การไปนวด
4. ซื้อเพราะความเป็นตัวของตัวเอง
ซื้อสินค้าหรือบริการ เพื่อสะท้อนการใช้ชีวิตหรือสถานะของพวกเขา
ซื้อเพราะอยากโชว์ความเป็นตัวเองออกมา
เช่น การซื้อเครื่องประดับ นาฬิกา โทรศัพท์มือถือ เสื้อผ้า
หรือการไปนอนโรงแรมหรูสักที่ เพราะเห็นตัวเองอยู่ในสินค้าหรือบริการนั้นๆ
การกำหนดราคาสำหรับลูกค้ากลุ่มนี้ ควรตั้งให้สูงที่สุด เท่าที่ลูกค้าจะจ่ายไหว
ไม่ใช่คิดตามต้นทุน+กำไรตามปกติ
เพราะลูกค้ากลุ่มนี้มักเลือกไปแต่ร้านที่มีความเป็นตัวของตัวเองและยินดีจ่าย
ผู้บริโภค4ประเภท
💶💶💶💶💶💶💶💶💶💶💶💶💶💶💶💶💶💶💶💶💶💶💶💶💶
ปัจจัยในการกำหนดราคา
1. ต้นทุนรวม ทั้งการผลิต ค่าเช่า ค่าจ้างพนักงาน
2. ราคาเปรียบเทียบ เมื่อเทียบกับราคาตลาด
3. คุณค่าของสินค้าและบริการ เป็นปัจจัยสำคัญในการขึ้นราคาได้ และทำให้ผู้บริโภคยินดีที่จะจ่าย
แบ่งเป็น คุณค่าสามัญ และ คุณค่าเฉพาะตัว
ปัจจัยกำหนดราคา
💷💷💷💷💷💷💷💷💷💷💷💷💷💷💷💷💷💷💷💷💷💷💷💷💷
“คุณค่าสามัญ” ไม่มีต้นทุนการผลิต แต่ช่วยให้ขายสินค้าได้ในราคาที่สูงขึ้น
มี 14 อย่าง ได้แก่
1. งานแฮนด์เมด
2. ของที่มีน้อย หายาก ไม่มีใครอื่นทำได้ หรือต้องใช้เวลานาน
3. มีผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้สร้างสรรค์ หรือเลือกสรร
4. มีประวัติความเป็นมายาวนาน และมีเอกสารหรือหลักฐานทางประวัติศาสตร์มายืนยัน
5. เป็นสิ่งที่ชนชั้นสูง บุคคลในประวัติศาสตร์ หรือคนมีชื่อเสียงใช้
6. ไม่สามารถซื้อทางออนไลน์ได้
7. เป็นของที่ต้องเสาะแสวงหามาเองด้วยความยากลำบาก
8. มีการจดสิทธิบัตร
9. มีความลับอยู่เบื้องหลังการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ใครได้ฟังก็ต้องทึ่ง
10. มีหลักฐานสนับสนุนหรือได้รับการยอมรับจากองค์กรวิจัยระดับโลก
11. ทนทาน ใช้งานได้นานปี
12. ผ่านการทดสอบมานับครั้งไม่ถ้วน
13. มีการรับประกันที่ยอดเยี่ยม
14. เป็นสิ่งที่ไม่มีอะไรมาทดแทนได้
หากใช้คุณค่าสามัญ ร่วมกับราคาเปรียบเทียบในการกำหนดราคา
ผลที่ได้จะยิ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้น
และ “คุณค่าสามัญ” นี้ ไม่มีต้นทุน จึงไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนอะไรในสินค้าเลย
แค่หยิบคุณค่านั้นออกมา แสดงให้เห็น และเล่าเรื่องให้เป็น
💎💎💎💎💎💎💎💎💎💎💎💎💎💎💎💎💎💎💎💎💎💎💎💎💎
“คุณค่าเฉพาะตัว” ที่ช่วยให้ขึ้นราคาได้ในพริบตา
สามารถตอบสนองความต้องการส่วนตัวของผู้บริโภคได้
ทำให้สามารถเพิ่มราคาได้มาก
เช่น การเลือกร้านอาหารที่เหมาะสมกับลูกค้า หรือแฟน ครอบครัว ในวันครบรอบต่างๆ
ถ้าร้านอาหารสามารถเสนอคุณค่าเฉพาะตัว ที่ตรงตามความต้องการที่ลูกค้าพอใจได้
การตั้งราคาสูงก็ไม่เป็นปัญหา
💰💰💰💰💰💰💰💰💰💰💰💰💰💰💰💰💰💰💰💰💰💰💰💰💰
การบอกเล่าคุณค่า ให้ผู้บริโภครับรู้เป็นสิ่งสำคัญ
เพราะต่อให้สร้างผลงานออกมาได้ดีแค่ไหน แต่ไม่ได้บอกให้คนอื่นรับรู้ถึงคุณค่า
ก็เหมือนกับว่า ผลงานนั้นไม่มีคุณค่า
แต่ถ้าบอกเล่าถึงคุณค่าให้ลูกค้ารู้สึกได้ จะขายแพงเท่าไหร่ ก็ย่อมได้
ยกตัวอย่าง “ร้านเจ๊ไฝ” ที่มี “Unique Selling Point” จนได้ Michelin Star 1 ดาว
แม้ว่าจะเป็น street food แต่โด่งดังถึงขนาด Tim Cook (CEO Apple)
ต้องบินมาเมืองไทย เพื่อมากินที่ร้านเจ๊ไฝโดยเฉพาะ
เพราะมีทั้งคุณค่าสามัญ และคุณค่าเฉพาะตัว และบอกเล่าออกมาได้ดี
ทำให้สามารถขายไข่เจียวปูจานละพันกว่าบาทได้
การกำหนด Demand เยอะๆ และ Supply น้อยๆ
เช่น โอมากาเสะ ทำให้สามารถผลิตสินค้าออกมามีคุณภาพ สามารถขึ้นราคาได้
และลูกค้ารู้สึกถึงความ Limited Edition และคุณค่าของสินค้าได้
Quote โดนใจปิดท้าย จาก Warren Buffett
“Price is what you pay. Value is what you get.”
“ราคาคือสิ่งที่คุณจ่าย แต่คุณค่าคือสิ่งที่คุณได้รับ”
Quote
💳💳💳💳💳💳💳💳💳💳💳💳💳💳💳💳💳💳💳💳💳💳💳💳💳
 
ใครสนใจไปฟังพี่เคน นครินทร์ เล่าเพิ่มเติมอย่างละเอียดจนเห็นภาพ เข้าใจง่ายได้ที่
The Secret Sauce Podcast EP.370 ขายดีเพราะขึ้นราคา! ศิลปะการตั้งราคาสวนกระแสที่คุณก็ทำได้
รายละเอียดที่พี่เคนเล่าถึง มาจากหนังสือ “ขายดีเพราะขึ้นราคา”
ศิลปะการตั้งราคาแบบสวนกระแส ยิ่งขายแพงคนยิ่งอยากซื้อ
เขียนโดย Akira Ishihara (อากิระ อิชิฮาระ)
แปลโดย ศุภภัทร พัฒนเดชากุล
สำนักพิมพ์วีเลิร์น
302 หน้า ราคาปก 220 บาท
📚📚📚📚📚📚📚📚📚📚📚📚📚📚📚📚📚📚📚📚📚📚📚📚📚
My Memories Reviews ep.192
30/3/2021
#MyMemoriesReviews
#เรื่องน่าจำนำมาเล่า

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา