6 เม.ย. 2021 เวลา 12:00 • การศึกษา
ทฤษฎีบทพีทาโกรัส (ตอนที่ 11)
คราวที่แล้วเราได้คุยกันถึง การนำ พิธาโกเรียน ทริปเปิ้ล มาใช้แก้ปัญหาโจทย์ วันนี้เราจะมาคุยกันต่อครับ
ถ้าเรามีสี่เหลี่ยมด้านขนานซึ่งมีเส้นทแยงมุมยาว 10 หน่วย พื้นที่ของสี่เหลี่ยมด้านขนานนี้เป็นเท่าใด ?
เรามาดูวิธีการแก้ปัญหาโจทย์นี้
ดูอีกตัวอย่างครับ
มาถึงตรงนี้ เราได้ทราบว่า
1. การแสดงถึงความเป็น “สามเหลี่ยมมุมฉาก” ได้จากการนำเอา ทฤษฎีบทของพิธาโกรัส มาใช้ในการตรวจสอบ
2. พิธาโกเรียน ทริปเปิล คือ “เซตของจำนวนเต็มบวก” a, b และ c ที่สอดคล้องกับ ทฤษฎีบทของพิธาโกรัส ..... “กำลังสองของด้านที่ยาวที่สุดของสามเหลี่ยมมุมฉาก เท่ากับ ผลบวกของ กำลังสองของด้านที่เหลือ”
อย่าลืมว่า พิธาโกเรียน ทริปเปิล คือ “เซตของจำนวนเต็มบวก” ..... นั่นหมายความว่า ความยาวแต่ละด้านของ “สามเหลี่ยมมุมฉาก” ที่จะเรียกว่า พิธาโกเรียน ทริปเปิล ต้องเป็น จำนวนเต็มบวกเท่านั้น .....
คราวหน้าเราจะมาคุยกันในเรื่องของทฤษฎีบทพีทาโกรัส (ตอนที่12) ในวันที่ 8 เมษายน 2564 เวลา 19.00 น.

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา