17 เม.ย. 2021 เวลา 02:25 • ปรัชญา
มงคลที่ 32 การประพฤติพรหมจรรย์
พรหมจรรย์ ตามตัวอักษร แปลว่า“ความประพฤติอันประเสริฐ” หรือ “ระบบแห่ง
การดำเนินชีวิตอันประเสริฐ”
ในคัมภีร์มังคลัตถทีปนี ท่านยกตัวอย่าง
พรหมจรรย์ว่าหมายถึง ระบบแห่งการบำเพ็ญคุณงามความดี 10 ประการ คือ
1. ทาน หรือการแบ่งปัน
2. เวยยาวัจจะ หรือการมีจิตสำนึกสาธารณะ
3. เบญจศีล (ศีล 5)
4. เมตตาอัปปมัญญา หรือ เมตตา กรุณา
มุทิตา อุเบกขา ไร้พรมแดน
5. เมถุนวิรัติ การเว้นจากกิจกรรมเชิง
สังวาส
6. สทารสันโดษ ความยินดีในคู่ครองตน
7. วิริยะ ความเพียร
8. อุโบสถ (ศีล 8)
9. อริยมรรค (มรรคมีองค์ 8)
10. ศาสนา หรือ ธรรมวินัย
จากตัวอย่างของพรหมจรรย์ที่กล่าวมา
จะเห็นได้ว่า ใคร ๆ ก็ประพฤติพรหมจรรย์ได้ แต่ในมงคลสูตรนี้ พรหมจรรย์ ท่านหมายถึง เมถุนวิรัติ (การเว้นจากกิจกรรมเชิงสังวาส) และสมณธรรม อันได้แก่ การเจริญสมถะและวิปัสสนากรรมฐาน เพราะทั้งเมถุนวิรัติและสมถะ และวิปัสสนากรรมฐาน เป็นหนทางอันลัด สั้น ตัดตรง
สู่พระนิพพานอันเป็นที่สุดแห่งความทุกข์
ท่าน ว.วชิรเมธี

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา