Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เขมานันทะในใจเรา - ชาติพันธุ์ภาวนา
•
ติดตาม
6 พ.ค. 2021 เวลา 23:00 • ปรัชญา
ไตร่ตรองมองหลัก (๒๑)
สภาพตื่นตัวที่แฝงเร้นอยู่ในชีวิตนั้น ถูกครอบงำปกปิดอยู่ เนื่องจากการไหลเนื่องสืบต่อของกระแสความคิดปรุงแต่ง ดุจดั่งหินที่อยู่ใต้ท้องน้ำที่ไหลบ่า เมื่อน้ำแห้งงวดลงหินนั้นก็เผยตัวออก
กล่าวได้ว่า การปรากฏของหินก็หาใช่การเกิดขึ้นไม่ ทั้งนี้เพราะมีอยู่ก่อนหน้านั้นแล้ว การปรากฏเป็นเพียงการเปิดเผยความจริงที่มีอยู่แล้วเท่านั้น
โดยการมุ่งสอนหรือมุ่งขบคิดธรรมะ กิจอันนี้ก็ได้กลายเป็นอุปสรรคใหญ่ขึ้นในชีวิต ต่อการเกิดญาณปัญญา ผลได้จากการคิดปรุงแต่ง ยิ่งมากเท่าใดก็ยิ่งพอกพูนความผิดพลาด (Error) ขึ้นเท่านั้น
ที่ร้ายกาจก็คือมันได้กลับกลายเป็นทางแห่งวิถีทีถ้อย จับตัวผู้นั้นไว้อย่างยากที่จะเป็นอิสระได้ ที่สุดของทางนั้นก็คือความเป็นปราชญ์ที่มีปัญหาอยู่ในตนเอง
สำหรับทางที่ก่อเกิดญาณปัญญานั้นไม่ใช่ทางแห่งการขบคิด หากแต่เป็นการอยู่เหนือความคิด
กล่าวได้ว่าพอบุคคลเริ่มคิด วิถีชีวิตแห่งสภาพเดิมแท้ก็หมุนเข้าสู่โลกของความหมายและการประเมินค่า ซึ่งเป็นสิ่งขัดแย้งอยู่ตลอดกาลในโลกเช่นนั้น
1
ครั้นบุคคลนั้นไม่เป็นไปตามอำนาจคิด สภาพตื่น (โพธิ) ก็ทำกิจของมัน การไม่เป็นไปตามอำนาจแห่งความคิดชื่อว่าเป็นการปฏิบัติเพื่อสมาธิและปัญญา ซึ่งเป็นทั้งญาณและฌานไปพร้อมๆ กัน นิกายนี้จึงชื่อ ฌัน ซึ่งเป็นสำเนียงเลื่อนไปจากฌานนั่นเอง
การไม่เป็นไปตามอำนาจความคิดย่อมแตกต่างจากการมุ่งหยุดความคิดเป็นอย่างมาก "การนั่งนิ่งเงียบติดต่อกันไป โดยไม่ยอมให้ความนึกคิดเกิดขึ้นในจิต" (เหนือคิด คือ หวูเหนียน) นับว่าเป็นความผิดพลาดเป็นอย่างมาก เพราะว่าด้วยการเห็นอาการคิดนั้นเองที่ได้กลายเป็นเครื่องปลุกโพธิให้ตื่นขึ้น
กล่าวคือทุกๆ ครั้งที่มีการเห็นอาการคิดอย่างฉับพลันทันใด (ถ้าไม่ทันใดนั่นย่อมหมายถึงการเกิดความคิดว่ากำลังเฝ้าดูอาการคิด) ก็เป็นการรู้แจ้งในธรรมชาติแท้ของใจโดยการอาศัยความคิดโดยไม่เข้าไปในความคิด ญาณก็เกิดขึ้นโดยลำดับ
ด้วยเหตุนี้ การปฏิบัติของสำนักฉับพลันในประเทศจีน ก่อนหน้าจะแพร่หลายไปสู่เกาหลีและญี่ปุ่นนั้น จึงมีท่วงท่าของการเคลื่อนไหว (Dynamic) มากกว่าลักษณะนิ่งสงบ (Static)
โดยเฉพาะหลังจากช่วงสมัยของอาจารย์มัตสุ ตาวอาย หลานศิษย์ของพระสังฆปริณายกเว่ยหล่าง ทั้งนี้ก็เพื่อปลุกเร้าโพธิให้ตื่น แทนที่จะทำให้สงบนิ่งแบบท่อนไม้
คำอธิบายเชิงวิชาการที่มุ่งประเด็นสู่การเกิดญาณหรือสัมโพธิ (ซา-โตริ) ที่มีกับหนังสือ "สูตรของเว่ยหล่าง"
บันทึก
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ไตร่ตรองมองหลัก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย