Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เขมานันทะในใจเรา - ชาติพันธุ์ภาวนา
•
ติดตาม
10 มิ.ย. 2021 เวลา 23:00 • ปรัชญา
ดั่งสายน้ำไหล (๒๖)
อารมณ์กรรมฐานเบื้องต้น อารมณ์แรกคือ อารมณ์รูปนาม ในอารมณ์เบื้องต้นนี้ให้บุคคลผู้ปฏิบัติเคลื่อนไหวมากๆ รู้สึกตัวมากๆ เพราะจะได้เป็นรากฐาน แล้วก็ให้รู้ให้เห็นว่า กายกับจิตทำหน้าที่ร่วมกันอย่างไร ให้ดูที่ตัวเอง
ตัวดูกับสิ่งที่มันเป็นอยู่นี้จะประมวลกันเข้า มันจะรู้ตัว สร้างความรู้สึกขึ้นไม่ได้ ดังนั้นต้องเดินไปเรื่อยๆ ปฏิบัติเล่นๆ อย่างนี้เรียกว่า อารมณ์รูปนาม
บุคคลที่ไม่มีอารมณ์กรรมฐาน จิตมันไประเริงอยู่กับอารมณ์โลกย์ แต่อารมณ์รูปนามนั้นต้องระมัดระวังอย่างหนึ่ง พอมันรู้ปากทางแรกนี่ มันจะฟุ้งซ่าน มันจะเกิดความรู้อันมากมายขึ้นมา ต้องรู้จักที่จะยับยั้ง รู้จักที่จะเปลี่ยนหัวเลี้ยวหัวต่อ
อารมณ์นามรูปนั้นก็เป็นอารมณ์ซึ่งสืบเนื่อง แต่ว่าบางคนอาจจะได้อารมณ์นามรูปก่อนแล้วค่อยย้อนมาอารมณ์รูปนามทีหลัง เหมือนกับเจ้าของบ้านไปต่างจังหวัด แล้วลืมกุญแจไว้ในห้องนอน กลับมาเขาบ้านไม่ได้ ปีนเข้าทางหน้าต่าง พอเข้าเสร็จก็ต้องย้อนมาไขกุญแจเข้าทางเดิม
ดังนั้นการปฏิบัติถ้ากระโดดข้ามขั้นก็ทุลักทุเล แต่ก็ได้เหมือนกัน แต่ถ้าเข้ามาตามลำดับนี้ง่าย
ผมจึงบอกว่าให้ทุกคนทำความรู้สึกตัวให้มากๆ ก่อน แล้วมันจะชำแรกเข้ามาตามลำดับ ถึงแม้จะได้อารมณ์นามรูป มันจะย้อนไปรับอารมณ์รูปนาม ในที่สุดมันจะดีขึ้น ปรกติขึ้น แล้วก็ไต่ไปตามลำดับ
เมื่อได้อารมณ์รูปนามนั้นอุปสรรคก็คือ ความรู้อันมากมายไม่รู้จักจบที่เรียกว่า วิปัสสนูปอุปกิเลส อยากจะเทศน์อยากจะสอน คิดนึกไปต่างๆ นานา เที่ยวสอดส่องไปในศิลปศาสตร์ต่างๆ ตามกิเลสปรารถนา
ดังนั้นบุคคลจะต้องรู้จักที่จะแก้ไขตัวเอง คือกลับมารู้สึกตัวมากๆ แล้วก็เอาสติมาดูความคิด
ดั่งสายน้ำไหล : เขมานันทะ
รวบรวมจากคำแนะนำต่อกลุ่มธรรมจาริณี ในรายการภาวนาประจำปี พ.ศ. ๒๕๒๙ ณ อาศรมศานติ-ไมตรี
2 บันทึก
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ดั่งสายน้ำไห
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย