Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
A WAY OF LIFE : ทางผ่าน
•
ติดตาม
16 ส.ค. 2021 เวลา 04:11 • ปรัชญา
"ท่องเที่ยวในกายในใจ"
"... ช่วงนี้ออกไปเที่ยวข้างนอกไม่ได้
เราก็เที่ยวอยู่ในร่างกายเรา
เที่ยวอยู่ในจิตใจเรา
1
ดูลงในร่างกายตั้งแต่หัวถึงเท้า เท้าถึงหัว ดูไปเรื่อยๆ
ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูกอะไรอย่างนี้
เป็นของไม่สวยไม่งาม เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์
ไม่ใช่ตัวเรา เป็นแค่วัตถุธาตุอะไรอย่างนี้
1
ทวนเที่ยวอยู่อย่างนี้ ดีกว่าไปเที่ยวนอกบ้านตอนนี้
หรือสำรวจอยู่ในจิตใจเรา
วิธีสำรวจอยู่ในใจเราก็คือรู้สึกตัวสบาย ๆ เป็นปกติ
อย่าไปแต่งจิตให้มันผิดปกติ
แล้วคอยรู้ทันความเคลื่อนไหว
เปลี่ยนแปลงของจิตใจไป
จิตใจเป็นสุข จิตใจเป็นทุกข์ จิตใจเฉยๆ
เราคอยรู้ไว้ จิตใจเป็นกุศลไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง
หรือจิตใจเป็นอกุศล โลภ โกรธ หลง คอยรู้ไว้
พอเราดูได้ชำนิชำนาญ
เราก็จะเห็นจิตมันท่องเที่ยว
เราเป็นแค่คนดูแต่จิตมันท่องเที่ยว เรียกมันโคจร
โคจรไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย
ไปดูรูป ตัวรูปที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ไปรู้
เขาเรียกตัวรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
คือสิ่งที่มากระทบร่างกาย
ความรู้สึกเย็น ความรู้สึกร้อน ความอ่อน
ความไหว ความตึง ความแข็ง
สิ่งเหล่านี้กระทบร่างกาย
จิตเราจะเที่ยวไป เดี๋ยวก็เที่ยวไปดูรูป
เดี๋ยวก็เที่ยวไปฟังเสียง เดี๋ยวเที่ยวไปดมกลิ่น
ไปลิ้มรส ไปรู้สัมผัสที่กาย
ตัวรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
ก็เลยจัดเป็นที่โคจรของจิต เขาเรียกโคจรรูป
เป็นรูปที่เป็นที่โคจรของจิต
จิตเราท่องเที่ยวไปในภพน้อย ๆ ตลอดเวลา
ในทางจิตใจ ธรรมารมณ์ มีที่เที่ยวได้เยอะแยะ
เที่ยวไปในทุคติ ในสุคติ เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
จิตเราเที่ยวเวียนว่ายตายเกิดเป็นขณะ ๆ ไป
ขณะไหนจิตใจเราจมอยู่ในความทุกข์
ขณะนั้นจิตเรากำลังเกิดเป็นสัตว์นรกอยู่
เราสังเกตดูจิตเรามันท่องเที่ยวไปในวัฏฏะ
ไม่ต้องมองวัฏฏะยาวๆ วัฏฏะใหญ่ ๆ
ว่าตายแล้วไปเกิดที่ไหนหรอก
ดูวัฏฏะย่อย ๆ ที่กำลังเกิดในจิตในใจนี้ให้ชำนาญ
อีกหน่อยจิตจะไปอยู่ที่ไหนก็รู้หมด
ฉะนั้นจิตเราท่องเที่ยวอยู่ภายในตลอดเวลา
อย่างเวลามันจมอยู่ในความทุกข์
จิตเราก็เกิดเป็นสัตว์นรก
ตัวเป็นคนแต่จิตเป็นสัตว์นรกไป
บางทีจิตโลภ จิตมีแต่ความอยากโน้นอยากนี้ไป
ตัวเป็นคนแต่จิตเป็นเปรต เราไปเสวยภพของเปรตอยู่
ภพย่อย ๆ นี้สำคัญ
พวกเราค่อยๆ เรียน ค่อยๆ สังเกตไป
จิตเราท่องเที่ยวไปในภพน้อย ๆ ตลอดเวลา
บางทีเราก็มีความยึดถือความคิดความเห็น เซลฟ์จัด
จิตใจที่เซลฟ์จัดไม่แช่มชื่นหรอก เครียด หงุดหงิด
เราก็ไปเกิดเป็นอสุรกาย
ในขณะนี้ล่ะตัวเป็นคนแต่ใจเป็นอสุรกายได้
หรือเราสบายๆ ใจเราหลงๆ ไป
ตัวเราเป็นคนแต่ใจเป็นเดรัจฉาน
สัตว์เดรัจฉานมันชอบเหม่อ
แล้วมันก็ชอบมีความหลงผิด ความเห็นผิด
ไม่รู้ผิดชอบชั่วดีอะไร
อย่างลูกมันก็ปล้ำแม่มันได้อะไรอย่างนี้
พ่อกับลูกอะไรอย่างนี้
เดรัจฉานมันไม่รู้ว่าอะไรถูกอะไรผิด
ฉะนั้นบางทีจิตเราก็เป็นเดรัจฉานได้
จิตมันมีโมหะ แล้วก็ไม่รู้ผิดชอบชั่วดี
บางทีจิตเราก็มีศีลมีธรรม
เราก็เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ
ถ้าจิตเรามีความละอาย ละอายใจที่จะทำความชั่ว
แล้วเรารู้ว่าเวลาเราทำความชั่ว
มันมีผลเป็นความทุกข์
แต่ถ้าเราภาวนาเรื่อย ๆ เราจะรู้สึกเลย
อย่างเวลาเราปล่อยจิตใจของเราให้ชั่ว
อย่างเราโกรธมาก ๆ หรือฟุ้งซ่านมาก ๆ
ความทุกข์มันตามมาเห็น ๆ เลย
ใจฟุ้งซ่าน ๆ พอผ่านจุดที่ฟุ้งซ่านแล้วใจหดหู่
เซื่องซึม หมดเรี่ยวหมดแรง มีผลที่ไม่ดีเกิดขึ้น
หรือช่วงไหนเราปล่อยจิตใจให้ราคะรุนแรง
พอช่วงราคะรุนแรงผ่านไป จิตจะเต็มไปด้วยโทสะ
มันจะเหวี่ยงกลับข้าง จิตไม่มีความสุขหรอก
จิตมีโทสะ
ถ้าจิตขณะใดมีโทสะ ขณะนั้นตกนรกตั้งแต่ตอนนั้นแล้ว
แล้วพอโทสะนั้นผ่านไป
จิตก็กะปลกกะเปลี้ยหมดเรี่ยวหมดแรงไป
ใช้พลังงานเกินตัวไป มันมีผล มันเห็นผล
ถ้าเราภาวนาเวลาเราตามใจกิเลส มีผลน่ากลัว
ผลเป็นความทุกข์
2
ถ้าเราภาวนาเรื่อย ๆ เวลาจะทำผิดศีลผิดธรรม
จิตมันจะละอายแก่ใจเรียกว่ามันมีหิริ
แล้วเรามีสติปัญญาเรียนรู้จิตใจตัวเองเรื่อย ๆ
เรารู้เลยทำชั่วแล้วก็มันมีผลน่ากลัว
เกรงกลัวต่อผลของความชั่วเรียก โอตตัปปะ
ถ้าจิตใจเราพัฒนาขึ้นมาอย่างนี้ เราก็เป็นมนุษย์
ร่างกายยังเป็นมนุษย์ แต่จิตเราเป็นเทวดาแล้ว
มีหิริ มีโอตตัปปะ
หรือเราฝึกสมาธิจิตใจเราสงบ
เราก็เป็นพรหม เรามีภพของพรหมเกิดขึ้นในใจ
บางทีก็ทรงอยู่ 1 ชั่วโมง 2 ชั่วโมง
3 ชั่วโมงอะไรอย่างนี้ เป็นพรหมชั่วคราว
ฉะนั้นจิตของเราก็ท่องเที่ยวไปในภพน้อยภพใหญ่
ก็ท่องเที่ยวไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
เที่ยวไปเรื่อย ๆ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย
ก็เที่ยวไปหารูป หาเสียง หากลิ่น หารส หาสัมผัส
อันไหนพอใจก็ยึดเอาไว้
อันไหนไม่พอใจก็ดิ้นรนอยากหนี
ใจเป็นทุกข์ทั้งนั้นเลย
ยึดเอาไว้ใจก็เป็นทุกข์ ดิ้นรนหนีใจก็เป็นทุกข์
เพราะว่าจิตก็ยังเที่ยวในภพน้อยภพใหญ่
ภายในของเรา ภพน้อย ๆ
เราจะเห็นว่าถ้าภาวนาไปเรื่อย ๆ
เราจะเห็นจิตไปอยู่ในภพอะไรก็มีความทุกข์ทั้งสิ้น
กระทั่งภพของพรหม
ถ้าภาวนาเป็นดี ๆ จะรู้เลย
จิตไปเข้าฌานก็ยังเป็นภพอันหนึ่ง
ยังเป็นทุกข์อันหนึ่ง แต่มันละเอียด
คนส่วนใหญ่ไม่สามารถเห็นได้
หรือเวลาจิตมันมีความสุข
มีความเบิกบานด้วยศีลด้วยธรรม
มันอยู่ในภพของเทวดา
ถ้าเรามีสติมีปัญญาเราจะรู้มันทุกข์อีก
มันก็ยังมีความแปรปรวน มีความไม่แน่นอน
มันดีอยู่ได้ มันก็ดีชั่วครั้งชั่วคราว
อย่างเป็นพรหมก็สงบชั่วครั้งชั่วคราว เป็นเทวดา
มันก็มีความสุขจากคุณงามความดีชั่วครั้งชั่วคราว
เดี๋ยวมันก็หมดไป ทุกสิ่งที่เกิดมาไม่ว่าจะดีแค่ไหน
ก็ของชั่วคราวทั้งหมดเลย
"ภพภูมิใดก็มีแต่ทุกข์ทั้งนั้น"
ฉะนั้นถ้าเราภาวนาเราจะเห็นภพทั้งหมด ทุกข์
ไม่ว่าจิตจะไปเสวยภพอะไรก็ทุกข์ทั้งหมดเลย
เราค่อยๆ ภาวนาไป อาศัยช่วงของโควิด
เราออกไปเที่ยวไม่ได้
ถ้าเราชำนาญในการพิจารณาร่างกาย
เราก็เที่ยวอยู่ในร่างกาย
ไม่ให้จิตหนีออกจากกาย
ถ้าจิตเที่ยวอยู่ในร่างกายนี้ คอยรู้สึกอยู่ในกายนี้
กิเลสชั่วหยาบทั้งหลายเกิดไม่ได้
มันมีสติเที่ยวอยู่ในกาย
แล้วถ้าปัญญามันเกิดมันจะเห็นว่ากายนี้ว่างเปล่า
กายนี้ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ของเรา
จิตที่ไปรู้กาย เที่ยวอยู่ในกาย สงบ สะอาด สว่าง สบาย
จิตที่ดีเที่ยวอยู่ในกายนี้มีความสุข
ฉะนั้นเราพิจารณาเที่ยวอยู่ในกาย มีความสุข
ฉะนั้นดูจิตดูใจ เห็นจิตเที่ยวไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย
เห็นจิตสร้างภพน้อยภพใหญ่ทางใจ
เห็นแต่ทุกข์ ภาวนาแล้วก็จะรู้แจ้งแทงตลอด
ความเกิดมีขึ้นครั้งใด ความทุกข์มีขึ้นเมื่อนั้น
ความเกิดเกิดขึ้นเมื่อใด ความทุกข์เกิดขึ้นเมื่อนั้น
ก็เกิดดี เกิดเลว หมุนเวียนอยู่ในจิตเรานี่ล่ะ
เห็นอย่างนี้ต่อไปจิตมันก็รู้ว่า
ภพทั้งหลายเอาเป็นที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้
หรืออย่างถ้าเราดูกายมา
เราไปเกิดในภพที่มีกายก็ยังมีทุกข์อีก มันรู้
ฉะนั้นไม่ว่าจะไปเกิดที่ไหน
มีกายมีจิตอยู่ก็ยังมีทุกข์อยู่ ... "
.
หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม
7 สิงหาคม 2564
ติดตามการถอดไฟล์ฉบับเต็มจาก :
เยี่ยมชม
dhamma.com
ท่องเที่ยวอยู่ในกายในใจ
คอยรู้สึกอยู่ในกายนี้ กิเลสชั่วหยาบทั้งหลายเกิดไม่ได้ มันมีสติเที่ยวอยู่ในกาย ดูจิตดูใจ เห็นจิตสร้างภพน้อยภพใหญ่ทางใจ แล้วจะรู้แจ้งแทงตลอด
ขอบคุณรูปภาพจาก : Unsplash
5 บันทึก
16
13
9
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ธรรมะเพื่อความพ้นทุกข์
5
16
13
9
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย