10 ต.ค. 2021 เวลา 02:00 • ไลฟ์สไตล์
ชวนรู้จัก เมนูขนมหวานสัญชาติฝรั่งเศส ที่เราเห็นกันจนชินตา แต่จำไม่ได้ว่าชื่ออะไร ?
ต้องบอกว่าขนมหวานหลาย ๆ อย่างที่กำเนิดจากประเทศฝรั่งเศสเนี่ย ใกล้ตัวพวกเรามากกว่าที่คิด แต่ในหลาย ๆ ครั้ง ที่เราทาน ที่เราเรียกว่า
- แยมโรลช็อกโกแลตขอนไม้ (ที่ Starbucks ชอบนำมาขายช่วงเทศกาล)
- เครปอะไรก็ไม่แน่ใจเป็นเครปรสส้ม ๆ หน่อย
- ขนมพัฟที่เป็นชั้น ๆ กรอบที่มีครีมแทรกอยู่
เกริ่นมาแบบนี้
แน่นอนว่า วันนี้พวกเรา InfoStory ขอพาเพื่อน ๆ มาพักผ่อนสมองกันกับ “เมนูขนมหวานสัญชาติฝรั่งเศส” ที่เราเห็นกันจนชินตา แต่จำไม่ได้ว่ามีชื่อว่าอะไร ?
จะมีอะไรบ้าง ไปรับชมภาพอินโฟกราฟิกสุดสบายตากันได้เช่นเคย 😊
สำหรับเพื่อน ๆ ที่อยากอ่านเรื่องราวความเป็นมาเพลิน ๆ ในบางเมนูขนมหวานสัญชาติฝรั่งเศส ก็เชิญทางนี้ได้เลยจ้า !
เริ่มกันที่ เรื่องของราวของ “Crêpes Suzette” เมนูขนมหวานที่เกิดมาจากความผิดพลาดต่อหน้าเจ้าชายแห่งเวลส์ จากอังกฤษ
เมนูเครปอันนี้ ว่ากันว่าเกิดขึ้นประมาณ ปีค.ศ.1895
ซึ่งเกิดมาจากความไม่ตั้งใจของเชฟอองรี (Henri Charpentier)
ในขณะนั้นเชฟยังคงเป็นแค่เด็กพนักงานเสิร์ฟวัย 14 ปี ที่ร้าน Café de Paris ที่เมืองมอนติคาร์โล (ของราชรัฐโมนาโกโมนาโก)
ซึ่งในเวลานั้นเอง ที่ร้านอาหารก็ได้ต้อนรับแขกสุด VIP ท่านหนึ่ง
นั่นคือ “เจ้าชายแห่งเวลส์” (ซึ่งต่อมาคือพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร)
เจ้าชายแห่งเวลส์กำลังใช้เวลาในการท่องเที่ยวพักผ่อนกับหญิงสาวคนรักที่มีนามว่า “ซูเซตต์ (Suzette)”
เด็กหนุ่มอองรี เป็นผู้ที่ต้องทำการเสิร์ฟอาหารในมื้อสุดพิเศษนี้พอดี
ในระหว่างการจัดเตรียมอาหารเพื่อเสิร์ฟนั้น มือเจ้ากรรมดันพลาดไปอุ่นขนมหวานที่มีส่วนผสมของเหล้ารสส้มอยู่ มันจึงเกิดไฟลุกไหม้บนแป้งแพนเค้กสุดบางจานนี้
แต่ว่าด้วยคอนเซปต์ The show must go on ก็คือ เด็กหนุ่มอองรีเลยต้องนำของหวานที่ติดไฟนี้ มาเสิร์ฟให้กับเจ้าชายแห่งเวลส์
ผลปรากฎว่าเจ้าชายนั้น พอพระทัยเป็นอย่างมาก
ถึงกับถามหาที่มาของเมนูนี้ อีกครั้ง
ซึ่งเด็กหนุ่มอองรี ก็คือหัวไวมาก ตอบว่า เมนูนี้ผมทำขึ้นมาพิเศษสำหรับถวายเจ้าชาย มีชื่อว่า “เครป โอ แพรงซ์ (Crepe au Prince) หรือ “เครปของเจ้าชาย”
แต่เจ้าชายกลับต้องการเอาใจหญิงสาวที่มาทานมื้อค่ำด้วยกัน
จึงได้ขอเปลี่ยนชื่อเรียกตามชื่อของเธอ นั่นคือ “เครปซูเซตต์ (Crêpes Suzette)” นั่นเองจ้า
จากเรื่องราวนี้ ก็ได้กำเนิด เมนู Crêpes Suzette (เครปซูเซตต์) ที่
โดยจะนิยมใช้เหล้า Grand Marnier ซึ่งเป็นเหล้าหวานมีส่วนผสมหลักคือ เหล้าบรั่นดี ผิวส้มคูราโซ่ นํ้าผึ้ง
เพื่อที่จะได้ทำการเสิร์ฟโดยจุดไฟเผาก่อนที่รับประทาน ซึ่งเป็นไฮไลท์ของเมนูนี้เลย
(แอบไปอ่านมาว่า สำหรับคนที่ไม่ต้องการทานแบบที่มีส่วนผสมของเหล้า ก็สามารถใช้ส้มผสมกับน้ำตาลหรือน้ำส้มแทนก็ได้เช่นกัน เพียงแต่หนึ่งในเสน่ห์ของเมนูนี้คือการจุดไฟ)
เชฟอองรี (Henri Charpentier)
ตอนแรกที่เราเห็นชื่อเชฟอองรีคนนี้ (Henri Charpentier) ก็ทำให้เราคุ้นชื่ออยู่เบา ๆ
นึกพร้อมค้นหาไปเบา ๆ ก็พบว่า อ้ออ ! เออมันเป็นชื่อเดียวกันกับร้านขนมฝรั่งเศสที่กำเนิดในประเทศญี่ปุ่น (แต่ไม่แน่ใจว่า จะมีเพื่อน ๆ ท่านไหนรู้จักกันบ้างไหมนะ แห่ะ ๆ )
ขอเสริมอีกนิดสำหรับเรื่องนี้ คือ พอพูดถึงเรื่องเครปแล้ว
เพื่อน ๆ ทราบไหมว่า ที่ประเทศฝรั่งเศสเอง ก็มี “วันแห่งการทานเครป” ด้วยนะ !
แต่จริง ๆ จะเรียกว่าวันแห่งการทานเครปไหม..?
ก็คงไม่เชิงเสียทีเดียว
โดยวันที่ 2 กุมภาพันธ์ เรียกว่า Le Chandeleur หรือ Candlemas
ซึ่งวันนี้มันเป็นวันสำคัญวันหนึ่งทางศาสนา ของชาวคริสต์(คาทอลิก) ในฝรั่งเศส เพื่อรำลึกถึงพระแม่มารีและพระบุตร (พระเยซู) และเป็นการส่งต่อความโชคดีให้กับเพื่อนบ้าน โดยชาวฝรั่งเศสจะทำการเฉลิมฉลอง ด้วยการทานเครป หลากหลายชนิด
เอ้ะ...แล้วทำไมเขาต้องทานเครปกันละ ?
เพราะชาวคาทอลิกฝรั่งเศส เชื่อว่า “เครป” มีรูปทรงกลม ที่สื่อถึงพระอาทิตย์ ที่เป็นต้นกำเนิดแห่งชีวิตและพระเจ้า และเป็นสัญลักษณ์ของความเจริญรุ่งเรือง
โดยจะต้องกระทำภายใน หลังวันคริสต์มาส 40 วัน ซึ่งจะเป็นช่วงเวลาหลังเก็บเกี่ยวระหว่างกลางฤดูหนาว และการแบ่งปันขนมเครปทรงกลมพับนี้ ก็จะเป็นการแบ่งความโชคดีในการเก็บเกี่ยวผลผลิตในฤดูใบไม้ผลินั่นเอง
พอพูดถึงเมนูอาหารที่เกิดจากความไม่ตั้งใจ หรือ ความผิดพลาดแล้ว
ก็อดนึกถึงอีกหนึ่งเมนูไม่ได้ นั่นคือ
“Tarte Tatin” อีกหนึ่งเมนูทาร์ตแอปเปิ้ลสุดอร่อย ที่เกิดมาจากความผิดพลาด
Tarte Tatin
เรื่องราวนี้เกิดขึ้นในช่วงปี 1900 ที่โรงแรมตาแตง (Hotel Tatin) ในเมือง Lamotte-Beuvron
ซึ่งเจ้าของโรงแรมนี้ คือคู่พี่น้อง Stéphanie และ Caroline Tatin
มีอยู่วันหนึ่ง Stéphanie กำลังทำพายแอปเปิลแบบต้นตำรับอยู่
แต่แล้ว เรื่องราวความผลิดพลาดก็เกิดขึ้น เมื่อเธอเผลอเคี่ยวแอปเปิลสำหรับทำพาย ในน้ำตาลและเนยนานจนเกินไป มันก็เลยไหม้จ้า
Stéphanie จึงต้องการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า โดยเธอได้ทำการเอาแป้งพายมาโปะทับเพิ่มเข้าไป แล้วนำไปเข้าเตาอบพอสุกแล้ว ก็นำจับมาคว่ำลงบนถาด กลายเป็นทาร์ตหน้าคว่ำ
ต่อมาลูกค้าที่ได้ทานเมนูนี้ในโรงแรมของพวกเธอ ก็เกิดชอบใจจนบอกต่อ ๆ กัน
นั่นจึงทำให้โรงแรมของเธอมีลูกค้าที่เยอะขึ้นในทันที เพราะพวกเขาเหล่านั้น ต้องการมาทานทาร์ตหน้าคว่ำอย่าง “Tarte Tatin”
(แต่ปัจจุบันไม่เรียกว่าหน้าคว่ำแล้วนะ)
แต่ก็ใช่ว่า ความผิดพลาดจะนำมาซึ่งเมนูใหม่ ๆ เสมอไป…
พวกเรามองว่า กรณีของTarte Tatin หรือ Crêpes Suzette มันเป็นความผิดพลาดในความโชคดีและจากไหวพริบ เสียมากกว่าเนอะ
(อย่าไปลองทำผิดพลาดกันละ แห่ะ ๆ มันอาจไม่ได้สร้างเมนูใหม่นะะ)
Hotel Tatin โรงแรมต้นกำเนิดของขนม Tarte Tatin
ปิดท้ายด้วยเกร็ดความรู้ ที่น่าสนใจ
เพื่อน ๆ ทราบไหมว่า Éclair กับ Profiterole (choux à la crème) มันไม่เหมือนเสียทีเดียวนะ ?
ต่อเนื่องมาจากภาพอินโฟกราฟิก
Profiterole หรือ “ชูครีม” มาจากคำว่า “ชูซ์-Choux” มีความหมายว่า “กะหล่ำปลี” ส่วน"ครีม-Cream" นั้นแปลตรงตัว
ส่วนทางฝั่งของชาวอังกฤษและชาวอเมริกัน เขาจะเรียกกันว่า ครีมพัฟ (Cream Puff)
Profiterole (choux à la crème)
ในขณะที่ เอแคลร์ (Éclair) ว่ากันว่ามีต้นกำเนิดมาจาก "Marie-Antoine Carême" พ่อครัวชาวฝรั่งเศสที่มีชื่อเสียงแห่งศตวรรษที่ 19 โดยเขาจงใจให้ลักษณะของเจ้าเอแคลร์ นั่นสอดคล้องกับความหมาย คือมีลักษณะขนาดที่เป็นแท่งยาว
แต่ต้องบอกว่า จุดที่เหมือนกันเพียงอย่างเดียวคือ ทั้งชูครีม (Choux Cream) และ เอแคลร์ (Éclair) ต่างใช้วัตถุดิบหลักคือ แป้งชูซ์ ชนิดเดียวกันนั่นเองจ้า
Éclair
ถ้าหยั่งงั้น วันนี้พวกเรา InfoStory ก็ขออนุญาตจบเรื่องราวสบายสมองไว้เพียงเท่านี้ ขอให้เพื่อน ๆ มีความสุขและความอร่อยกันในวันหยุดวันอาทิตย์กนัอย่างเช่นเคย 😋
แหล่งอ้างอิงเพิ่มเติม
- หนังสือ “ตำนานอาหารโลก” โดยคุณพลอยแสง เอกญาติ
โฆษณา