Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
A WAY OF LIFE : ทางผ่าน
•
ติดตาม
21 ก.ย. 2021 เวลา 12:02 • ปรัชญา
"จิตตั้งมั่นและเป็นกลาง"
" ... ในทุกๆ เรื่องทุกๆ สถานการณ์จะมีจิตเป็นคนรู้
อย่างเราโกรธขึ้นมาคนที่ไม่เคยฝึก
มันจะรู้สึกว่า เราโกรธ
หรืออย่างคนแย่กว่านั้นโกรธแล้วไม่รู้หรอก
มัวแต่สนใจคนที่ทำให้เราโกรธ
อันนี้คือคนที่ไม่ได้ปฏิบัติ
ถ้าคนปฏิบัตินิดหน่อยเวลาโกรธขึ้นมา
มันจะเห็นมันกำลังโกรธอยู่
แล้วถ้าเราภาวนาเก่งขึ้นเราจะเห็นว่า
ความโกรธกับจิตเป็นคนละอันกัน
1
จิตไม่เคยโกรธเลย จิตเป็นคนรู้ว่าตอนนี้กำลังโกรธ
เราค่อย ๆ แยก ๆ เข้าไป เรียกว่าแยกขันธ์
แยกขันธ์คือแยกกายออกเป็นส่วนหนึ่ง
แยกความรู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ออกไปส่วนหนึ่ง
แยกกุศลแยกอกุศลออกไปเป็นอีกคนละส่วน ๆ
ความโลภก็ส่วนหนึ่ง ความโกรธก็ส่วนหนึ่ง
ความหลงก็ส่วนหนึ่ง มันเป็นคนละอันกัน
ความโลภกับความโกรธก็คนละอัน
ความสุขกับความทุกข์ก็คนละอัน
1
แต่ทุก ๆ อันนั้นเป็นของถูกรู้ถูกดู
ร่างกายก็ไม่ใช่ความสุขความทุกข์
ร่างกายเป็นอีกอันหนึ่ง
ร่างกายไม่ใช่ความโลภ ความโกรธ ความหลง
ร่างกายไม่เคยโลภ ไม่เคยโกรธ ไม่เคยหลง
เพราะร่างกายเป็นแค่วัตถุ เป็นก้อนธาตุ เป็นวัตถุ
วัตถุโกรธไม่เป็น อย่างต้นไม้โกรธไม่เป็น
ก้อนหินโกรธไม่เป็น
ร่างกายเรานี้พอจิตเราตั้งมั่นขึ้นมา
เราจะรู้สึกมันเหมือนต้นไม้ต้นหนึ่งเอง
ต้นไม้ต้นนี้โกรธไม่เป็น
แต่ต้นไม้นี้แก่ได้ ผุพังได้ ตายได้
แต่มันไม่ใช่ตัวเรา มันไม่ใช่ของเรา
เราจะค่อย ๆ ฝึกจิตมันตั้งมั่นขึ้นมา
เป็นคนรู้คนดูแล้ว มันจะเห็นเลย
เวลาเราสติรู้ลงในร่างกาย
มันจะเห็นร่างกายเป็นของถูกรู้ ร่างกายไม่ใช่ตัวเรา
ร่างกายมันก็เหมือนต้นไม้ต้นหนึ่งเท่านั้นเอง
อยู่ได้ชั่วคราวไม่นานก็ตายไป
2
ความรู้สึกสุข ความรู้สึกทุกข์เกิดขึ้น จิตเป็นคนรู้
มันก็จะเห็นความรู้สึกสุขทุกข์ไม่ใช่ตัวเรา
เป็นของถูกรู้ถูกดู เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า ไม่ใช่จิตด้วย
จิตเป็นแค่คนรู้
เพราะฉะนั้นเวลาความสุขเกิดขึ้น
มันไม่ใช่จิตสุข มันไม่ใช่เราสุข
มันจะแค่ความสุขมันเกิดขึ้น
ตั้งอยู่ชั่วคราวแล้วมันก็ดับไป
ถ้าภาวนามาไม่ถึงตรงนี้
เวลาไม่มีความสุขก็อยากได้ความสุข
เวลามีความสุขแล้วก็อยากให้ความสุขอยู่นาน ๆ
เวลาความสุขดับไปก็เสียดาย
แต่ถ้าเราเป็นคนดูจริง ๆ
เราจะเห็นความสุขมันมาแล้วมันก็ไป
มันมาทำหน้าที่ของความสุข
ให้ร่างกาย ให้จิตใจมีความสุขชั่วครั้งชั่วคราว
แล้วมันก็หมดหน้าที่มันก็ดับไป
ความทุกข์ก็เหมือนกัน
มันก็ผ่านมาชั่วคราว แล้วมันก็ดับไป
กุศลอกุศลทั้งหลายมันก็เหมือนกัน
ความโกรธมันก็ทำหน้าที่ของความโกรธ
มากระตุ้นให้เราบ้าคลั่ง
ความโลภมันก็มาทำหน้าที่ของความโลภ
มากระตุ้นให้เราอยากโน้นอยากนี้
ความหลงมันก็ทำหน้าที่ของความหลง
ทำให้เราลืมกายลืมใจของตัวเอง
กิเลสมันก็ทำหน้าที่ของมัน ไม่ต้องไปเกลียดมัน
มันทำหน้าที่ของมัน แต่มันเป็นหน้าที่ฝ่ายชั่วของมัน
1
คนชั่วก็ทำหน้าที่ฝ่ายชั่ว คนดีก็ทำหน้าที่ฝ่ายดี
ต่างคนต่างทำหน้าที่ไป แต่ใจเราเป็นคนกลาง
ใจที่เป็นผู้รู้ผู้ดู มันเป็นกลาง
1
เพราะฉะนั้นเวลาความสุขเกิดขึ้นใจไม่หลงยินดี
ใจฉลาด ใจรู้ว่าความสุขอยู่ชั่วคราวไม่นานก็หายไป
เพราะฉะนั้นมันหายไป ใจก็ไม่เสียอกเสียใจอะไร
ใจเป็นกลาง
เวลาความทุกข์เกิดขึ้นใจเป็นผู้รู้ผู้ดู ใจเป็นกลาง
ใจก็ไม่ทุรนทุรายเกลียดชังความทุกข์
เป็นกลางกับความทุกข์
ความทุกข์ทำหน้าที่ของมันพอสมควรแล้วมันก็ดับไป
ใจเราก็ยังมีความสุขอยู่อย่างนั้น
เป็นอิสระ ไม่ถูกปนเปื้อน ไม่ถูกย้อมด้วยความสุข
ด้วยความทุกข์ ด้วยความดี ด้วยความชั่ว
สุขหรือทุกข์ ดีหรือชั่ว
เสมอกันหมดด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง
ถ้าจิตเราไม่ตั้งมั่น จิตเราไม่เป็นกลาง
สุขมันดีกว่าทุกข์ ดีมันก็ดีกว่าชั่ว
พอมันมี 2 อย่างที่ไม่เสมอกัน จิตมันก็เริ่มอยาก
มันก็อยากได้ความสุข อยากให้พ้นจากความทุกข์
อยากได้ความดี อยากให้พ้นจากความชั่ว
ถ้าจิตไม่มีความเป็นกลาง
จิตจะมีความอยากเกิดขึ้นทันทีเลย
1
ฝึกจนเห็นความจริง
ถ้าเราฝึกไปเรื่อย ๆ จนเราเห็นความจริง
สุขเกิดแล้วดับ ทุกข์เกิดแล้วดับ
ดีเกิดแล้วดับ ชั่วเกิดแล้วดับ
จิตเราเป็นคนดูที่เสมอกันในทุก ๆ สถานการณ์
จิตก็จะไม่มีความอยากเกิดขึ้น
เมื่อจิตเราไม่มีความอยากจิตจะไม่มีความทุกข์
อันนี้เป็นกฎของธรรมะเลย
ท่านถึงบอกว่า ตัวความอยากหรือตัวตัณหาเป็นสมุทัย
เป็นตัวที่ทำให้จิตมีความทุกข์
ที่จิตมีความอยากได้เพราะจิตไม่เป็นกลาง
จิตชอบอย่างหนึ่ง จิตเกลียดอย่างหนึ่ง
อย่างชอบความสุขเกลียดความทุกข์
ชอบความดีเกลียดความชั่ว
ทั้ง ๆ ที่ความสุข ความทุกข์ ความดี ความชั่วนั้น
มันเป็นอนัตตา เราสั่งมันไม่ได้
เราสั่งจิตเราให้มีแต่ความสุขไม่ได้
เราห้ามจิตว่าอย่ามีความทุกข์ไม่ได้
เราสั่งจิตว่าจงมีความดีตลอดสั่งไม่ได้
สั่งจิตว่าอย่าชั่วเราก็สั่งไม่ได้
ถ้าเรามีสติมีปัญญาเรียนรู้ลงมาเห็นความจริง
สุข ทุกข์ ดี ชั่ว ล้วนแต่บังคับไม่ได้ ควบคุมไม่ได้
เป็นสิ่งที่ผ่านมาแล้วผ่านไป จิตจะเป็นกลาง
เพราะฉะนั้นเรามีจิตตั้งมั่น
ด้วยการรู้ทันเวลาจิตมันไม่ตั้งมั่นคือมันไหลไป
จิตก็ตั้งมั่น
แล้วเราก็ดูสภาวะทั้งหลายไป
จนกระทั่งเราเห็นความจริง
สุขมาแล้วก็ดับ ทุกข์มาแล้วก็ดับ
ดีมาแล้วก็ดับ ชั่วมาแล้วก็ดับ
จิตก็จะเป็นกลาง
พอจิตเป็นกลางเพราะจิตเห็นความจริง
จิตตั้งมั่นเพราะจิตรู้ทันความไม่ตั้งมั่น
คือการที่จิตไหลไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ไหลไปอดีต ไหลไปอนาคต ไหลไปทางสิ่งโน้นสิ่งนี้
ตรงที่เรารู้ทันจิตที่ไหลไปไหลมา จิตจะตั้งมั่น
แล้วตรงที่เราเห็นบ่อย ๆ ว่าทุกอย่างที่ผ่านมาให้จิตรู้
เกิดแล้วก็ดับ ไม่ใช่ตัวจิต
สุขไม่ใช่จิต เป็นสิ่งที่ผ่านมาแล้วก็ดับ
ทุกข์ก็ไม่ใช่จิต เป็นสิ่งที่ผ่านมาแล้วก็ดับ
กุศลก็ไม่ใช่จิต เป็นสิ่งที่ผ่านมาแล้วก็ดับ
โลภ โกรธ หลงไม่ใช่จิต เป็นสิ่งที่ผ่านมาแล้วก็ดับ
เราจะเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเป็นอย่างนี้
ในที่สุดจิตมันจะเป็นกลาง
เวลาสุขเกิด จิตก็ไม่ดีใจ จิตก็เป็นกลาง
ก็เสพความสุขไป แต่ว่าเป็นกลาง
ความสุขหมดกำลังมันก็ดับไป
เราก็ไม่เสียดายไม่คร่ำครวญ ... "
.
หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม
27 สิงหาคม 2564
ติดตามการถอดไฟล์บรรบายฉบับเต็มจาก :
dhamma.com
การปฏิบัติธรรมคือการลงทุนกับชีวิต
ธรรมะนี้ให้ประโยชน์ ให้ความสุขกับเรามากที่สุด เป็นความยั่งยืนในชีวิตเรา ถ้าเราลงมือปฏิบัติแล้วอยู่กับเราตลอดชีวิต ตายไปไปเกิดอีกก็ภาวนาง่าย
ขอบคุณรูปภาพจาก : Unsplash
15 บันทึก
20
6
13
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ธรรมะเพื่อความพ้นทุกข์
15
20
6
13
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย