23 ก.ย. 2021 เวลา 06:09 • ไลฟ์สไตล์
ส่องโลกของ "ช็อกโกแลต (Chocolate)"
ช็อกโกแลต (Chocolate) เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในขนมหวานสุดโปรดของพวกเรา เรียกได้ว่าทานแทบจะทุกวันเลยละ ! (รวมถึงขนมหมีที่อยู่ในมือพวกเราตอนนี้ด้วยนะ)
เพราะทานเปล่า ๆ ก็สุดแสนอร่อย หรือนำไปทำเป็นส่วนประกอบของเบเกอรี่หรือเค้ก หรือว่าจะใส่ลงไปในกาแฟ ก็ดีเยี่ยม
ระหว่างที่ทานไป ก็ดันเกิดคำถามขึ้นมาว่า เอ้อ… เจ้าช็อกโกแลตนี่มันมีต้นกำเนิดมาอย่างไรนะ ?
ถ้างั้นวันนี้พวกเรา InfoStory ขอถือโอกาสพาเพื่อน ๆ ไปส่องโลกของช็อกโกแลตกันเลยละกัน
สำหรับเพื่อน ๆ ที่อยากอ่านเพิ่มเติม พวกเราขอเล่าเรื่องสั้น ๆ เกี่ยวกับความเป็นมาของช็อกโกแลตกันสักนิด
เชิญอ่านกันได้เลย
เรื่องราวนี้ ก็ต้องเริ่มด้วยจุดกำเนิดจากการค้นพบเมล็ดโกโก้ จนกลายมาเป็นช็อกโกแลต
ซึ่งหากเดาจากที่มาของชื่อ “Chocolate” ก็พอจะเดาเรื่องราวออก
"Chocol" ของชาวมายาที่แปลว่า "ร้อน"
"atl" ของชาวแอซเทค แปลว่า "น้ำ"
ประสมรวมกันจึงเป็นคำว่า "Chocolatl” ก่อนที่จะกลายมาเป็น “Chocolate” ตามชื่อเรียกภาษาอังกฤษ นั่นเอง
ใช่แล้วละ ! ตามความหมายของชื่อ เราก็จะเห็นการพูดถึงชาวมายากับชาวแอซเทคอยู่เนอะ
นั่นก็เพราะว่า ช็อกโกแลตว่ากันว่าถูกค้นพบมาตั้งแต่ 2,000 ปีที่ผ่านมา
หรือประมาณช่วงปี ค.ศ. 500 ที่ชาวมายาได้ค้นพบผลผลิตที่ได้จากเมล็ดของต้นคาเคา (cacao หรือ Kakaw) และนำมันมาคั่วพร้อมบดกันจนเป็นเนื้อเหนียว และชาวมายาก็ได้เรียกว่า “Kakau” ซึ่งเป็นที่มาของชื่อโกโก้
(แต่ตามบันทึกเขาเล่าว่า ชาวมายาจะชงเป็นเครื่องดื่มโกโก้พร้อมผสมเครื่องเทศหรือพริกด้วยนะ)
ซึ่งถ้าเราคุ้น ๆ กับวิธีการทำก็จะมีความคล้ายนั่นก็คือขั้นตอนการผลิตช็อกโกแลต นั่นเองจ้า
ภาพวาดจำลองของชาวมายาและโกโก้
แต่จริง ๆ เท่าที่เราอ่านมา ชาวมายาเขาก็ใส่พริกและพริกไทยลงไปเลย ไม่ได้ตกแต่งเป็นแบบนี้นะ
จนกระทั่งมาถึงในยุคของอารยธรรมแอซเท็ก ที่ยังคงนิยมเอาเมล็ดคาเคามาบดแล้วผสมกับเครื่องปรุงแบบชาวมายา แต่เพิ่มเติมด้วยการนำเมล็ดคาเคานี้มาใช้เป็นครื่องบรรณาการกันอีกด้วยละ
ทีนี้ มาในฝั่งของอียิปต์หลังสมัยพระนางคลีโอพัตรา ก็ได้มีบันทึกที่เกี่ยวกับเมล็ดโกโก้ว่า "อาหารแห่งทวยเทพ" ซึ่งก็ผ่านมาจากการบอกเล่าของชาวมายา อีกด้วยเช่นกันนะ
โอโห โดดเด่นขนาดนี้ แน่นอนว่าไม่รอดชาวนักล่าอาณานิคมแน่นอน...
แล้วก็จริง ๆ ด้วย เพราะต่อมาราวคริสต์ศตวรรษที่ 15-16 นักล่าอาณานิคมของสเปน ที่ได้บุกรุกเข้ามายังทั้งสองอาณาจักร ได้รู้จักกับเจ้าเครื่องดื่มที่มีรสชาติประหลาดแต่อร่อยนี้
ทว่า...มันยังมีความขมเยอะไปนิดนึง ชาวสเปนจึงได้ลองเติมน้ำตาลเพื่อเพิ่มความสมดุลของรสชาติ จนกลายเป็นเครื่องดื่มโกโก้ที่ได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลายในชาติยุโรป
นั่นรวมไปถึงการนำต้นคาเคากลับมาปลูกในยุโรปอีกด้วยเช่นกัน
จนกระทั่งในช่วงยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม (ประมาณศตวรรษที่ 18) การผลิตช็อกโกแลตจากเมล็ดคาเคาก็ได้เริ่มแพร่หลายเป็นวงกว้างด้วยราคาที่ถูกลง (ไม่ใช่นิยมแค่เฉพาะชนชั้นสูงแล้ว)
และในช่วงศตวรรษที่ 19 ที่กรรมวิธีการผลิตและแปรรูปเมล็ดโกโก้เป็นช็อกโกแลตแท่ง หรือนำไปเป็นส่วนประกอบสำคัญของเมนูต่าง ๆ รวมไปถึงคาเฟ่ช็อกโกแลตที่เกิดขึ้นอย่างมากมายเลยละ
อย่าง Milk Chocolate ก็กำเนิดประมาณช่วงนี้
ช็อกโกแลตแท่งหรือบรรจุใส่กระป๋องก็เริ่มมาในช่วงศตวรรษที่ 19
จนมาถึงยุค Cafe&Commercial ในศตวรรษที่ 20
ถึงตรงนี้ พวกเราก็ขอจบเรื่องราวสาระสบายสมองไว้ที่ตรงนี้ แล้วขอตัวไปจิบโกโก้เย็นของอินทนิล ก่อนนะ 😉
แหล่งอ้างอิงเพิ่มเติม
หนังสือ "Food & Drink Infographic" โดย Simone Kablin
หนังสือ "Sceince of Cooking" โดย Stuart Farrimond
โฆษณา