Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
A WAY OF LIFE : ทางผ่าน
•
ติดตาม
15 ต.ค. 2021 เวลา 03:00 • ปรัชญา
"กฎ 3 ข้อของการดูจิต"
5
1) สภาวะเกิดขึ้นแล้วค่อยรู้อย่างกระชั้นชิด ไม่ต้องเที่ยวแสวงหา
2) ระหว่างที่เห็นสภาวะ เห็นแบบคนวงนอก ไม่จมลงไป
สมาธิต้องพอ จิตต้องมีความตั้งมั่น
3) เมื่อรู้แล้วอย่าเข้าไปแทรกแซง ให้จบที่รู้
รู้สักว่ารู้ รู้แล้วไม่เข้าไปแทรกแซงด้วยความยินดี ด้วยความยินร้ายทั้งหลาย
ถ้าหลงยินดี หลงยินร้าย ให้รู้ทัน จิตจะเป็นกลาง
พิจารณาเห็นความเป็นไตรลักษณ์
1
…
1
" ... การดูจิตดูใจมีกฎข้อแรกเลย
ก็คือให้สภาวธรรมเกิดขึ้นแล้วค่อยรู้ ไม่ต้องเที่ยวหา
บางคนดูจิตเที่ยวส่าย หลับตาด้วย ดู ส่ายจะดูตัวไหนดี
จิต หาจิตไม่เจอหรอก
หลวงปู่ดูลย์ท่านเคยสอนว่า
“ใช้จิตแสวงหาจิต อีกกัปหนึ่งก็ไม่เจอ”
1
ฉะนั้นไม่ต้องไปเที่ยวหา
ให้ความรู้สึกมันเกิดแล้วค่อยรู้เอา
โกรธขึ้นมาแล้วค่อยรู้ว่าโกรธ
ไม่ต้องไปหาว่าเอ๊ะตอนนี้โกรธ หรือโลภ หรือหลง
ตอนนี้สุข หรือทุกข์
ให้มันสุขขึ้นมาแล้วค่อยรู้
ให้มันทุกข์ขึ้นมาแล้วค่อยรู้ไป
ตามรู้อย่างกระชั้นชิดไป
1
ถ้าเมื่อวานโกรธวันนี้รู้นี่ใช้ไม่ได้ ห่างไป
ต้องตามแบบกระชั้นชิดเลย
โกรธแล้วก็รู้ โลภแล้วก็รู้
ฉะนั้นกฎข้อแรกเลยของการดูจิตดูใจก็คือ
มีสภาวะเกิดขึ้นแล้วค่อยรู้เอา ไม่ต้องเที่ยวแสวงหา
กฎของการดูจิตข้อที่สองก็คือ
ระหว่างที่เห็นสภาวะ เราเห็นแบบคนวงนอก
เราไม่จมลงไปในสิ่งที่จิตไปรู้ไปเห็นเข้า
อย่างความสุขเกิดขึ้น เราไปเห็นความสุข
บางทีจิตมันจมลงไปในความสุข อันนั้นใช้ไม่ได้แล้ว
จิตไม่ตั้งมั่น ทำไมจิตมันชอบจมลงไป
เพราะสมาธิมันไม่พอ
อย่างมันเห็นความสุขเกิดขึ้นไปดูความสุข
จิตก็ไหลเข้าไปอยู่ในความสุข
อันนี้เพราะสมาธิไม่พอจิตไม่ตั้งมั่น
ถ้าจิตตั้งมั่นอยู่มันจะเห็น
ความสุขเป็นสิ่งหนึ่ง จิตที่รู้ความสุขเป็นอีกสิ่งหนึ่ง
ดูแบบคนวงนอก ไม่เข้าไปคลุกวงใน
กฎข้อหนึ่งให้สภาวะเกิดแล้วค่อยรู้
กฎข้อสองระหว่างรู้ รู้แบบคนวงนอก
กฎข้อที่สาม เมื่อรู้แล้วอย่าเข้าไปแทรกแซง
รู้แล้วจบลงที่รู้ ไม่ต้องแทรกแซง
แต่อย่างจิตมันมีความสุข เราไปรู้ว่าจิตมีความสุข
จิตเกิดยินดีพอใจอยากรักษาความสุขอยู่นาน ๆ
อันนี้เราพลาดจากการดูจิตแล้ว
หลงไปตามความสุขแล้ว
หรือจิตเกิดความทุกข์ อยากให้มันหายไปเร็ว ๆ
นี่เราพลาดแล้ว
กฎข้อที่สามก็คือ รู้สักว่ารู้
รู้แล้วไม่เข้าไปแทรกแซง ด้วยความยินดี
ด้วยความยินร้ายทั้งหลาย
ถ้าจิตมันเกิดยินดี จิตมันเกิดยินร้ายให้รู้ทัน
รู้ทันความยินดียินร้าย ความยินดียินร้ายก็ดับ
จิตก็เป็นกลาง รู้ด้วยความเป็นกลาง
รู้แล้วก็ไม่เข้าไปแทรกแซง กฎของการดูจิตข้อสาม
ข้อหนึ่ง ให้สภาวะเกิดขึ้นก่อนแล้วค่อยรู้ว่ามีสภาวะเกิด
ข้อสอง ระหว่างดูสภาวะไม่ถลำลงไปดู ดูแบบคนวงนอก
ข้อสาม เมื่อรู้สภาวะแล้วจิตหลงยินดีให้รู้ทัน
จิตหลงยินร้ายให้รู้ทัน จิตก็เป็นกลาง
ไม่ยินดี ไม่ยินร้ายกับสภาวะ
สุขหรือทุกข์ก็เท่าเทียมกันด้วยความเป็นไตรลักษณ์
ดีหรือชั่วก็เท่าเทียมกันด้วยความเป็นไตรลักษณ์
เราจะเห็นถึงไตรลักษณ์
หลักของการดูจิต ไม่ใช่ดู ๆ ไปเรื่อย ๆ เหลวไหล
ส่วนมากดูจิตบางทีไปเพ่งจิตให้ว่าง ๆ
ไม่มีปัญญาอะไรขึ้นมาหรอก
ดูก็ดูให้เห็นไตรลักษณ์ถึงจะใช้ได้
เวลาดูจิต ๆ ไปถึงจุดหนึ่งจิตมันหมดกำลัง
อย่างเราเห็นจิตสุข ทีแรกจิตยังมีกำลังของสมาธิอยู่
มันเห็นว่าความสุขเป็นสิ่งหนึ่ง จิตเป็นสิ่งหนึ่ง
พอสมาธิเราเสื่อมจิตหมดแรง
จิตมันจะไหลเข้าไปในความสุข
จมลงไปในความสุข
ยินดีพอใจอยู่ในความสุขแล้วไม่รู้ไม่เห็น
แช่อยู่อย่างนั้น สมาธิไม่พอแล้ว จิตไม่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู
ฉะนั้นถึงเราจะดูจิตทั้ง ๆ ที่ว่า จิตตานุปัสสนานี้
เหมาะกับพวกทิฏฐิจริต
เหมาะกับพวกเจ้าความคิดเจ้าความเห็น
แต่ไม่ว่าจะดูกายหรือดูจิตก็ทิ้งสมาธิไม่ได้
เพียงแต่การดูกายนั้นเข้าฌานได้ก่อนถึงจะดี
การดูจิตมันเหมาะสำหรับคนยุคนี้
คนในเมือง มีแต่เรื่องวุ่นวายทั้งวัน เข้าฌานไม่เป็น
เข้าฌานไม่เป็นไม่เป็นไร
ฝึกทุกวันหายใจเข้าพุท หายใจออกโธ
อะไรก็ได้ฝึกไปเรื่อย จิตสงบก็รู้ จิตฟุ้งซ่านก็รู้
มันก็ได้สมาธิพอนิดหน่อย
จิตพอจะดูสภาวะทั้งหลาย
ว่าสภาวะทั้งหลายกับจิตเป็นคนละอันกัน
สุข ทุกข์ ดี ชั่วทั้งหลาย ไม่ใช่จิต
เป็นสิ่งที่จิตไปรู้ไปเห็น
ถ้ามันแยกได้มันเป็นคนละอัน
แสดงว่าสมาธิมันยังพออยู่
ตรงที่มันแยกขันธ์ได้ เรียกว่ามันเจริญปัญญาขั้นต้นแล้ว
เป็นปัญญาขั้นแรก
2
แล้วต่อไปเห็นขันธ์แสดงไตรลักษณ์อันนั้นขึ้นวิปัสสนา
ปัญญาขั้นต้น ๆ ก็ต้องอาศัยสมาธิ
เพราะในคัมภีร์สอนเอาไว้ว่า
“สัมมาสมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา”
จะเป็นปัญญาระดับปัญญาธรรมดา
หรือเป็นวิปัสสนาปัญญา ก็ต้องอาศัยสมาธิ
ฉะนั้นอย่างไรเราก็ทิ้งสมาธิไม่ได้
พยายามฝึกทุกวัน หายใจเข้าพุท หายใจออกโธก็ได้
หรือดูร่างกายมันยืน ร่างกายเดิน ร่างกายนั่ง
ร่างกายนอนก็ได้
ร่างกายเคลื่อนไหว ร่างกายหยุดนิ่งก็ได้
มันได้สมาธิทั้งนั้น
ท่อง พุทโธเฉย ๆ ก็ได้ ท่องสัมมาอรหังก็ได้
นะ มะ พะ ทะ อะไรก็ได้
สวดมนต์บทสั้น ๆ อะไรสักอย่างก็ได้
ไม่มีอะไรดี ไม่มีอะไรเลวกว่ากัน เหมือน ๆ กันหมด
ถ้าเรารู้หลักของการปฏิบัติแล้ว
ไม่ใช่สายไหนดีกว่าสายไหนหรอก
มันทำให้มีสมาธิขึ้นมา
ถ้าจะเดินทางกายต้องทำฌาน
ทำสมาธิจนกระทั่งจิตเป็นผู้รู้เด่นดวง
ไม่คิด ไม่นึก ไม่ปรุง ไม่แต่งเลย
ยิ่งภาวนาจนโลกธาตุดับ เหลือแต่จิตดวงเดียวได้ยิ่งดี
ร่างกายหายไปเลย ความคิดไม่มี
พอจิตถอนออกจากสมาธิตรงนี้ปุ๊บ
ระลึกรู้ร่างกาย
จะเห็นเลยร่างกายกับจิตเป็นคนละอันกัน
ระลึกรู้ความสุข ความทุกข์ที่เกิดขึ้นก็เห็น
ความสุข ความทุกข์ กับจิตเป็นคนละอันกัน
กาย เวทนา เหมาะกับคนเล่นฌาน
แต่ถ้าเป็นเวทนาทางใจ อย่างที่หลวงพ่อเล่าให้เราฟัง
อันนั้นไม่ต้องเข้าฌานหรอก ดูซื่อ ๆ ไป
ที่จริงครูบาอาจารย์ที่ท่านมีสติ มีปัญญามาก
ท่านมองการณ์ไกล นอกจากหลวงปู่ดูลย์แล้ว
ก็ยังมีองค์อื่นท่านก็มี
ท่านก็สอนให้มีสติดูจิตตัวเองไปอะไรอย่างนี้
แต่กระแสการดูจิตมันสู้กระแสการดูกายไม่ได้
มันหายไป
กระทั่งในสำนักที่ครูบาอาจารย์ท่านสอนให้ดูจิต ๆ
สุดท้ายหายไปหมด เหลือแต่เรื่องกาย
เพราะกายมันของหยาบ
มันดูแล้วแหมมันรู้สึกสนุก โฉ่งฉ่างดี
เช่นดูร่างกายแล้วดูทะลุลงไปเห็นโครงกระดูกอะไรอย่างนี้
แหมมันสนุก ดูลงไปร่างกายระเบิดเปรี้ยง แหมสนุก
ดูจิตไม่เห็นมีอะไร ไม่มีอะไรสนุกมากมาย
1
2
ฉะนั้นดูจิต ๆ เข้าใจยากเหมือนกัน มันนามธรรม
แต่มันจำเป็น
ครูบาอาจารย์ผู้หลักผู้ใหญ่รุ่นเก่าหลายองค์
ท่านบอกเลยต่อไปคนในเมืองต้องดูจิต
บางองค์ท่านบอก
อย่างสอนพวกฝรั่งจะไปสอนพุทโธพิจารณากาย
เขาไม่ค่อยเอาหรอก เขาคิดว่าเขาปัญญาเยอะอยู่แล้ว
พวกปัญญาเยอะ พวกช่างคิดให้ดูจิตไปเลย
ท่านสอนอย่างนี้ ไม่เฉพาะหลวงปู่ดูลย์หรอก
ครูบาอาจารย์อื่นก็สอน
แต่คำสอนอย่างนี้มันสูญหายไป
การดูจิตเลยกลายเป็นเรื่องประหลาด
หลวงพ่อพูดเรื่องดูจิต ๆ คนประหลาด
หลัง ๆ ก็มีคนสอนดูจิตเยอะแยะขึ้นมา
เพราะว่าดูจิตมันบูม แต่มันดูอะไรก็ไม่รู้เหมือนกัน
ไม่ใช่การรู้จิตในกฎ 3 ข้อที่หลวงพ่อบอกนั่นหรอก
มันไม่ใช่การดูจิตจริง ๆ หรอก อย่างอื่นมั่ว
บางทีดูไป ๆ เพ่งๆๆ จนเครียดสุดขีด
จิตนี่พอเราเค้นมันสุดขีดมันสลบไปเลย
มันหมดความรู้สึก มันวูบหมดความรู้สึกไป
เค้นมันมาก บังคับมันมาก ทำให้มันเครียดจัด ๆ
ร่างกายเวลาเจ็บหนัก ๆ มันก็สลบไป
ตัดความรับรู้ทางร่างกาย
จิตนะทำให้มันเครียดหนัก ๆ
มันก็ตัดความรู้ทางจิตเหมือนกัน มันสลบเหมือนกัน
พอจิตมันสลบไปเรียกเป็นพรหมลูกฟัก
มีแต่ร่างกายนอนแน่นิ่งอยู่ หรือนั่งแน่นิ่งอยู่
ไม่มีความรู้สึก ดูจิตอย่างนี้ใช้ไม่ได้
ไปเค้นจนกระทั่งจิตมันเครียด จนกระทั่งมันดับ
ถ้าจิตดับจะภาวนาได้ไหม ไม่ได้
บางทีเข้าใจผิดว่าจิตดับคือ จิตเกิดมรรคผล
ดับวูบหมดความรู้สึก มันไม่ใช่จิตเกิดมรรคผล
อันนั้นไม่มีจิต เรียกว่าพรหมลูกฟัก อสัญญสัตตา
ฉะนั้นเวลาบรรลุมรรคผลต้องมีจิต
ตอนบรรลุอริยมรรค เขาเรียกมรรคจิต มีมรรคจิต
ตอนบรรลุอริยผล มีผลจิต มรรคจิต ผลจิต
รวม ๆ กันได้ตั้ง 40 อย่าง เยอะแยะ
...
เราไม่ต้องเรียนเยอะ เรียนนิด ๆ หน่อย ๆ
ย่อลงมาก็มีมรรค 4 ผล 4
ที่มันเยอะขึ้นมาเพราะเอาเรื่องฌานไปประกอบ
บางทีตอนบรรลุพระโสดาบัน
เข้าฌานได้ 1 2 3 4 5 อะไรอย่างนี้
เข้าฌานก็เลยมี 5 ขึ้นมา 5 คูณ 4 เท่ากับ 20
อริยมรรค มรรคจิตมี 20 ชนิด ผลจิตก็มี 20 ชนิด
อันนั้นเยอะเกินวุ่นวาย ไม่ต้องรู้ก็ได้ ไม่สำคัญ
พยายามรู้สึกตัว ดูการทำงานของเขาไป
ไม่ไปทำให้เขาเครียดจนเขาสลบ
จิต ให้เขาทำงานไป
แล้วก็ไม่ใช่ลืมเนื้อลืมตัวฟุ้งไป
หลงไปอยู่ในความว่างอะไรอย่างนี้ ใช้ไม่ได้
รู้สึกไปสบาย ๆ ธรรมดา
สรุปก็คือ การดูจิตดูใจ จิตตรง ๆ เราดูไม่ได้
เราดูผ่านนามกาย รูปร่างของจิต
ดูผ่านเวทนา ความรู้สึกสุข ความรู้สึกทุกข์
ความรู้สึกเฉย ๆ ที่เกิดกับจิต
จะเห็นจิตสุขก็อันหนึ่ง จิตทุกข์ก็อันหนึ่ง
จิตเฉย ๆ ก็อันหนึ่ง เป็นคนละอัน
แต่ละอันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
1
หรือดูจิตโลภ จิตไม่โลภ
จิตโกรธ จิตไม่โกรธ
จิตหลง จิตไม่หลง ดูไปเรื่อย
ก็เห็นจิตทุกชนิดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
อย่างนี้ใช้ได้
หรือเราเห็นว่าจิตนี้เราบังคับไม่ได้หรอก
เดี๋ยวก็ไปดูรูป เดี๋ยวก็ไปฟังเสียง เดี๋ยวก็ไปดมกลิ่น
เดี๋ยวไปลิ้มรส เดี๋ยวไปรู้สัมผัสทางกาย
เดี๋ยวไปคิดนึกทางใจ
จิตที่ไปดูรูปเกิดแล้วก็ดับ นี่ไม่เที่ยง
จิตจะดูรูปหรือไม่ดูรูป เราสั่งไม่ได้ นี่อนัตตา
แต่ละอัน ๆ ก็ดูไปอย่างนี้
เห็นไตรลักษณ์ถึงจะใช้ได้ ถึงจะเรียกว่าดูจิตเป็น ... "
.
หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม
2 ตุลาคม 2564
ติดตามการถอดไฟล์บรรยายฉบับเต็มจาก :
เยี่ยมชม
dhamma.com
การดูจิต
หลักของการดูจิต ไม่ใช่ดูๆ ไปเรื่อยๆ เหลวไหลส่วนมากดูจิตบางทีไปเพ่งจิตให้ว่างๆ ไม่มีปัญญาอะไรขึ้นมาหรอกดูก็ดูให้เห็นไตรลักษณ์ถึงจะใช้ได้
Photo by : Unsplash
18 บันทึก
21
16
13
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ธรรมะเพื่อความพ้นทุกข์
18
21
16
13
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย