Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
A WAY OF LIFE : ทางผ่าน
•
ติดตาม
22 พ.ย. 2021 เวลา 11:03 • ปรัชญา
"ความจริงคืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา"
2
" ... ความสวยของคนหนึ่ง
กับความสวยของคนหนึ่งก็ไม่เหมือนกันใช่ไหม
ผู้หญิงคนเดียวกัน
ผู้ชายคนหนึ่งว่าสวย คนหนึ่งว่าไม่สวย
ฉะนั้นสวยไม่สวย สะอาดไม่สะอาด ไม่ใช่ความจริงแท้
บางคน เราดูหน้าตาพิลึก มีคนเขาชอบ
เขาบอกอย่างนี้สวยของเขา
อย่างนี้เรียกว่ามันเป็นเรื่องบัญญัติ ไม่ใช่เรื่องจริง
แต่ความจริงคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
อย่างร่างกาย เล่าให้เราฟังแล้ว
เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
จิตใจนี้ก็เหมือนกัน เวลาเราภาวนาเข้ามาที่จิตใจ
อย่าเอาแต่ความสงบอยู่เฉยๆ
ถ้าภาวนาแล้วก็สงบ นิ่ง ว่าง สบายอยู่อย่างนั้น
ติดอยู่ในความสุข คล้ายๆ เราติดอยู่ในสิ่งซึ่งเป็น สุภะ
ในสิ่งที่ดีที่งาม เพลิดเพลินไป มันยังไม่ใช่ความจริง
เพราะมันยังแปรปรวนได้ สงบได้ เดี๋ยวก็ฟุ้งซ่านได้
มีสุขได้ เดี๋ยวก็มีทุกข์ได้อีก
เราก็ดูความจริงของจิตใจ
ความจริงของจิตใจก็คือ
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาเหมือนกัน
จิตใจเป็น อนิจจัง อย่างไร
จิตใจสุขอยู่ชั่วคราว แล้วก็ดับ
จิตใจทุกข์อยู่ชั่วคราวแล้วก็ดับ
จิตเป็นกุศลอยู่ชั่วคราวแล้วก็ดับ
จิตโลภ โกรธ หลงอยู่ชั่วคราวแล้วก็ดับ
เฝ้าดูของจริงไป เฝ้ารู้เฝ้าดูไป
เห็นแต่ของเกิดแล้วดับ อย่างนี้เรียกเห็นอนิจจัง
1
แล้วเห็นจิตถูกบีบคั้น จิตที่ถูกบีบคั้น
จะเห็นเฉพาะคนที่ทรงสมาธิ
คนที่ไม่ได้ทรงฌานอะไรอย่างนี้จิตมันเกิดดับรวดเร็ว
ยังไม่ทันจะถูกบีบคั้นมันดับไปเสียก่อนแล้ว
มันเกิดดับๆ ไปรวดเร็วมาก
แต่จิตที่ของคนทรงฌาน พอเข้าสมาธิ
มีปีติ มีความสุข มีอุเบกขาอะไรนี่
ทรงอยู่ได้นาน บางทีอยู่ตั้งหลายวัน
เข้าสมาธิอยู่จิตสงบสบาย มีความสุขอย่างนี้
จะไปดูให้เห็นทุกขังดูยากสำหรับคนทั่วไป
สำหรับคนทรงฌานดูได้ มันจะเห็นว่า
พอจิตเราเข้าถึงฌานสงบ
มันกำลังถูกบีบคั้นให้ออกจากฌาน
มันถูกบีบคั้นให้ถอยๆๆ ออกมา
เข้าไปถึงฌานที่ 8 เดี๋ยวมันก็ถูกบีบคั้นให้ถอยๆ
ลงมาเรื่อยๆ จนมาถึงฌานที่ 1 แล้วหลุดออกมาเลย
บางทีลงมาถึงฌาน 4 ก็กระเด็นหลุดออกมาเลยก็มี
เพราะฉะนั้นคนที่จะเห็นทุกขังของจิตได้ว่า
จิตนี้จิตที่เป็นปฐมฌาน
ถูกบีบคั้นให้แตกสลายอย่างนี้
ก็ต้องเป็นคนที่ได้ปฐมฌาน
จิตของคนที่ได้ฌาน 2 ถูกบีบคั้น
ให้สูญเสียความเป็นฌาน 2 ไป
ต้องได้ฌานมันจะเห็นทุกขังง่าย
เพราะฉะนั้นคนที่ท่านบรรลุพระอรหันต์ท่านหลุดพ้น
ถ้าเป็นพวกที่ทรงฌาน
ส่วนใหญ่จะหลุดพ้นด้วยการเห็นทุกข์
เห็นความถูกบีบคั้น อย่างจิตมันทรงฌาน
แหม มันมีแต่ความสุข ถ้าบุญบารมีพอ
กำลังทรงฌาน มีความสุขมีความสงบ
อยู่ๆ จิตมันพลิกตัวทีเดียว จากความสุขความสงบ
กลายเป็นความทุกข์ที่มหาศาล
เฝ้ารู้เฝ้าดูไป ในที่สุดก็รู้เลย
จิตมันทุกข์จริงๆ
ในโลกนี้ไม่มีอะไรทุกข์เท่าตัวจิตผู้รู้นี่ล่ะ
ตัวทุกข์ที่สุด หัวโจกของทุกข์อยู่ตรงนี้เลย
1
ถ้าภาวนาทรงฌาน เวลาหลุดพ้น
มักจะหลุดพ้นด้วยการเห็นทุกข์
ถ้าเป็นพวกปัญญาแก่กล้า มักจะเห็นสุญญตา เห็นอนัตตา
เพราะฉะนั้นจะเห็นอนิจจังก็ได้ เห็นทุกขัง เห็นอนัตตาก็ได้
เวลาภาวนา ถ้าดูจิตใจก็เห็นจิตใจไม่เที่ยง เกิดดับๆ ไป
แต่ถ้าเราไม่ได้ทรงฌาน เราก็เห็นจิตนี้เป็นอนัตตา
เห็นอนิจจัง เห็นอนัตตา ทุกขังเว้นไว้ก่อน
ทุกขังเอาไว้ให้พวกที่เขาเล่นฌานเขาดูกัน
อย่างจิตเราเป็นอนิจจัง
เช่น สุขแล้วก็ดับ ทุกข์แล้วก็ดับ เป็นอนัตตา
ในแง่ที่ว่าเราสั่งให้มันสุขไม่ได้
สั่งว่าจงมีความสุขเกิดขึ้น สั่งไม่ได้
สั่งว่าความสุขจงอยู่นานๆ สั่งไม่ได้
สั่งว่าความทุกข์ จงอย่าเกิดขึ้น สั่งไม่ได้
ความทุกข์เกิดแล้ว สั่งให้ดับทันที สั่งไม่ได้
มันไม่อยู่ในอำนาจบังคับ
สั่งจิตว่าอย่าโลภ อย่าโกรธ อย่าหลง สั่งไม่ได้
สั่งว่าจิตจงดีตลอด สั่งไม่ได้
ตรงที่เห็นว่าสั่งไม่ได้ ควบคุมไม่ได้ บังคับไม่ได้
เขาเรียกว่าเห็นอนัตตา
ฉะนั้นถ้าเราดูจิตดูใจโดยที่เราไม่ได้ฌาน
แนะนำให้ดูอนิจจัง อนัตตาไป
แต่ถ้าเราเข้าสมาธิเก่งชำนิชำนาญ
เวลามันจะปล่อยวางจะต้องเห็นทุกข์
เพราะว่าจิตนี้ แหม มันบรมสุขเลย
จิตที่ทรงสมาธิอยู่ มีความสุขเยอะ
ให้ปล่อยวางไม่ใช่เรื่องง่าย
แต่ว่าปัญญาแก่กล้า เห็นว่าจิตนั้นคือตัวทุกข์
ทุกข์ที่สุดเลย ทุกข์ยิ่งกว่าทุกสิ่งทุกอย่าง
จิตถึงจะยอมวาง
เพราะฉะนั้นเวลาบรรลุมรรคผลนิพพาน
ท่านถึงจำแนกไว้ 3 ชนิด
บางท่านบรรลุด้วยการเห็นความเกิดดับ
เห็นอนิจจัง เรียกว่า อนิมิตตวิโมกข์
ไม่มีเครื่องหมาย ไม่มีอะไรที่จะสังเกต
เกิดแล้วหายไปหมดเลย
1
บางท่านบรรลุด้วยอัปปณิหิตวิโมกข์
ด้วยการเห็นทุกข์ อันนี้สำหรับผู้ทรงฌาน
ไม่ได้ทรงฌาน ไม่เห็นหรอก
เพราะว่าจิตเกิดแล้วดับปั๊บเลย
ยังไม่ทันดูว่ามันถูกบีบคั้นหรอก
1
แล้วก็พวกที่ปัญญากล้า
เขาจะหลุดพ้นด้วยสุญญตวิโมกข์
เห็นสุญญตา เห็นอนัตตา
แต่ละคนก็มีลีลาของตัวเอง ... "
1
.
หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม
14 พฤศจิกายน 2564
ติดตามการถอดไฟล์บรรยายฉบับเต็มจาก :
เยี่ยมชม
dhamma.com
เรามีสิทธิ์เลือกความสุขของตัวเอง
เรามีอิสระที่จะทำกรรม เราพอใจที่จะหาความสุขอย่างโลกๆ ก็หาไปเถอะ หลวงพ่อไม่ว่าอะไรหรอก หลวงพ่อแค่บอกว่า มันมีความสุขที่เหนือกว่านี้อีก
8 บันทึก
13
6
4
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ธรรมะเพื่อความพ้นทุกข์
8
13
6
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย