21 ธ.ค. 2021 เวลา 05:14 • ปรัชญา
"ไม่มีใครทำจิตให้บรรลุมรรคผลได้ ต้องจำไว้เลย"
" … จิตผู้รู้ก็คือจิตชนิดที่เป็นกุศล
คือมีสติอยู่ ไม่ได้เจตนาให้มี มีเอง
มีความตั้งมั่นพร้อมที่จะเจริญปัญญา
คือพร้อมที่จะทำงาน
เห็นสภาวะทั้งหลายเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปได้ นั่นจิตที่ดี
1
จิตผู้รู้ที่ดี ไม่ได้เจตนาให้เกิด
ถ้าเป็นจิตผู้รู้ที่เจตนาทำให้เกิดขึ้นมา
มีกำลังอ่อน ดีไหม ก็ดีเหมือนกัน
แต่กำลังอ่อน เกินกว่าจะเจริญปัญญาจริง
1
ถ้าพูดอย่างอภิธรรม จิตผู้รู้
สิ่งที่หลวงพ่อเรียกว่าจิตผู้รู้ๆ
มันคือมหากุศลจิตญาณสัมปยุต
คือประกอบด้วยปัญญา เดินปัญญาได้
มหากุศลจิตญาณสัมปยุตอสังขาริกัง
ไม่เจตนาให้เกิด เราจงใจทำให้เกิด ยังไม่ใช่จิตที่ดีจริง
1
พอเราเห็นจิตมันเคลื่อนแล้วรู้ๆ
ต่อไปมันจะรู้ จิตผู้รู้ก็ไม่เที่ยง เดี๋ยวก็เคลื่อนไป
เกิดแล้วก็ดับเหมือนกัน จิตที่หลงไปทางตาก็ไม่เที่ยง
ทันทีที่เรารู้ว่าจิตหลงไปทางตา
จิตที่หลงทางตาก็ดับ เกิดจิตผู้รู้ขึ้นแทน
พอจิตมันหลงไปทางหู ไปฟังเสียง
เรามีสติรู้ทัน จิตมันหลงไปทางหู
จิตหลงไปทางหูก็ดับ เกิดจิตผู้รู้ขึ้นมาแทน
ทางทวารทั้ง 6 มันเป็นอย่างนี้
1
เราจะเห็น จิตมันเกิดดับสลับกันไป
เดี๋ยวก็เป็นจิตที่ส่งไปทางทวารทั้ง 6
เดี๋ยวก็เป็นจิตผู้รู้ขึ้นมาตรงนี้ปัญญามันจะเกิด
จะเห็นว่าจิตผู้รู้ก็ไม่เที่ยง
จิตผู้หลง ไม่ว่าจะหลงชนิดไหน ก็ไม่เที่ยง เฝ้ารู้เฝ้าดู
1
ฝึกให้มาก สุดท้ายอริยมรรคเกิดเอง
มันก็จะเห็นไตรลักษณ์ของจิตมีปัญญาเกิดขึ้น
ถ้าเราฝึกได้ การปฏิบัติเราจะสั้นนิดเดียว
ไม่มีอะไรมากเลย ไม่ต้องคิดอะไรเยอะเลย
จิตเคลื่อนแล้วรู้ๆ ไป
ได้ทั้งสติ ได้ทั้งศีล ได้ทั้งสมาธิ ได้ทั้งปัญญา
ทำให้ชำนิชำนาญมากๆ เข้า
สุดท้ายวิมุตติมันก็เกิดขึ้น เกิดมรรคเกิดผลขึ้น
4
ไม่มีใครทำจิตให้บรรลุมรรคผลได้ ต้องจำไว้เลย
เพราะฉะนั้นอย่าพยายาม ยิ่งพยายามยิ่งไม่บรรลุ
หน้าที่มีสติรู้สภาวะไปด้วยจิตที่ตั้งมั่นเป็นกลางนี่ล่ะ
กำลังของศีล ของสมาธิ ของปัญญา มันสมบูรณ์ขึ้นมา
อริยมรรคก็เกิดเอง เราสั่งอริยมรรคให้เกิดไม่ได้
เพราะเราสั่งศีล สมาธิ ปัญญา ก็ไม่ได้เหมือนกัน
1
อย่างเราฝึกสติให้มากๆๆ ศีล สมาธิ ปัญญา
มันอัตโนมัติขึ้นมา กำลังมันพอ อริยมรรคก็เกิด
เกิดเอง ไม่ได้จงใจให้เกิด
2
คนที่เคยเกิดอริยมรรคแล้ว 1 ครั้ง 2 ครั้งอะไรอย่างนี้
บางคนสติปัญญามันแก่กล้า
มันเห็นกระบวนการที่จิตเกิดอริยมรรค
มันเห็นมีช็อตๆๆๆ ขึ้นไป
มีทั้งหมด 7 ช็อต ที่มันเกิดขึ้น
4
บางคนเห็น ส่วนใหญ่ไม่เห็น
ส่วนใหญ่เวลาเกิดอริยมรรคก็เกิดฟึบ ขาดไปแล้ว
ไม่ทันรู้เลยมันขาด
ลีลาแห่งการขาดมันเป็นอย่างไร ไม่ทัน
4
ถ้าจิตทรงฌานชำนิชำนาญถึงจะเห็น
ถ้าจิตไม่ทรงสมาธิอย่างชำนิชำนาญจะไม่เห็น
ขาดไปเฉยๆ ที่จริงไม่ได้มีใครขาดเฉยๆ หรอก
ก็ผ่านกระบวนการเหมือนกันล่ะ แต่ไม่เห็น
1
ฝึกให้มาก ฝึกรู้สภาวะไป
จิตไหลแล้วรู้ๆ ฝึก สุดท้ายมรรคผลมันก็เกิด
พอมรรคผลมันเกิด เราจะเห็นนิพพาน
ตัวนี้ฟังภาษาให้ดี นิพพานไม่มีเกิด
อริยมรรค อริยผล เป็นโลกุตตระที่เกิดแล้วก็ดับ
นิพพานเป็นโลกุตตระชนิดเดียวที่ไม่เกิดแล้วก็ไม่ดับ
1
ฉะนั้นโลกุตตระก็มีแบบที่เกิดดับ คืออริยมรรค อริยผล
อริยมรรค 4 ตัว โสดาปัตติมรรค
สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตตมรรค
แล้วผลอีก 4 อย่าง โสดาปัตติผล
สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตตผล
พวกนี้เกิดแล้วดับๆ ไป
1
พอเวลาที่อริยมรรคเกิด อริยผลเกิด จะเห็นนิพพาน
เห็นพระนิพพาน ฉะนั้นเราไม่ได้ไปทำนิพพานให้เกิด
เราพยายามพัฒนาศีล สมาธิ ปัญญาให้เกิด
1
วิธีพัฒนาศีล สมาธิ ปัญญาให้เกิด
คือการเจริญสตินั่นเอง
สติจะเกิดได้ต้องเห็นสภาวะจนกระทั่งจิตจำสภาวะได้แม่น
สภาวะสักอย่างหนึ่งที่เกิดประจำ
สภาวะที่เกิดประจำเยอะแยะไป
1
เช่น ความสุข ความทุกข์อะไรนี่
มันเกิดประจำอยู่ในร่างกาย
ความสุข ความทุกข์ ความเฉยๆ
เกิดประจำอยู่ในจิตใจ
1
กุศล อกุศล พวกนี้ก็เกิดประจำอยู่ในใจเรา
จะเห็น เดี๋ยวก็จิตโลภ เดี๋ยวก็ไม่โลภ
เดี๋ยวโกรธ เดี๋ยวก็ไม่โกรธอะไรนี่
1
แต่ถ้าจะเรียนให้สั้นที่สุด เรียนเข้ามาที่ตัวจิตเลย
จิตรู้กับจิตหลง 2 ตัวนี้ เล่นคู่นี้ได้
มันคล้ายๆ เข้ามาที่รังโจร
จิตผู้รู้ที่เราพัฒนาขึ้นมาอย่างลำบากยากเย็น
ที่จริงคือรังของโจร ซ่องโจร ตัวอวิชชา
มันซ่อนอยู่ในตัวจิตผู้รู้นั่นล่ะ
3
ตอนหลวงพ่อยังไม่ได้บวช
หลวงพ่อเห็นผู้รู้ไม่สะอาด
ตัวผู้รู้สงบ ตัวผู้รู้สว่าง แต่ตัวผู้รู้ไม่สะอาด
จากตัวผู้รู้ซึ่งมีกิเลสซ่อนอยู่ภายใน
สุดท้ายกิเลสมันก็งอกงามขึ้นมา
จิตผู้รู้ก็ตายไป เกิดจิตผู้หลงนานาชนิด
หลงรัก หลงโกรธ หลงโลภอะไรพวกนี้
หลงไปทางตา หู จมูก ลิ้น กายใจ เกิดตัวนี้ขึ้นมา
งอกขึ้นมาออกมาจากตัวจิตผู้รู้นี่ล่ะ
1
ตอนนั้นก็ไปกราบหลวงปู่เทสก์
ตอนนั้นหลวงปู่ดูลย์สิ้นไปแล้ว ไปกราบหลวงปู่เทสก์ว่า
“ผมเห็นจิตที่เป็นต้นกำเนิดทั้งหมดแล้ว
วัฏสงสารทั้งหลาย มันออกไปจากจิตดวงนี้ล่ะ
ผมจะทำลายมันได้อย่างไร
ผมจะทำลายเชื้อเกิดได้อย่างไร”
3
ท่านบอกว่าภาวนาไป มีสติไป มีสติ มีสมาธิ มีปัญญา
ฝึกไป เมื่อมันแก่กล้าแล้ว มันทำลายของมันเอง
3
ฉะนั้นเราภาวนา ครูบาอาจารย์หลายองค์ท่านก็พูดตรงกัน
การดูจิตเป็นการปฏิบัติที่ลัดสั้นที่สุด
ไม่ต้องอ้อมไปที่กาย ไม่ต้องอ้อมไปที่เวทนา
ไม่ต้องอ้อมไปที่จิตตสังขาร ตัดตรงเข้าที่ตัวจิตเลย
1
เราจะเห็นจิตมี 2 อย่างเอง จิตผู้รู้ กับจิตผู้หลง
ถ้าหยาบกว่านั้นหน่อยหนึ่ง
จะเห็นจิตมีราคะ จิตไม่มีราคะ เห็นเป็นคู่อย่างนี้
จิตมีโทสะ จิตไม่มีโทสะ จิตมีโมหะ จิตไม่มีโมหะ
จิตฟุ้งซ่าน จิตหดหู่ จะเห็นอย่างนี้
อันนั้นยังเป็นกิริยาอาการ เป็นความรู้สึก
เป็นจิตตสังขารที่แทรกเข้ามาในตัวจิตอีกทีหนึ่ง
2
ถ้าเราเห็นจิตผู้รู้ได้ จะเห็น
เดี๋ยวก็มีจิตผู้รู้ เดี๋ยวก็มีจิตผู้หลง
หลงฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ทางทวารทั้ง 6 ก็ได้
หลงเพ่งอยู่ทางทวารใจก็ได้
1
เฝ้ารู้เฝ้าดูไป ศีล สมาธิ ปัญญา เราแก่รอบ
มรรคผลเกิดเองล่ะ ไม่ได้ยากอะไรหรอก …"
1
.
หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม
12 ธันวาคม 2564
ติดตามการถอดไฟล์บรรยายฉบับเต็มจาก :

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา