Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
A WAY OF LIFE : ทางผ่าน
•
ติดตาม
22 ธ.ค. 2021 เวลา 08:16 • ไลฟ์สไตล์
"อินทรียสังวร"
" ... อ่านใจตัวเองให้ออก อย่าตกเป็นทาสของกิเลส
ไม่อย่างนั้นเราจะเกิดไม่พอใจ
เราก็จะไปเขียนด่าๆ
กระตุ้นให้คนอื่นมีโทสะตามเราไปด้วย
โทสะของเราก็จะยิ่งแรงขึ้นแล้วมานะอัตตา
กูเก่งๆ กูล่อลวงคนให้ตามกูได้เยอะแยะเลย
เป็นอกุศลทั้งสิ้นเลยที่ตามมา
จิตใจเราจะเสียหาย ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ
กระทั่งการจะไปโพสต์
หรือไปแสดงความรู้สึกอะไรทางอินเทอร์เน็ต
ต้องระมัดระวัง
1
2
ถ้ามีเรามีสติคุ้มครองรักษาจิตอยู่
มีอินทรียสังวร ก็คือมีสติคุ้มครองรักษาจิตอยู่
อกุศลครอบงำจิตไม่ได้ เราก็มีมโนสุจริต
คือใจเราไม่ถูกครอบงำด้วยราคะ โทสะ โมหะ
เรามีวจีสุจริต ไม่พูดหรือไม่เขียนเรื่องโกหก
เรื่องส่อเสียด ยุให้เขาตีกัน
ไม่พูดคำเพ้อเจ้อ ไม่พูดคำหยาบ
ไม่พูดเพ้อเจ้อ ค่อยๆ ดู
ทุกวันนี้ในอินเทอร์เน็ตเต็มไปด้วยคำหยาบ
เต็มไปด้วยความเพ้อเจ้อ เต็มไปด้วยการส่อเสียด
เต็มไปด้วยเฟคนิวส์ ข่าวเท็จ
ถ้าวันๆ เราหมกมุ่นอยู่กับของโกหกมุสาวาททางอินเทอร์เน็ตอยู่
จิตใจเราจะดีเป็นไปไม่ได้เลย
ฉะนั้นห่างๆ มันหน่อย อย่าสนใจมันมาก
สนใจกิเลสตัวเองดีกว่าสนใจว่าใครไปทำอะไร
ดูตัวเองให้ดี ไม่อย่างนั้นจิตใจเราจะหาความสงบสุขไม่ได้
ไม่มีทางพัฒนาต่อไปหรอก
1
“สุจริต 3 ข้อ อาศัยอินทรียสังวรทำให้เกิดขึ้น
พอกายวาจาใจของเราสุจริต
ท่านบอกว่าถ้าฝึกสุจริต 3 ให้มากให้เจริญ
จะทำให้สติปัฏฐาน 4 เจริญ
จะทำให้สติปัฏฐาน 4 บริบูรณ์”
เรามีมโนสุจริต มีวจีสุจริต กายเราก็สุจริต
การกระทำของเราก็จะสุจริต
ไม่ทำบาปอกุศลด้วยร่างกาย
เช่น ไม่ไปทำร้ายคนอื่นสัตว์อื่น ไม่ไปลักขโมยเขา
ไม่ประพฤติผิดในกาม เป็นเรื่องของกายสุจริต
ฉะนั้นกายสุจริตมันก็คือศีล เรามีศีลข้อ 1 ข้อ 2 ข้อ 3
วจีสุจริตก็มีศีลข้อ 4
มโนสุจริตเป็นเรื่องของจิตใจ
จิตใจที่ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง
เราก็จะมีกุศล 10 ข้อ กุศลกรรมบถ 10 อย่าง
ถ้ากุศลเราเต็มไม่ต้องกลัวว่าจะไม่พัฒนาหรอก
ถ้ากุศลเราเว้าๆ แหว่งๆ ไม่พัฒนาหรอก
กุศลกรรมบถ10 ข้อ สุจริต 3 ข้อนี้
แล้วแต่จะเรียกอันเดียวกัน
มันอาศัยอินทรียสังวรทำให้เกิดขึ้น
พอกายวาจาใจของเราสุจริต
ท่านบอกว่าถ้าฝึกสุจริต 3 ให้มากให้เจริญ
จะทำให้สติปัฏฐาน 4 เจริญ
จะทำให้สติปัฏฐาน 4 บริบูรณ์
เพราะฉะนั้นอย่างจะเจริญสติปัฏฐาน 4 ให้บริบูรณ์
นั่งเล่นอินเทอร์เน็ตทั้งวัน
พาจิตแกว่งขึ้นแกว่งลงตลอด
อกุศลเกิดขึ้นมากมายอะไรอย่างนี้
อย่ามาคุยเลยเรื่องจะทำสติปัฏฐานให้บริบูรณ์
แค่รักษาศีลให้รอดยังละยากเลย
เราอย่าเห็นเป็นเรื่องเล็กเรื่องน้อยไม่เป็นไรๆ
ไม่เห็นจะผิดกฎหมาย สิ่งที่ไม่ผิดกฎหมายผิดศีลได้
สิ่งที่ไม่ผิดศีลบางทีผิดธรรมได้
ถ้าเราจะภาวนาเอามรรคผลนิพพานเอาธรรมะ
ต้องสำรวมระวังไม่ผิดศีล ไม่ผิดธรรม
ไม่ผิดศีลก็คือรักษาศีล มีกายสุจริต มีวจีสุจริต
ไม่ให้ผิดธรรมต้องมีมโนสุจริต
ใจเราไม่ถูกโลภ โกรธ หลงครอบงำ
การเจริญสติปัฏฐานจะสมบูรณ์
พระพุทธเจ้าท่านพูดไม่ใช่หลวงพ่อสอน
ท่านบอกถ้าเราทำอินทรียสังวรให้มาก เจริญให้มาก
จะทำให้สุจริต 3 สมบูรณ์
ถ้าเราเจริญสุจริต 3 ให้มาก เจริญให้มาก
จะทำให้สติปัฏฐาน 4 บริบูรณ์ขึ้นมา
ฉะนั้นต้องรักษา คือตัวศีลต้องรักษา
รักษาจิตรักษาใจเราไว้ แล้วก็มาฝึกเจริญ สติปัฏฐาน
การเจริญสติปัฏฐานต้องฝึกแยกขันธ์ให้ได้ก่อน
ฝึกค่อยๆ แยกขันธ์ไป
เราจะเห็นว่าอย่างเราฝึกดูกาย
เราเห็นร่างกายเคลื่อนไหวจิตเป็นคนรู้
จิตกับกายมันแยกออกจากกัน
เราเห็นเวทนาเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป จิตเป็นคนรู้
จิตกับเวทนาก็แยกออกจากกัน
เวทนาเกิดได้ 2 ที่ เวทนาเกิดที่กายกับเวทนาเกิดที่ใจ
หรือสังขารเช่นความโลภ ความโกรธ ความหลงเกิดขึ้น
เราก็เห็น โลภ โกรธ หลง ไม่ใช่จิต
จิตอยู่อีกส่วนหนึ่งเป็นคนรู้โลภ โกรธ หลง
เราแยกขันธ์ไป การที่เราแยกขันธ์ไปเรื่อยๆๆๆ
ต่อไปขันธ์แต่ละขันธ์มันก็จะแยกตัวออกจากกัน
เราจะเห็นรูปก็ส่วนรูป
เวทนาคือความรู้สึกสุขทุกข์ทางกาย
หรือความรู้สึกสุขทุกข์เฉยๆ ทางใจ ก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง
สัญญาความจำได้หมายรู้เป็นอีกส่วนหนึ่ง
สังขารความปรุงดีปรุงชั่วเป็นอีกส่วนหนึ่ง
จิตที่เป็นคนรู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นอีกส่วนหนึ่ง
แล้วก็ยังพบจิตประหลาดอีกตัวหนึ่ง
อย่างจิตเราไปเกิดที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย
หรือหลงไปคิดทางใจ
มันมีจิตชั้นสูงอีกตัวหนึ่ง จิตผู้รู้
เราจะเห็นว่าจิตผู้หลง ผู้คิด ผู้นึก ผู้ปรุง ผู้แต่ง
ผู้ดู ผู้ฟัง ผู้ลิ้มรส ผู้ดมกลิ่น ผู้รู้สัมผัสทางกาย
ก็เป็นคนละอันกับจิตผู้รู้
พอเรามีจิตผู้รู้ได้เราจะเห็นเลยจิตมันจะแยกเป็นส่วนๆ ไป
จิตที่ดูเกิดแล้วดับ จิตที่ดูไม่ใช่จิตผู้รู้
จิตที่ฟังเกิดแล้วก็ดับ จิตที่ฟังไม่ใช่จิตผู้รู้
จิตที่ดมกลิ่นลิ้มรสกระทบอารมณ์ทางกาย
กระทบสัมผัสทางกายก็เป็นอีกส่วน
แต่ละส่วนๆ เป็นของถูกรู้ถูกดู ไม่ใช่จิตผู้รู้อีก
เพราะฉะนั้นตัวจิตเองก็เกิดดับ
ประเดี๋ยวก็เป็นจิตที่ไปดูรูป ประเดี๋ยวก็เป็นจิตผู้รู้
อันนี้สำหรับนักปฏิบัติ เดี๋ยวก็เป็นจิตผู้ไปดูรูป
เดี๋ยวก็เป็นจิตผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นจิตฟังเสียงแล้วก็เป็นจิตผู้รู้
มันจะมีตัวรู้สลับๆๆ ขึ้นมา
พอเรามีสติรู้ทันจิตที่เคลื่อนไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย
หรือเคลื่อนไปคิดทางใจ
จิตที่ไปเกิดดับ ไปเกิดทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันก็จะดับ
แล้วเกิดจิตผู้รู้ขึ้นมาแทน
ฉะนั้นจิตผู้รู้มันคล้ายๆ ฐานที่มั่นของเรา
เราเสียฐานที่มั่นนี้จิตก็ไปทางตา
เสียฐานที่มั่นจิตก็ไปทางหู
แต่เราไม่ต้องรักษาตัวผู้รู้ไว้
เพราะการที่เราจะต้องเห็นรูป ได้ยินเสียง ได้กลิ่น
ได้รส ได้สัมผัสอะไร เป็นเรื่องธรรมชาติที่เราจะต้องทำ
จะมาอยู่กับจิตผู้รู้อย่างเดียวแล้วขับรถไปนี้ตายคาที่เลย
ตายไปด้วยโมหะ ความโง่ ตายไปด้วยความโง่ความหลง
จิตนั้นมันเกิดดับอยู่ทางทวารทั้ง 6
ไม่ต้องไปห้ามมัน แต่ให้รู้ทันมัน
ทันทีที่รู้ทันว่าจิตหลงไปดูแล้ว
จิตหลงไปดูจะดับเกิดจิตที่ตั้งมั่นขึ้นมาแทน
เกิดจิตผู้รู้ขึ้นมาแทน
พอจิตมันหลงไปฟัง เรามีสติรู้ทันว่าจิตหลงไปฟัง
จิตหลงไปฟังมันดับ มันก็เกิดจิตผู้รู้ขึ้นมาแทน
เราจะเห็นจิตเกิดดับ
ถ้าฝึกมาไม่เข้ามาถึงจิตถึงใจ
จะไม่สามารถเห็นได้ว่าจิตเกิดดับได้
อย่างมากก็จะเห็นว่าร่างกายไม่ใช่เรา
สุขทุกข์ดีชั่วไม่ใช่เรา จะเห็นได้แค่นี้
แต่ไม่สามารถเห็นว่าจิตไม่ใช่เราได้
ถ้าไม่สามารถเห็นว่าจิตไม่ใช่เรา
จะบรรลุมรรคผลไม่ได้หรอก
เพราะบรรลุมรรคผลต้องเห็น
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์
ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เห็นทั้งหมดนี้
ทั้งอายตนะภายในภายนอกมันไม่ใช่เรา
ตัวที่เห็นยากที่สุดคือใจนี่เอง
การที่เห็นว่าจิตใจไม่ใช่เราต้องฝึกเยอะเลย
เราเห็นว่าเดี๋ยวจิตผู้รู้เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป กลายเป็นจิตผู้คิด
จิตผู้คิดเกิดแล้วก็ดับไปกลายเป็นจิตผู้เพ่ง
จิตผู้เพ่งเกิดแล้วก็ดับไปมาเป็นผู้รู้อีก
ผู้รู้ดับไป ไปเป็นจิตผู้ดู
เราจะเห็นจิตมันเกิดดับสลับกันไปอย่างนี้
แล้ววันหนึ่งก็จะรู้จิตเองก็ไม่เที่ยง
จิตก็เป็นทุกข์
จิตก็เป็นอนัตตา
จิตจะไปเกิดที่ตาสั่งไม่ได้ห้ามไม่ได้
จิตจะไปเกิดที่หูสั่งไม่ได้ห้ามไม่ได้
จิตจะไปทำงานทางใจก็สั่งไม่ได้ห้ามไม่ได้
ทดลองดูง่ายๆ เลยว่าจริงไหม
เราลองตั้งใจ ตั้งใจให้เด็ดเดี่ยว
เราจะต้องเห็นรูปอะไรสักอย่างหนึ่ง ข้างหน้าเรานี้
เห็นให้เด็ดเดี่ยวลงไป เห็นให้ได้ตลอดเวลา
อย่าให้มันเลือนหายไป ลองดูซิทำได้ไหม
ดูอะไรก็ได้สักอย่างหนึ่งดูนิ้วของเราเองนี้ก็ได้
ดูให้เห็นชัดตลอดเวลาทำได้ไหมลองดู
เราจะเห็นว่าเราบังคับจิตให้รู้รูปตลอดเวลาไม่ได้
จิตที่รู้รูปอยู่แวบเดียวมันก็จะ
นิ้วมือนี้จะเบลอๆ แล้ว เลือนๆ ลางๆ ไปแล้ว
เหลือแต่ความจำ นิ้วมือนี้ ตัวที่เห็นนิ้วมือจริงๆ
เกิดจิตที่ไปดูรูปจริงๆ ไม่มีแล้ว แวบเดียวเท่านั้นเอง
1
ฉะนั้นเราจะสั่งจิตให้รู้รูปตลอดเวลาก็ไม่ได้
สั่งจิตให้สุขตลอดเวลาก็ไม่ได้
สั่งจิตไม่ให้ทุกข์ตลอดเวลาก็ไม่ได้
สั่งจิตให้ดีตลอดเวลาไม่ได้ ห้ามชั่วก็ไม่ได้
สั่งให้เห็นรูปอย่างเดียว
หรือสั่งไม่ให้เห็นรูปก็ทำไม่ได้
สั่งให้ได้ยินเสียงอย่างเดียว
หรือสั่งว่าอย่าได้ยินเสียงก็สั่งไม่ได้
อย่างเสียงที่เราไม่อยากได้ยินบางทีได้ยินชัดเลย
อย่างคนแก่บางทีบางคนหลวงพ่อเคยเจอ
ใครเขาพูดอะไรก็ร้อง “หาๆๆ” ฟังไม่รู้เรื่อง
แต่พูดลูกหลานนินทาได้ยินชัดเลย
จิตมันเป็นอนัตตามันสั่งไม่ได้ควบคุมไม่ได้
พอเราทำอย่างนี้ เรียกว่าเราเจริญสติปัฏฐานอยู่เรื่อยๆ
เรามีจิตตั้งมั่นขึ้นมา แต่อันนี้เราต้องมีสุจริตก่อน
มีศีล แล้วก็จิตใจไม่ถูกโลภะ โทสะ โมหะครอบงำ
แล้วเรามาเจริญสติปัฏฐานมันถึงจะทำได้ดี
ถ้าฝึกให้จิตตั้งมั่น ถ้าจิตถูกโลภะ โทสะ โมหะลากเอาไป
จิตมันก็ไม่ตั้งมั่นก็เท่านั้นเอง
พอจิตมันไม่มีราคะ โทสะ โมหะมาครอบงำ
มันก็ตั้งมั่นอัตโนมัติขึ้นมา
อย่างจิตมันหลงไปคิดเรามีสติรู้ทัน
ตัวหลงคิดมันก็ดับ กิเลสดับแล้ว
ทันทีที่กิเลสดับความฟุ้งซ่านดับ
จิตก็ตั้งมั่นอัตโนมัติเลย
พอจิตมันตั้งมั่นแล้ว ฝึกชำนิชำนาญจิตตั้งมั่นเนืองๆ
แล้วก็เห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
วิญญาณเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
ก็คือเห็นจิตมันเกิดดับทางอายตนะทั้ง 6 นั่นล่ะ
ท่านสอนต่อไปบอกว่าท่านเริ่ม
ถ้าอินทรียสังวรเราทำไว้ให้มากๆ ทำให้เจริญ
จะทำให้สุจริต 3 บริบูรณ์
สุจริต 3 ถ้าเราเจริญให้มาก ทำให้มาก ทำเนืองๆ
จะทำให้สติปัฏฐาน 4 บริบูรณ์ได้
แล้วสติปัฏฐาน 4 ที่บริบูรณ์จะทำให้โพชฌงค์ 7 บริบูรณ์
โพชฌงค์ 7 เป็นองค์ธรรมฝ่ายกุศล
ที่จะพาเราไปสู่มรรคผลนิพพาน
เป็นผลผลิตจากการเจริญสติปัฏฐาน
ถ้าไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน โพชฌงค์ไม่เกิดหรอก
มีสติก็เป็นสติธรรมดาไม่ใช่สติสัมโพชฌงค์
โพชฌงค์เป็นองค์ธรรมที่จะนำเราไปสู่การบรรลุมรรคผล
เลยเรียกว่าโพชฌงค์เป็นองค์ธรรมแห่งการตรัสรู้
อย่างวิริยะขยันภาวนาอะไรอย่างนี้
ก็ยังไม่ถึงขั้นวิริยสัมโพชฌงค์
วิริยสัมโพชฌงค์ผ่านการเจริญสติปัฏฐานอย่างเข้มงวดมาแล้ว
แล้วมันพัฒนาขึ้นมา
ฉะนั้นตัวโพชฌงค์เป็นกุศลที่แก่กล้าขึ้นแล้ว จะนำเราไปสู่การตรัสรู้
สติปัฏฐาน 4 ที่บริบูรณ์จะทำให้โพชฌงค์ 7 บริบูรณ์
โพชฌงค์ 7 เป็นองค์ธรรมฝ่ายกุศลที่จะพาเราไปสู่มรรคผลนิพพาน
เป็นผลผลิตจากการเจริญสติปัฏฐาน
ถ้าไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน โพชฌงค์ไม่เกิด
1
…
เราเจริญสติปัฏฐานให้มาก
ต่อไปสติมันจะพัฒนาไปเป็นสติสัมโพชฌงค์
คือไม่ใช่มีสติเพื่อจะมีสติหรือจะมีสติเพื่อจะเป็นคนดี
แต่มีสติเพื่อลดละกิเลสเพื่อเจริญกุศล
เพื่อไปสู่มรรคผล มุ่งไปที่มรรคผล
ไม่ใช่เพื่อเป็นคนดี เพื่อจะไปสวรรค์ เพื่อไปพรหมโลก
1
มีสติปัฏฐานแล้วมีสติรู้กายรู้ใจไป
เห็นกายเห็นใจมันทำงานไป
ตัวนี้เป็นธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
เรารู้กายรู้ใจไม่ใช่เพื่อเป็นคนดี
ไม่ใช่เพื่อความสุขความเจริญอะไรทั้งสิ้น
แต่ทำไปเพื่อให้เห็นความจริง
พอเห็นความจริงแล้วจิตมันจะคลายความยึดถือ
เกิดมรรคเกิดผล
1
ฉะนั้นที่เราภาวนา
เราเจริญสติปัฏฐานถ้ามันแก่กล้าขึ้นมา
มันจะทำไปเพื่อมรรคผลนิพพาน
ไม่ใช่เพื่อจะอยู่กับโลกอย่างมีความสุข
คนปฏิบัติอย่างมากส่วนใหญ่ชอบคิดแค่ว่า
ภาวนาแล้วจะได้ทุกข์น้อยๆ ทุกข์สั้นๆ แค่นี้พอใจแล้ว
คนที่บุญบารมีมากพอไม่ได้พอใจแค่นี้
ตราบใดที่ยังมีกิเลสก็ยังมีทุกข์
1
ตราบใดยังมีทุกข์ ก็ทนไม่ได้ต้องต่อสู้
ฉะนั้นเจริญสติปัฏฐานไปเรื่อยๆๆๆ
สติสัมโพชฌงค์ก็เกิด
ธัมมวิจยะ คือการวิจัยรูปธรรมนามธรรมมันก็เกิดขึ้น
วิจัยให้เห็นความจริงของมันเป็นไตรลักษณ์
แล้วยิ่งรู้ยิ่งดูจิตมันยิ่งเข้มแข็ง
มันขยันรู้มันขยันดูอัตโนมัติ
ตรงนั้นวิริยสัมโพชฌงค์มันจะเกิด
แล้วปีติอันนี้มันอิ่มเอิบใจขึ้นมาที่ได้ลดละกิเลส
ปีติสัมโพชฌงค์ เป็นไปเพื่อมรรคผลนิพพาน
ปัสสัทธิ ความสงบระงับก็เกิดขึ้น
ความสงบระงับทางกาย ทางวาจา ทางใจ มันเกิดขึ้นมา
สมาธิก็เกิดขึ้นมา จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว เป็นสมาธิอัตโนมัติ
อุเบกขา มันเป็นกลางกับทุกสิ่งทุกอย่าง
ไม่ยินดีไม่ยินร้ายกับทุกสิ่งทุกอย่าง
1
อาศัยการเจริญสติปัฏฐานให้มาก ทำให้มาก ทำให้เจริญ
จะทำให้โพชฌงค์ 7 เจริญ
พอโพชฌงค์ 7 เจริญแล้วมรรคผลต้องเกิด
แล้วเกิดมรรคเกิดผลขึ้นมา
ที่เล่าให้พวกเราฟังวันนี้
หลวงพ่อแจกแจงธรรมะเซ็ตหนึ่ง มันเป็นเซ็ตเลย
เริ่มจากอินทรียสังวร ถ้าอินทรียสังวรดี สุจริต 3 จะเกิด
สุจริต 3 ดี การเจริญสติปัฏฐานจะสมบูรณ์ขึ้นมา
การเจริญสติปัฏฐานที่สมบูรณ์จะทำให้โพชฌงค์ 7 สมบูรณ์ขึ้นมา
แล้วโพชฌงค์ 7 บริบูรณ์ขึ้นมามรรคผลนิพพานก็จะปรากฏ
มรรคผลจะเกิดนิพพานจะปรากฏ นี่มันเป็นเซ็ตหนึ่งเลย
1
พระพุทธเจ้าท่านสอนธรรมะ
บางทีท่านสอนไว้เป็นเซ็ตๆ ไปสังเกตให้ดี
แล้วเป็นเซ็ตสำหรับการปฏิบัติเท่านั้น
ไม่เป็นเซ็ตที่พูดเล่นๆ หรอกไปสังเกตให้ดี
1
กระทั่งการเรียงรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณก็เป็นเซ็ต
จากของหยาบไปสู่ของที่ละเอียด
เราจะเห็นของหยาบ อะไรหยาบ รูปนี้หยาบที่สุด
พอผ่านตัวหยาบตัวแรก
ก็เป็นของที่หยาบน้อยลงคือตัวเวทนา
แล้วก็ค่อยๆ ละเอียดๆ ไป สัญญา สังขาร
ตัวที่ละเอียดที่สุด วิญญาณ
การที่จะรู้เท่าทันจิตที่เกิดดับทางอายตนะทั้ง 6 ละเอียด
1
ฉะนั้นธรรมะของท่านมันเป็นเซ็ตๆ ถ้าเราไปดูให้ดี
หรือบางทีท่านสอน “เพราะเห็นตามความเป็นจริงจึงเบื่อหน่าย
เพราะเบื่อหน่ายจึงคลายความยึดถือ
เพราะคลายความยึดถือจึงหลุดพ้น
เพราะหลุดพ้นจึงรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว”
1
ธรรมะของท่านมันมีขั้นมีตอนเป็นเซ็ตๆ เซ็ตอย่างนี้ๆ
ถ้าไปดูให้ดีแล้วมันจะเป็นเรื่องของเหตุกับผล
ถ้าทำเหตุอย่างนี้จะมีผลอย่างนี้
ทำเหตุอย่างนี้จึงมีผลอย่างนี้
ธรรมะทั้งหลายของพระพุทธเจ้ามีลักษณะอย่างนี้
1
แล้วสิ่งที่เป็นเหตุผลที่ประณีตที่สุดก็คือปฏิจจสมุปบาท
เพราะอวิชชามีอยู่สังขารจึงมีอยู่
เพราะสังขารมีอยู่วิญญาณจึงมีอยู่
เพราะวิญญาณมีอยู่นามรูปจึงมีอยู่
เพราะนามรูปมีอยู่อายตนะจึงมีอยู่
เพราะอายตนะมีอยู่ผัสสะจึงมีอยู่
เพราะผัสสะมีอยู่เวทนาจึงมีอยู่
เพราะเวทนามีอยู่ตัณหาจึงมีอยู่
เพราะตัณหามีอยู่อุปาทานจึงมีอยู่
เพราะอุปาทานมีอยู่ภพจึงมีอยู่
เพราะภพมีอยู่ชาติจึงมีอยู่
เพราะชาติมีอยู่ทุกข์จึงมีอยู่ นี่เป็นเซ็ต
1
...
ธรรมะของพระพุทธเจ้าเป็นเรื่องเหตุกับผล
ฉะนั้นธรรมะของท่านไปดูให้ดีมันจะเป็นเรื่องเหตุกับผล
แล้วบางทีก็เป็นเหตุกับผลที่สืบเนื่องกันไป
เป็นขั้นๆๆ สืบเนื่องกันไป เราค่อยๆ ภาวนาเดี๋ยวเราก็เข้าใจ
หลวงพ่อเข้าใจทั้งหมดที่เล่ามานี้
1
หลวงพ่อเข้าใจเริ่มต้นมาจาก
การฝึกจิตด้วยอินทรียสังวร สำรวมอินทรีย์
สำรวมอินทรีย์ไม่ใช่มีตาไม่ดู มีหูไม่ฟัง มีใจไม่คิด
มีตาก็ดู แต่พอดูแล้วเกิดปฏิกิริยาอะไรขึ้นมา
เกิดสุข เกิดทุกข์ เกิดดี เกิดชั่ว รู้ทัน
สุดท้ายละเอียดเกิดชอบ เกิดไม่ชอบ
ละเอียดขึ้นไปก็อีกรู้ทันมันไป
1
สุดท้ายมันก็เห็นจิตนี้ไม่เที่ยง
จิตนี้เป็นทุกข์
จิตนี้เป็นอนัตตา
เพราะอินทรียสังวรก็คือจิต
เป็นการคุ้มครองดูแลจิต
ที่ไปเกิดดับทางอายตนะทั้ง 6 นั่นเอง ... "
1
.
หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม
10 กรกฎาคม 2564
ติดตามการถอดไฟล์บรรยายฉบับเต็มจาก :
เยี่ยมชม
dhamma.com
ธรรมะเป็นเรื่องของเหตุกับผล
การเจริญสติปัฏฐานที่สมบูรณ์จะทำให้โพชฌงค์ 7 สมบูรณ์ขึ้นมา แล้วโพชฌงค์ 7 บริบูรณ์ขึ้นมา มรรคผลจะเกิดนิพพานจะปรากฏ เป็นเรื่องของเหตุกับผล
Photo by : Unsplash
4 บันทึก
13
4
2
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ธรรมะเพื่อความพ้นทุกข์
4
13
4
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย