9 มี.ค. 2022 เวลา 14:38 • ธุรกิจ
สงครามโลกครั้งที่ 1 สร้างมิติใหม่ หรือ Transformative Experience ที่ทำให้สหรัฐอเมริกาตระหนักถึงศักยภาพในระดับโลก ความกว้างใหญ่ของระบบเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม เริ่มจากจุดเริ่มต้นของความต้องการพื้นฐานที่ J.P.Morgan & Co. ซึ่งเป็น Private Investment Bank ของสหรัฐฯ ได้เป็นตัวแทนของอังกฤษและฝรั่งเศสในการจัดหาวัตถุดิบและอาหาร ซื้อขายด้วยดอลลาร์สหรัฐ จึงต้องระดมทุนในสหรัฐฯ รองรับค่าใช้จ่าย 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อสัปดาห์ ตลอดระยะเวลา 3 ปี
2
อังกฤษขายสินทรัพย์โดยเฉพาะในกิจการรถไฟที่กำลังรุ่งเรืองในสหรัฐฯ และกู้เงินมหาศาลจาก Wall Street มากจนกระทั่งประธานาธิบดีวิลสัน (President Wilson) มีคำเตือนให้หยุดการระดมทุนเพิ่มเติมในช่วงปลายปี 1916 เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเจรจาสันติภาพ
อังกฤษและฝรั่งเศสเริ่มแบ่งปันอาหารที่ซื้อได้น้อยลง และพึ่งพาเงินทุนหมุนเวียนจาก J.P.Morgan จนกระทั่งสามารถระดมทุนได้อีกครั้งในต้นปี 1917 และเป็นช่วงที่สหรัฐฯ กำลังเข้าร่วมในสงครามในเดือนเมษายน 1917 จากความขัดแย้งเรื่องเรือเดินสมุทรและเรือดำน้ำกับเยอรมนี จนสงครามโลกยุติลงในเดือนพฤศจิกายน 1918
นับจากปี 1919 สหรัฐฯ เริ่มเรียกชำระคืนเงินกู้ ซึ่งส่วนหนึ่งชาติพันธมิตรได้รับจากเยอรมนี ภายใต้ข้อตกลง the Treaty of Versailles ซึ่งเยอรมนีเองก็ได้รับความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อฟื้นฟูหลังสงครามเสร็จสิ้นจากสหรัฐฯ เช่นกัน วงจรการชำระคืนเงินกู้นี้สะดุดลงในปี 1932 จากวิกฤติเศรษฐกิจ (Great Depression) และต่อเนื่องด้วยสงครามโลกครั้งที่ 2 (1939-45)
1
เยอรมนีตกลงกลับมาเริ่มชำระหนี้ในปี 1953 และชำระคืนครบในปี 2010 ขณะที่อังกฤษสามารถชำระคืนหนี้สงครามโลกครั้งที่ 1 ได้ครบในปี 2015 นับเป็นเวลาถึง 100 ปีจากจุดเริ่มต้นของสงคราม
1
ในตอนนั้น อังกฤษมีทางเลือกอะไรบ้าง ในการจ่ายซื้อวัตถุดิบและอาหารจากสหรัฐฯ ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ?
1. จ่ายด้วยทองคำ
อังกฤษให้กู้กับชาติพันธมิตรในช่วงสงคราม จำนวนรวมประมาณ 1,415 ล้านปอนด์ และได้รับทองคำตามเงื่อนไขเงินกู้ จากฝรั่งเศสและรัสเซีย มูลค่า 68 ล้านปอนด์ และ 112.6 ล้านปอนด์ ตามลำดับ แต่การขนส่งทองคำในช่วงสงครามมีความเสี่ยง และการนำทองคำที่ได้รับตามเงื่อนไขเงินกู้ของชาติพันธมิตรมาใช้ จะสร้างความบาดหมางได้
2. ขายสินทรัพย์สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ เพื่อให้ได้รายได้ดอลลาร์สหรัฐ
การขายสินทรัพย์ในสหรัฐฯ มีความยากลำบาก เพราะทางการอังกฤษไม่มีข้อมูลรายการสินทรัพย์ ในช่วงแรกรัฐบาลอังกฤษขอความร่วมมือจากคนอังกฤษและธุรกิจของอังกฤษที่ถือสินทรัพย์สกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐ ในการให้ยืมสินทรัพย์ดังกล่าวกับรัฐบาล จนกระทั่งในปี 1917 ที่มีการอายัดสินทรัพย์ ทั้งนี้ โดยรวมในช่วงปี 1915-19 รัฐบาลอังกฤษสามารถรวบรวมสินทรัพย์สกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐได้ 1,423 ล้านปอนด์
3. กู้เงินในตลาดสหรัฐฯ ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ
เงินที่ได้รับจากการขายสินทรัพย์ไม่เพียงพอในการใช้จ่าย จึงจำเป็นต้องกู้เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ แม้ว่าจะเป็นทางเลือกที่อังกฤษไม่ต้องการมากที่สุด เพราะอาจยิ่งพัฒนาให้ตลาดทุนของสหรัฐฯ มีความซับซ้อนมากขึ้น จนเป็นคู่แข่งที่สำคัญในระดับโลก
1
Reference : International Encyclopedia of the First World War, War Finance by Martin Horn
J.P.Morgan & Co.ในฐานะ Purchasing and Fiscal Agent ของรัฐบาลอังกฤษและฝรั่งเศส เป็นใคร และทำไมธนาคารแห่งหนึ่ง จึงสามารถทำหน้าที่ที่สำคัญนี้ได้มากมายขนาดนั้น?
อาจกล่าวได้ว่า J.P.Morgan คือ หัวหอกที่สำคัญของระบบการเงินในสหรัฐฯ หลายคนกล่าวถึง “House of Morgan” ในฐานะผู้นำโลกที่ทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กับผู้นำโลกทั้งหลายในการปฏิรูประบบการเงินและการเมืองของโลกสู่ยุคการเงินสมัยใหม่ (modern financial world) ในช่วง 150 ปีที่ผ่านมา โดยมีสงครามครั้งใหญ่เป็นตัวเร่งในกระบวนการเปลี่ยนแปลง
1
Reference: J.P.Morgan & Co.
เรื่องราวของ J.P.Morgan เริ่มต้นที่บ้านเลขที่ 31 Moorgate ในลอนดอน เมื่อปี 1838 ที่ George Peabody นักการธนาคารสหรัฐฯ ออกเดินเรือจากสหรัฐฯ เพื่อเปิดธุรกิจธนาคารครั้งแรกของสหรัฐฯ ในลอนดอน จากความกังวลที่เริ่มมีมากขึ้นในสหรัฐฯ ว่าการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของประเทศนั้นกำลังพึ่งพาตลาดเงินตลาดทุนนอกประเทศ นั่นคือ อังกฤษ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของทุกอย่างเพียงหนึ่งเดียวในโลกขณะนั้น (Center of all things)
George Peabody and Company จึงได้เริ่มต้นขึ้น ครอบคลุมการให้กู้สำหรับการค้าระหว่างประเทศ (overseas trade) การจัดจำหน่ายหุ้นและพันธบัตร (stocks and bonds) และสินค้าโภคภัณฑ์ (commodities) โดยธุรกิจที่สร้างรายได้หลัก คือการเป็นตัวแทนจำหน่าย (leading London dealer) ของหลักทรัพย์ในธุรกิจรถไฟของสหรัฐฯ (American railroad securities) ซึ่งกำลังเฟื่องฟูนั่นเอง
3
ต่อมาในปี 1895 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น J.P.Morgan and Company โดย John Pierpont Morgan และกลายเป็นหนึ่งในสถาบันที่ทรงอิทธิพลในโลก และมีบทบาทในการควบรวมกิจการในภาคอุตสาหกรรม หนึ่งในนั้นคือการเกิดขึ้นจากการควบรวมของ General Electric ซึ่งนับว่าเป็นจุดเปลี่ยนในรอบศตวรรษ ในการสร้างระบบเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา
ถึงตรงนี้ อยากชวนพวกเรานั่งไทม์แมชชีนกันอีกครั้ง กลับไปในปี 1838
1
ในช่วงนั้นเองที่ทั่วโลกประสบปัญหาวิกฤตหนี้ (debt crisis) สหรัฐฯ ก็อยู่ในช่วงเร่งพัฒนาประเทศด้วยการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ทั้งรถไฟ คลอง และทางด่วน ทั้งหมดด้วยเงินกู้จากรัฐ (state credit) ขณะที่ลอนดอน คือ พระอาทิตย์ในระบบการเงินโลก
1
มีเพียงอังกฤษเท่านั้นที่มีสภาพคล่องของเงินทุน ท่ามกลางภาวะขาดแคลนเงินทุนทั่วโลก (capital-short world) และเงินปอนด์ คือ เงินสกุลหลักเดียวในการซื้อขายระหว่างประเทศ (the currency of world trade)
นักการธนาคารในยุคนั้น นอกจากจะเก่งในเรื่องการเงินแล้ว ยังเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจด้วย และหลายคนก็เรียกนักการธนาคารว่า “lords of creation” หนึ่งในนั้นคือ Frederick Lewis Allen
ธนาคารในยุคนั้นเป็นผู้สนับสนุนทางการเงินในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ คลอง รถไฟ อุตสาหกรรมเหล็ก และอุตสาหกรรมเดินเรือ
บทบาทตัวกลางระหว่างผู้กู้เงินและผู้ฝากเงิน (users and providers of capital) เพิ่มการมองเห็นกระบวนการพัฒนาทั้งหมดด้านอุตสาหกรรม
บทบาทในการจัดสรรเงินทุน เพิ่มอำนาจการต่อรองที่บ่อยครั้งเหนือกว่าภาคธุรกิจ จนบางครั้งสามารถก้าวข้ามไปถึงอำนาจในการควบคุมที่มากขึ้นในบางภาคธุรกิจ ตัวอย่างเช่น J.P.Morgan ในกิจการรถไฟ เป็นต้น
1
แต่ “House of Morgan” ในขณะนั้นแม้ว่าจะเป็นธุรกิจตัวแทนที่มีอิทธิพล (powerful dealer house) ก็ยังเล็กกว่าผู้นำที่มาก่อนจากทศวรรษที่ผ่านมา คือ Barings และ Rothschild ที่เน้นการทำธุรกิจบนความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและส่วนตัว (exclusive client relations)
1
คำกล่าวที่ว่าผู้ที่จะประสบผลสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่นั้น มีองค์ประกอบสำคัญอย่างน้อยคือ ความสามารถและโอกาส นั่นอาจเป็นหนึ่งในคำตอบว่า ทำไม J.P.Morgan ถึงมีทั้งความสามารถและโอกาสสูงสุดในขณะนั้น?
ชวนนั่งไทม์แมชชีนกันอีกรอบ
ในปี 1847 Junius Spencer Morgan มีธุรกิจชื่อ J.M.Beebe, Morgan and Company ซึ่งเป็นบริษัทการค้า (merchant house) ที่ใหญ่ที่สุดในบอสตัน ทำธุรกิจครอบคลุมทั่วโลก ทั้งส่งออกและให้เงินกู้ธุรกิจฝ้าย (cotton) และสินค้าอื่นๆ ที่ขนส่งผ่านท่าเรือบอสตัน (Boston Harbor) และนั่นเองที่ทำให้เค้าเป็นที่จับตาของ George Peabody
2
ในช่วง 10 ปีก่อนหน้าการเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่ 1 มีการควบรวมกิจการธนาคารและธุรกิจการเงินอย่างมากในสหรัฐฯ ในปี 1913 J.P.Morgan มี 118 ตำแหน่งอำนวยการ (directorships) ใน 34 ธนาคารและทรัสท์ และมีอำนาจควบคุมการบริหารใน Bankers Trust และ the National Bank of Commerce ซึ่งดำเนินการควบรวมกิจการสถาบันการเงินในขณะนั้น
นั่นคือ องค์ประกอบแรก “ความสามารถ”
จากจุดแข็งที่โดดเด่นอย่างมากของ J.P.Morgan ที่มีความสามารถเชิงพ่อค้าพาณิชย์ นอกเหนือจากด้านการเงินการธนาคาร รวมทั้งเครือข่ายสถาบันการเงินที่กว้างขวางในสหรัฐฯ
1
J.P.Morgan เป็นธนาคารจากสหรัฐฯ ที่ก่อตั้งครั้งแรกในลอนดอน ที่มีชื่อเสียง มีความสัมพันธ์กับรัฐบาลและเครือข่ายในยุโรป ได้รับการยอมรับในอังกฤษว่า เป็นหนึ่งในผู้มีอิทธิพลทางการเงินในลอนดอน และเลื่อนลำดับขึ้นมาอยู่เทียบเคียงกับ Rothschild และ Barings โดยเฉพาะนับจากปี 1870 ที่ J.P.Morgan ตัดสินใจให้เงินกู้กับฝรั่งเศส เพื่อฟื้นฟูประเทศหลังพ่ายแพ้ในสงครามกับเยอรมนี หรือ Prussians ในขณะนั้น
และนั่นคือ องค์ประกอบที่สอง “โอกาส”
3
เมื่ออังกฤษมีความจำเป็นต้องจัดหาวัตถุดิบในการผลิตและอาหารจากสหรัฐฯ ซึ่งต้องหาเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ มาจ่ายชำระ โอกาสครั้งสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ก็เป็นของ J.P.Morgan
3
J.P.Morgan ได้ออกแบบการระดมทุนในสหรัฐฯ อย่างไร?
Reference: J.P.Morgan & Co.
เดือนกันยายน 1915 เป็นการระดมทุนครั้งแรก เรียกว่า “unsecured Angro-French loan” จำนวนสูงถึง 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และประสบผลสำเร็จในวงจำกัด เป็นกลุ่มธนาคารที่ร่วมกันจัดจำหน่าย (a syndicate headed by J.P.Morgan) ลงทุนเป็นส่วนมาก
ในปี 1916-17 ได้ลดจำนวนเงินที่ระดมทุนในแต่ละครั้งลง (modest expedients) รวมถึงในรูปแบบเงินกู้ที่ค้ำประกันโดยรัฐบาลอังกฤษ มีการระดมรอบสุดท้ายในเดือนมกราคม 1917 จำนวน 250 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
J.P.Morgan สามารถระดมทุนได้จนถึงเดือนมกราคม 1917 จำนวนรวม 1,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในตลาดทุนของสหรัฐฯ และมีการขายสินทรัพย์สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐในนามรัฐบาลอังกฤษรวม 886 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีการจัดหาวงเงินหมุนเวียนให้ในระหว่างสงคราม
2
การตกลงราคาซื้อขายปกติจะกำหนดที่อัตราแลกเปลี่ยน 4.76 ดอลลาร์สหรัฐต่อปอนด์ เพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายในสกุลปอนด์ที่ชาติพันธมิตรต้องชำระในการซื้อสินค้าจากสหรัฐฯ แต่ก็มีการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ในช่วงสงคราม
Reference: www.exchangerates.org.uk
จุดเปลี่ยนของ J.P.Morgan จากผู้ทรงอิทธิพลในสหรัฐฯ สู่ผู้ทรงอิทธิพลระดับโลกในเวลาต่อมา
ในปี 1914-18 J.P.Morgan มีบทบาทสำคัญมากในการเป็นตัวแทนของรัฐบาลอังกฤษและฝรั่งเศส ในการจัดหาวัตถุดิบและอาหาร รวมทั้งการระดมเงินทุนในสหรัฐฯ ซึ่งอาจดูเหมือนมากกว่าศักยภาพของธนาคารทั่วไปที่จะทำได้ แต่ J.P.Morgan ทำสำเร็จ ได้รับผลตอบแทนค่าธรรมเนียมการเป็นตัวแทนจัดหาวัตถุดิบและอาหารประมาณ 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากมูลค่าธุรกรรม 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่นั่นไม่ใช่เป้าหมายสูงสุดของ J.P.Morgan
อาจกล่าวได้ว่า J.P.Morgan ทุ่มเททรัพยากรทั้งหมดที่มี ด้วยความเชื่อมั่นว่าอังกฤษจะสามารถก้าวข้ามพ้นจากสถานการณ์นี้ และจะยิ่งใหญ่มากขึ้น ด้วยอำนาจที่มากกว่าที่เคยมี ดังนั้น ยิ่งสร้างความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นมาก ก็จะยิ่งมีประโยชน์มากในระยะยาว
1
J.P.Morgan แตกต่างอย่างมากจากธนาคารที่เราเห็นในไทย อาจกล่าวได้ว่า J.P.Morgan ยึดรูปแบบ “ancient European tradition of wholesale banking” คือ การทำธุรกิจบนความสัมพันธ์กับรัฐบาล (governments) บริษัทเอกชนขนาดใหญ่ (corporations) และบุคคลร่ำรวย (rich individuals) กลยุทธ์หลักคือ ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าได้รับเชิญเข้าสู่ “Private Club” ที่มีเฉพาะสมาชิกผู้ทรงเกียรติเท่านั้น
2
ในทางการฑูต J.P.Morgan ที่มีทั้งประสบการณ์และเครือข่ายความสัมพันธ์ในกลุ่มประเทศมหาอำนาจ และมีอิทธิพลในตลาดการเงินตลาดทุนที่สำคัญทั่วโลก จากการผ่านสงครามครั้งสำคัญหลายครั้ง ในรอบกว่า 100 ปีที่ผ่านมา
1
J.P.Morgan มีบทบาทสำคัญในเวทีเจรจาระหว่างประเทศ เสมือนเป็นตัวแทนอย่างไม่เป็นทางการของรัฐบาลของแต่ละประเทศที่เป็นลูกค้า
สำหรับสายตาคนภายนอก J.P.Morgan คือ “Traditional Banker” และบ่อยครั้งที่ J.P.Morgan ถูกมองว่าเป็นภาพสะท้อนของนโยบายรัฐบาล
บทเรียนที่สำคัญ จากการศึกษาพัฒนาการในช่วงสงคราม ของตลาดการเงินตลาดทุนสหรัฐฯ และ J.P.Morgan & Co.
1. สิ่งที่เกิดควบคู่กับสงครามเสมอ คือ การเพิ่มขึ้นอย่างมากของอำนาจและบทบาทรัฐบาลของประเทศที่เข้าร่วมสงคราม โดยเฉพาะประเทศผู้ชนะในสงคราม ตัวอย่างเช่นในสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่ทำให้อำนาจและบทบาทของอังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐฯ โดดเด่นมากขึ้นในระดับโลก
2
2. สงคราม การค้า และการเงิน เป็นเรื่องเดียวกันเสมอในระหว่างประเทศมหาอำนาจ เพราะมีความเชื่อมโยงกันอย่างมาก ในประวัติศาสตร์สงครามมักเกิดขึ้นเพื่อรักษาสมดุลอำนาจในระดับภูมิภาคหรือระดับโลก
1
3. สงครามอาจเป็นเพียงหนึ่งในขั้นตอนของกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่กินเวลายาวนานหลายทศวรรษ ก่อนที่จะขมวดเป็นสงคราม เมื่อปัจจัยที่สำคัญต่างๆ ถึงพร้อม
2
4. หลายครั้งที่บางประเทศมหาอำนาจถูกดึงให้เข้าร่วมสงคราม มันเป็นเรื่องยากที่จะปฏิเสธบทบาทหน้าที่ของผู้นำโลก ในวันที่โลกต้องการ และเป็นเรื่องยากที่จะสร้างความชอบธรรมที่แท้จริง ตราบเท่าที่คำจำกัดความของ “ความชอบธรรม” เป็นเรื่องระดับปัจเจกบุคคล เพราะความจริงแล้วมันคือโลก “Shades of gray” ไม่ใช่ ขาว หรือ ดำ
1
5. ไม่มีสิ่งใดที่จีรังยั่งยืน บุคคลสำคัญในอดีตได้จากไป กลไกทางเศรษฐกิจที่พัฒนาความซับซ้อนให้ยากต่อการเข้าใจของคนส่วนใหญ่มากขึ้น องค์กรใหม่ๆ ที่เข้ามามีบทบาทเพิ่มขึ้นในเวทีโลก เส้นทางและรูปแบบการเดินทางระหว่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงไป อำนาจและบทบาทในเวทีโลกที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงในแต่ละประเทศ หรือแม้แต่สถาบันการเงินอายุกว่า 100 ปี อย่าง Barings และ Lehman Brothers ที่หยุดกิจการไปจากวิกฤตในอดีต
1
6. ถึงอย่างนั้นก็ตาม ในท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงมีบางประเทศที่สามารถยืนระยะได้ดีในเวทีโลก แม้จะล้มลุกคลุกคลานในหลายสงครามและวิกฤตต่างๆ ด้วยความยืดหยุ่นและมุ่งมั่นในการรักษาความยั่งยืนในสมดุลแห่งอำนาจ เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน แม้ว่าอาจหมายถึงอำนาจที่ถูกแบ่งปันก็ตาม
1
ถ้าใครได้มีโอกาสอ่านหนังสือ “House of Morgan” ผู้เขียน (Ron Chernow) ได้พูดถึงมุมมองอนาคตของวงการการเงินการธนาคารว่า Rothschild คือตำนานของ Power House ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในทศวรรษที่ 1990’s และ J.P.Morgan & Co. คือ Power House ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในทศวรรษที่ 2000’s เหนือกว่า Goldman Sachs ที่รุ่งเรืองในช่วงเดียวกัน และ Lahman Brothers ที่หายไป และผู้เขียนไม่คาดหมายว่าจะสามารถมี Power House ใดถูกสร้างขึ้นมาใหม่ ให้ยิ่งใหญ่ได้เทียบเท่าได้อีกในอนาคต
1
แล้วมาติดตามในตอนถัดไป กับ Manage Your Money นะคะ
References :
War Finance (Great Britain and Ireland) | International Encyclopedia of the First World War (WW1)
The House of Morgan: An American Banking Dynasty and the Rise of Modern Finance
The First World War as Catalyst and Epiphany: The Case of Henry P. Davison
The 200 Year Pound to Dollar Exchange Rate History - From $5 in 1800s to Today's $1.29 | Articles | Exchange Rates UK
โฆษณา