14 มี.ค. 2022 เวลา 13:29 • ธุรกิจ
ในขณะที่มีความวุ่นวายในยุโรปต่อเนื่องหลายทศวรรษระหว่างฝรั่งเศส เยอรมนี และรัสเซีย จนนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 อังกฤษวุ่นวายอยู่กับอะไรที่สำคัญมากกว่า? อังกฤษสร้างรายได้มหาศาลจากพื้นที่จักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ สะสมความมั่งคั่งเหนือกว่าชาติยุโรปอื่นๆ ที่ต่างแข่งขันครอบครองดินแดนโพ้นทะเล อังกฤษทำได้อย่างไร? เราจะนั่งไทม์แมชชีนไปกับกรณีศึกษา “อินเดีย กับเส้นทางการค้ายุโรป-เอเชีย”
ตอนที่ 1 : “East India Company” กับตำนานจุดเริ่มต้นของ “ระบบทุนนิยม (Capitalisim)” และ “บริษัทข้ามชาติ (Multinational Company)” สำหรับ “Modern Corporation”
เศรษฐกิจของยุโรปในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1
Pre-World War I European Economic Landscape
หลายคนเรียกช่วงปี 1800-1913 ว่าเป็น “ยุคการค้าระหว่างประเทศ หรือ Globalization” ที่มีลักษณะที่โดดเด่น คือ
1
1. การค้าระหว่างประเทศเติบโตจาก “1 ใน 13” เป็น “1 ใน 3” ของมูลค่าการผลิตในโลก ขณะที่มูลค่าการลงทุนเพิ่มถึง 20 เท่าในช่วงปี 1855-1914 โดยมียุโรปครอบครองเกือบ “2 ใน 3” ของการค้าระหว่างประเทศ และเกือบทั้งหมดของการลงทุนทั่วโลก
3
2. นับจากทศวรรษที่ 1890’s สกุลเงินหลักในยุโรปกำหนดมูลค่าคงที่เป็นสัดส่วนเทียบเคียงกันระหว่างสกุลเงิน ภายใต้มาตรฐานทองคำ (international gold standard) ซึ่งเอื้อต่อการขยายตัวของการค้าระหว่างประเทศอย่างมาก
3
3. นอกเหนือจากการค้าระหว่างประเทศที่โดดเด่นแล้ว ความก้าวหน้าอย่างมากด้านอุตสาหกรรมในยุโรปจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม (1733-1913) ทำให้มีการนำเข้าแรงงานหลายแสนคน เพื่อทำงานในอุตสาหกรรมหนักที่มีสภาพการทำงานไม่ดี
2
หลายเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ในช่วงศตวรรษนี้ สะท้อนอย่างชัดเจนว่า
  • ศักยภาพทางการทหาร
  • การหมุนเวียนของเงิน
  • การปฏิวัติอุตสาหกรรม
  • การค้าระหว่างประเทศ
  • การขยายดินแดนอาณานิคม
  • การค้าทาส
  • สนธิสัญญาระหว่างประเทศ (Treaty)
ล้วนเป็นกลไกที่สำคัญอย่างยิ่งยวดที่เชื่อมโยงกัน ในยุทธศาสตร์ของชาติต่างๆ ในยุโรปในการขยายอิทธิพลและสร้างความมั่งคั่งในขณะนั้น และยังคงมีอิทธิพลต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
เศรษฐกิจของอังกฤษในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1
Empire of Profit
2
หากจะใช้เวลาเพียง 5 นาที พูดถึงความรุ่งโรจน์ของอังกฤษในช่วงนี้ สามารถสรุปได้ใน 5 มิติ ทั้งในด้านการปกครอง การบริหารจัดการประเทศ การจัดสรรทรัพยากร ลำดับความสำคัญในเชิงนโยบายการพัฒนา และระบบนิเวศน์ (ecosystem) ที่ถูกออกแบบและพัฒนาอย่างดี ได้ดังนี้
1. คงไม่มีคำใดเหมาะสมเท่ากับ “the Center of all things”
3
อย่างที่มีการพูดว่า “อังกฤษคือดวงอาทิตย์ในระบบสุริยะจักรวาล” และ “กำไร” คือเป้าหมายสำคัญในการดำเนินการแทบทุกด้านของอังกฤษ เพื่อสร้างความมั่งคั่งและความเป็นชาติมหาอำนาจของประเทศ
2
2. อังกฤษเป็นอาณาจักร (Empire) ที่ยิ่งใหญ่ในยุคจักรวรรดินิยม (Imperialism)
จนถูกเรียกว่า “ดินแดนที่พระอาทิตย์ไม่เคยตกดิน” และการปกครองอาณาจักรคือสิ่งที่สำคัญที่สุด เพื่อปกป้องและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่ได้รับจากชาติอาณานิคมด้านการค้าเพื่อสร้างความมั่งคั่งให้มากที่สุด และแน่นอนว่า อังกฤษ คือ ศูนย์กลางการค้า การพาณิชย์ อุตสาหกรรม ตลาดเงินและตลาดทุนของโลกในขณะนั้น
2
3. สินค้ามีค่ามากมายที่รวบรวมมาจากดินแดนในอาณานิคม
1
มีตั้งแต่ ทองคำ เงิน แร่โลหะต่างๆ เพชร ฝ้าย ขนสัตว์ เนื้อสัตว์ พืชผลทางการเกษตรที่สำคัญ ไม้ และใบชา เป็นต้น ซึ่งเป็นสินค้าในความต้องการอย่างมากในยุโรป ทั้งเพื่อการอุปโภคบริโภค และเพื่อการผลิตอุตสาหกรรม
4. ความแข็งแกร่งของอังกฤษด้านอุตสาหกรรมจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม
ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มจากทรัพยากรที่นำมาจากอาณานิคมอย่างมาก ขณะที่ตลาดเงินตลาดทุนที่พัฒนาแล้วในอังกฤษ ช่วยผลักดันความสำเร็จของการระดมทุนขนาดใหญ่ และการขยายตัวของเศรษฐกิจจากสภาพคล่องและการหมุนเวียนของเงิน
5. การเกิดขึ้นของกลุ่มพ่อค้าจำนวนมาก
1
เอื้อต่อการเป็นศูนย์กลางการค้าระหว่างประเทศ จนทำให้เกิดเป็นระบบนิเวศน์การค้าระหว่างประเทศที่สมบูรณ์และยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกขณะนั้น
จะเห็นได้ว่า ความแข็งแกร่งและความมั่งคั่งของอังกฤษ เกิดจากการออกแบบระบบนิเวศน์ (ecosystem) การรวบรวมและสร้างสรรค์องค์ประกอบในระบบนิเวศน์ การผลักดันกลยุทธ์ตอกย้ำความเชื่อมโยง จนเกิดเป็นผลลัพธ์แบบยิ่งกว่าทวีคูณ หรือ synergy ที่ยากต่อการเลียนแบบหรือทำลายขัดขวาง
และกระบวนการทั้งหมดนี้ต้องใช้เวลาพัฒนาถึงหลายร้อยปี จนเกิดเป็นผลลัพธ์สูงสุด ซึ่งในที่สุดก็ถูกท้าทายในช่วงเวลาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นต้นมา
อะไรคือ กุญแจสำคัญของการสร้างและรักษาความมั่งคั่งของอาณาจักรอังกฤษ ในเส้นทางการค้าระหว่างประเทศที่สำคัญคือ ยุโรปและเอเชีย?
Key Drivers of Wealth Creation
2
ไทม์แมชชีนย้อนไปเมื่อหลายร้อยปีก่อน
ในยุคจักรวรรดินิยม (Imperialism) มีองค์ประกอบหลายสิ่งที่ขับเคลื่อนกลไกการสร้างความมั่งคั่ง แต่หากเราจะพิจารณาว่า องค์ประกอบใดคือ “กุญแจ” ของกลไก นั่นคือ สิ่งที่ยากที่สุดในการเลียนแบบ และเป็นกำแพงขวางกั้นการเข้ามาของชาติมหาอำนาจอื่น อันประกอบด้วย
1. อินเดีย คือ กุญแจสำคัญ ด้านการค้าและการพาณิชย์ของอังกฤษที่เชื่อมโยงกับเอเชีย
3
อินเดียมีดินแดนที่กว้างขวาง มีกำลังคนจำนวนมาก มีทรัพยากรมีค่าที่มากมาย และเป็นจุดยุทธศาสตร์ของเส้นทางการค้าระหว่างประเทศ ที่อังกฤษใช้กำลังปกป้องกว่า 200,000 คน (Private Army) เป็นจำนวนมากกว่าทหารที่ประจำการในอังกฤษ ในกลไกการค้าระหว่างประเทศที่ออกแบบไว้นั้น อินเดีย คือ ศูนย์กลางการค้าของอังกฤษที่เชื่อมต่อกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะจีน เปอร์เซีย และอินโดนีเซีย ยาวนานกว่า 200 ปี
3
2. ขณะที่แอฟริกา คือ กุญแจสำคัญ ทั้งแหล่งทรัพยากรมีค่าที่สำคัญ และแรงงานจำนวนมากในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
1
ในช่วงที่มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของการค้าการเดินทางระหว่างประเทศ และอุตสาหกรรมทั่วทั้งยุโรป นอกเหนือจากอังกฤษแล้ว ประเทศยุโรปอื่นๆ ต่างก็เร่งผลักดันภาคอุตสาหกรรม ได้แก่ ฝรั่งเศส เยอรมนี และสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้การค้าทาสขยายตัวอย่างมากเป็นเวลาหลายร้อยปี เพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดดนั่นเอง
3. เพื่อให้การค้าไม่สะดุด ผลประโยชน์ไม่ถูกแบ่งปันโดยชาติมหาอำนาจอื่น อังกฤษได้สร้างกองทัพเรือที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรปในช่วงทศวรรษที่ 1800’s ที่ยากในการเทียบเคียงโดยชาติยุโรปอื่น
1
จนกระทั่งในช่วง 1900’s ที่เยอรมนีสร้างกองทัพเรือขนาดใหญ่ ความพร้อมทางการทหาร ความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรม จนนำมาซึ่งความกังวลของอังกฤษ และเป็นมูลเหตุจูงใจส่วนหนึ่งในการที่อังกฤษตัดสินใจเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 1 เพื่อรักษาอำนาจ อิทธิพลและความมั่งคั่งเหนือชาติอื่น
2
อังกฤษมีกลยุทธ์ขับเคลื่อนการสร้างความมั่งคั่งจากศูนย์กลางยุทธศาสตร์
เส้นทางการค้าระหว่างยุโรปและเอเชีย คือ อินเดีย อย่างไร?
และอาจกล่าวได้ว่า นั่นคือ จุดเริ่มต้นของระบบทุนนิยม (capitalism) และรูปแบบของธุรกิจข้ามชาติ (multinational corporation) ในเวลาต่อมา
Wealth Creation Strategies
1
East India Company คือ กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนที่ได้รับบทบาทที่สำคัญที่สุดในเส้นทางการค้านี้
1
East India Company คือใคร? ทำไมจึงสามารถทำหน้าที่ที่สำคัญมากนี้แทนรัฐบาลอังกฤษได้?
2
East India Company เป็นบริษัทการค้าข้ามชาติที่ก่อตั้งโดยกลุ่มพ่อค้าอังกฤษ (private corporation) ภายใต้ Royal Chapter ในวันที่ 31 ธันวาคม 1600 (ยุคของ Queen Elizabeth I) ดำเนินธุรกิจเป็นเวลาหลายศตวรรษ ครอบคลุมการค้าระหว่างประเทศในเส้นทางการค้ายุโรปและเอเชีย โดยเฉพาะธุรกิจเครื่องเทศ (spice trade) และสินค้าอื่นๆ เช่น ฝ้าย ผ้าไหม ใบชา โดยได้รับสิทธิพิเศษในการผูกขาดการค้าแต่เพียงผู้เดียว บุคคลหรือนิติบุคคลอื่นของอังกฤษไม่สามารถดำเนินธุรกิจแข่งขันด้วยได้ (monopoly)
2
จะเห็นได้ว่ารัฐบาลอังกฤษมีความจำเป็นต้องให้สิทธิพิเศษในการสร้างผลตอบแทนที่มากพอเพื่อจูงใจให้เอกชนเข้ามาลงทุนและดำเนินการ เพราะการค้าระหว่างประเทศและการเดินเรือทะเลในเวลานั้น ต้องใช้เงินลงทุนสูง ขณะที่มีความเสี่ยงสูงมาก จากความยากลำบากและอันตรายอย่างมากตลอดกระบวนการทำธุรกิจ ได้แก่
3
  • การแข่งขันกับชาติยุโรปต่างๆ เช่น สเปน โปรตุเกส และดัตช์ เพื่อรวบรวมทรัพยากรที่มีค่าในความต้องการของยุโรปจำนวนมาก
  • การเดินทางในเส้นทางการค้าระหว่างประเทศที่ใช้เวลาถึง 3 เดือนระหว่างอังกฤษและอินเดีย
  • สภาพความเป็นอยู่ที่ไม่ดีนักทั้งในพื้นที่อาณานิคมและเรือบรรทุกสินค้า
  • หลายครั้งที่ต้องเผชิญกับโรคระบาด และการโจมตีระหว่างการเดินทางที่ยาวนาน
  • การบริหารจัดการคนงานเป็นแสนที่กระจายอยู่ในท้องถิ่น และความสัมพันธ์กับผู้ปกครองอินเดียและท้องถิ่นของอินเดีย
1
และแน่นอนว่า การให้สิทธิพิเศษการผูกขาดการประกอบธุรกิจนี้ ก็เท่ากับว่าเป็นการประกันผลตอบแทนให้แก่รัฐบาลอังกฤษ เพื่อให้ได้รับอย่างเต็มที่ด้วยเช่นกัน
จากความท้าทายอย่างมากของตัวธุรกิจเอง และความทะเยอทะยานในการขยายธุรกิจเพื่อทำกำไรสูงสุดของ East India Company จึงเป็นกรณีศึกษาที่โดดเด่นมากในรอบหลายศตวรรษที่ผ่านมาในหลายมิติ คือ
1
  • จุดแข็งที่ต้องมีมากกว่าการเป็นพ่อค้า
  • ประสิทธิภาพของการระดมทุนขนาดใหญ่
  • การบริหารจัดการในระดับประเทศและท้องถิ่น
  • การบริหารจัดการเพื่อตอบสนองหรือแก้ไขสถานการณ์ระหว่างการเดินทาง ที่มีปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้และเปลี่ยนแปลงเสมอ
2
อังกฤษ และ East India Company ในขณะนั้น มีการออกแบบโครงสร้างธุรกิจที่น่าสนใจอย่างมาก และถือว่าเป็นการเปิดประวัติศาสตร์บทใหม่ของ “ระบบทุนนิยม” และ “บริษัทข้ามชาติ” สำหรับ “Modern Corporation”
เรื่องราวของ East India Company เป็นตำนานที่มีหลายมิติให้ศึกษา ซึ่งในที่นี้จะนำมาเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับบทบาทด้านการค้าระหว่างประเทศ ที่เป็นกลไกหลักขับเคลื่อนความมั่งคั่งของอังกฤษ ในมิติของ รูปแบบการจัดตั้งบริษัท การบริหารจัดการ การระดมทุนและจัดสรรผลประโยชน์ระหว่างรัฐบาลอังกฤษ ผู้ถือหุ้น และพนักงาน รวมทั้งผลที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจทางธุรกิจและการเมืองที่สำคัญ จนนำไปสู่จุดสูงสุดของธุรกิจ จุดต่ำสุดของธุรกิจ และจุดสุดท้ายของธุรกิจในที่สุด ตลอดระยะเวลาการดำเนินงานกว่า 200 ปี
4
ทำไม East India Company จึงถือเป็นตำนานและจุดเริ่มต้นของระบบทุนนิยม (Capitalism) และธุรกิจข้ามชาติ (Multinational Corporation) สำหรับ “Medern Corporation”?
  • รูปแบบการจัดตั้งบริษัท:
East India Company เป็นบริษัทที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและดำเนินการได้ยาวนานที่สุดในรอบศตวรรษที่ 1800’s - 1900’s ในรูปแบบของ Joint-stock Company โดยระดมทุนจากการขายหุ้นในกิจการให้กับนักลงทุนทั่วไป มีการแต่งตั้งกรรมการผู้จัดการ (president) และคณะกรรมการบริษัทเพื่อบริหารและควบคุม (board of control หรือ board of officers) ดำเนินกิจการภายใต้ Royal Chapter ครอบคลุมการค้าระหว่างประเทศในเส้นทางการค้ายุโรปและเอเชีย โดยเฉพาะธุรกิจเครื่องเทศ (spice trade) และสินค้าอื่นๆ เช่น ฝ้าย ผ้าไหม ใบชา โดยได้รับสิทธิพิเศษจากรัฐบาลอังกฤษในการผูกขาดการค้าแต่เพียงผู้เดียว
รูปแบบการขายหุ้นเพื่อระดมทุน และการแต่งตั้งคณะผู้บริหารและคณะกรรมการบริษัท ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของมาตรฐานที่สำคัญของบริษัทสมัยใหม่ (modern corporation) ในเวลาต่อมา อย่างไรก็ดี ในเวลานั้น East India Company ใช้การจัดประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่งมีผู้ร่วมประชุมหลายร้อยคน และยังไม่มีการกำหนดการประชุมของคณะกรรมการบริษัทในลักษณะเดียวกับปัจจุบัน
ในช่วงจุดสูงสุดของธุรกิจ East India Company ให้ผลตอบแทนแก่นักลงทุนในลอนดอนสูงถึง 30% และในช่วงตกต่ำสุดของธุรกิจในปี 1772 บริษัทต้องขอเงินกู้ช่วยเหลือฉุกเฉินจำนวนถึง 1 ล้านปอนด์ เพื่อไม่ให้ล้มละลาย (bankruptcy) เนื่องจากการบริหารที่ผิดพลาดและการไม่สามารถจัดเก็บรายได้เพียงพอในเบงกอล ซึ่งสุดท้ายได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลอังกฤษ จนนำไปสู่การแปลงสภาพของบริษัทในเวลาต่อมา ซึ่งจะเล่าถึงในเรื่องนี้ในตอนถัดไป
1
  • รูปแบบการบริหารจัดการ:
“ประสิทธิภาพ” และ “ความคุ้มค่า” คือหัวใจในการบริหารจัดการของ East India Company
2
ในช่วง 20 ปีแรก Sir Thomas Smythe เป็นผู้บริหารสูงสุดที่ลอนดอน และมีพนักงานประจำเพียง 6 คน และเพิ่มขึ้นเป็น 35 คน และ 159 คน ในปี 1700 และ 1785 ตามลำดับ คนงานที่ดำเนินการส่วนใหญ่เป็นคนในท้องถิ่น แรงงานทาส ตำรวจและทหารรับจ้างในพื้นที่
“การจัดสรรผลตอบแทนให้พนักงาน”
คณะกรรมการบริษัทให้สิทธิในการค้าขายในเอเชียแก่พนักงาน โดยเฉพาะพนักงานปฏิบัติงาน พนักงานจึงมีแรงจูงใจอย่างมากในการทำงาน และสร้างเครือข่ายอย่างกว้างขวางในการสำรวจเส้นทางเดินเรือ สินค้า และตลาดค้าขายในเส้นทางการค้า จนเกิดเป็นจุดแข็งของบริษัท คือ ความเชื่อมโยงของการปฏิบัติงานในพื้นที่การค้าที่กว้างใหญ่ (integrated operation) นวัตกรรมใหม่ๆ (innovation) ความยืดหยุ่น (flexibility) ความสามารถในการปรับตัว(adaptability) และการตอบสนองต่อสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่การค้าอย่างรวดเร็ว (responsiveness)
อาจกล่าวได้ว่าการให้สิทธิในการค้าขายในเอเชียแก่พนักงานนี้ ส่วนหนึ่งเป็นไปเพื่อลดต้นทุนการดำเนินงานที่ต้องจ่ายผลตอบแทนที่สูงเพื่อจูงใจและแลกเปลี่ยนกับความเสี่ยงที่สูงมากในการทำงาน และอีกส่วนหนึ่งเป็นไปเพื่อสร้างแรงจูงใจให้เกิดการแข่งขัน ขวนขวายในการขยายตลาดการค้า สินค้า และเส้นทางการค้าในกลุ่มคนทำงาน ยิ่งทำมากก็ยิ่งได้มากนั่นเอง แต่อย่างไรก็ดี สิ่งนี้เองที่นำไปสู่วัฒนธรรมองค์กรที่มีคอร์รัปชั่นมาก จนถึงจุดหนึ่งที่ในที่สุดทำให้บริษัทไม่สามารถไปต่อได้
1
“การกระจายอำนาจการบริหารจัดการให้แก่ผู้บริหารสำนักงานสาขาของ East India Company ในพื้นที่”
1
โดยกำหนดให้เป็นผู้มีอำนาจบริหารจัดการทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการค้าในพื้นที่การค้าและเส้นทางการค้านั้นๆ และตราบเท่าที่การค้ายังคงดำเนินได้ดี คณะกรรมการบริษัทจะไม่เข้ามาเกี่ยวข้องในการบริหารงาน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการสื่อสารที่ใช้เวลานานมากระหว่างอังกฤษและสำนักงานสาขา ที่การส่งจดหมายทางเรือแต่ละครั้งใช้เวลาเดินทางอาจถึง 3 เดือน
นอกเหนือจากอำนาจในการบริหารจัดการธุรกิจแล้ว ผู้บริหารสำนักงานสาขายังมีหน้าที่ในการกำหนดกฏหมาย เพื่อปกครองเมืองท่าที่บริษัทครอบครองดำเนินการอยู่ เช่น บอมเบย์ มัทราส และกัลกัตตา รวมทั้งสร้างกองกำลังตำรวจเพื่อดูแลความเรียบร้อย และระบบยุติธรรม (justice systems)
มันเป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่มีความซับซ้อนอย่างมาก โดยขาดองค์ประกอบที่สำคัญคือ ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของบริษัทและกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ที่ดำเนินงานในช่วงเวลานั้น
ในตอนถัดไปจะชวนไทม์แมชชีนกันต่อ กับเรื่องราวของ East India Company เพื่อสะท้อนกลยุทธ์ในการดำเนินงานที่สำคัญ อันส่งผลต่อการเมืองและเศรษฐกิจของโลกอย่างมาก จนอาจเรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์ที่เชื่อมโยงถึงสถานการณ์ในปัจจุบัน
แล้วมาติดตามกันต่อในตอนถัดไป กับ Manage Your Money นะคะ
References :
East India Company: How Did It Rise & How Much Power Did It Hold? - HistoryExtra
How the East India Company Became the World's Most Powerful Monopoly - HISTORY
Emily Erikson, a sociology professor at Yale University and author of Between Monopoly and Free Trade: The English East India Company.
Tirthankar Roy, a professor of economic history at the London School of Economics and author of The East India Company: The World’s Most Powerful Corporation.
Europe before 1914 - The British Library Professor David Stevenson, 29 Jan 2014
5 Fast Facts About the East India Company | Britannica
East India Company | Definition, History, & Facts | Britannica
โฆษณา