East India Company คือ บริษัทการค้าข้ามชาติที่ใหญ่ที่สุดและยาวนานที่สุดในช่วงกว่า 200 ปีก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 และเป็นต้นแบบของ Modern Corporation กับบทบาทกลไกขับเคลื่อนความมั่งคั่งหลักของอังกฤษ การเผชิญกับเหตุการณ์และการตัดสินใจทางธุรกิจและการเมืองที่สำคัญ จนนำไปสู่จุดสูงสุด จุดต่ำสุด และจุดสุดท้ายของธุรกิจในที่สุด ตลอดระยะเวลาการดำเนินงาน (1600-1874)
จากจุดเริ่มต้นในปี 1600 ภายใต้ Royal Act ในชื่อดั้งเดิมว่า “Governor and Company of Merchants of London trading into the East Indies” กับสิทธิพิเศษผูกขาดทางการค้าระยะเวลา 15 ปี บริษัทถูกแทรกแซงโดยการเมืองอย่างต่อเนื่องจากมูลค่าการค้าเกือบครึ่งหนึ่งของการค้าโลก รัฐบาลอังกฤษมีการให้สิทธิทางการค้ากับบริษัทใหม่ๆ ในพื้นที่ที่บริษัทยังไม่เริ่มดำเนินการ
ชวนนั่งไทม์แมชชีนย้อนไปในช่วงปี 1600-1757 ซึ่งเป็นวัฏจักรขาขึ้นอันรุ่งโรจน์ของ East India Company กับบทบาทการเป็นกลไกหลัก ในยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนการขยายการค้าระหว่างยุโรปและเอเชีย
East India Company กับบทบาท “Mercantile Company”
ก่อนหน้าการเข้ามาของ East India Company นั้น สเปนและโปรตุเกสครอบครองการค้าระหว่างประเทศในเครื่องเทศที่ทำกำไรอย่างมากในขณะนั้น แต่ในที่สุดในปี 1612 East India Company ได้เอาชนะโปรตุเกสที่ดำเนินกิจการอยู่แล้วในอินเดีย และนั่นคือการเริ่มต้นของสัมปทานการค้าในจุดยุทธศาสตร์การค้าระหว่างยุโรปและเอเชียของอังกฤษ
ในช่วงแรกของการดำเนินงานของ East India Company อินเดียปกครองโดย Mughal Empire ซึ่งเน้นอำนาจการปกครองแบบรวมศูนย์ที่ตอนกลางของประเทศ (interior of India) ทำให้ชาติตะวันตกได้เข้ามามีอิทธิพลในบริเวณเมืองชายทะเลที่อยู่รอบนอก
East India Company ระดมทุนจำนวนมากเพื่อสร้างเมืองและท่าเรือการค้าที่ บอมเบย์ (Bombay) มัทราส (Madras) (เจนไน ในปัจจุบัน) และกัลกัตตา (Calcutta) (โกลกาตา ในปัจจุบัน)
1
ต่อมาในช่วงศตวรรษที่ 1800’s เกิดการล่มสลายของ Mughal Empire และนำไปสู่การสู้รบในเมือง ทำให้พ่อค้าอินเดียเริ่มเคลื่อนย้ายมาที่เมืองท่าชายทะเลที่บริหารโดย East India Company จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นลักษณะการเกิดขึ้นของ “Mini Kingdoms” ในอินเดีย
1
ธุรกิจการค้าเครื่องเทศ ใบชา และผ้าฝ้าย สร้างรายได้และกำไรอย่างมากให้แก่บริษัท การสะสมเครือข่ายและความมั่งคั่งก็ยิ่งเสริมความแข็งแกร่งในการขยายสินค้าและเส้นทางการค้าตลอดหลายศตวรรษที่ดำเนินกิจการ โดยครอบคลุมเครือข่ายการค้ากับตลาดการค้าที่สำคัญคือ จีน เปอร์เซีย และอินโดนีเซีย การออกค้นหาและสำรวจเส้นทางใหม่ๆ สินค้าใหม่ๆ การเจรจาการค้า การสร้างเครือข่ายในท้องถิ่น คือ กลยุทธ์ด้านรายได้ที่สำคัญของ East India Company กับบทบาท “พ่อค้า”
1
East India Company กับบทบาท “Empire Building”
2
ในปี 1757 อาจกล่าวได้ว่า คือ จุดเปลี่ยนของ East India Company จากบริษัทการค้าระหว่างประเทศ (trade company) มาสู่ บริษัทที่เป็นตัวแทนของอังกฤษในยุคจักรวรรดินิยม (an agent of British imperialism) จากเหตุการณ์ the Battle of Plassey ในอินเดีย และบริษัทได้รับชัยชนะในการต่อสู้กับทหารอินเดีย ทำให้ได้รับอำนาจและสิทธิประโยชน์ด้านภาษีอย่างมากในเบงกอล ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ร่ำรวยที่สุดในอินเดียในขณะนั้น
2
นับจากนั้นเป็นต้นมา รูปแบบธุรกิจ (business model) ของ East India Company ก็เปลี่ยนจากการสร้างกำไรจากการค้าขาย (profitable trade) เป็นการสร้างรายได้จากการจัดเก็บภาษี (taxation) รวมทั้งมีบทบาทในการผลักดันนโยบายของรัฐบาลอังกฤษในท้องถิ่น และนั่นอาจถือได้ว่าเป็นหนึ่งในปัจจัยที่นำไปสู่ความเสื่อมถอยและการยุติกิจการของบริษัทในที่สุด
2
การเสื่อมถอยทางธุรกิจ และการยุติกิจการของ East India Company
East India Company เผชิญกับวัฏจักรธุรกิจอันเป็นผลจากทั้งปัจจัยภายในและภายนอก เฉกเช่นเดียวกับธุรกิจอื่นๆ
1
ชวนนั่งไทม์แมชชีนย้อนไปในช่วงปี 1757-1874 ซึ่งเป็นวัฏจักรขาลงของ East India Company
East India Company ค่อยๆ เสื่อมถอยลง สวนทางกับบทบาทและผลประโยชน์ที่มากขึ้น นับตั้งแต่ปี 1757 ที่เป็นจุดเปลี่ยนของ East India Company จากบริษัทการค้าระหว่างประเทศ (trade company) มาสู่ บริษัทที่เป็นตัวแทนของอังกฤษในยุคจักรวรรดินิยม (an agent of British imperialism)
ในปี 1773 และปี 1784 รัฐสภาอังกฤษอนุมัติ the Regulating Act (1773) และ Prime Minister William Pitt’s “India Act” (1784) ซึ่งกำหนดให้รัฐบาลอังกฤษเข้าไปบริหารจัดการพื้นที่ในความดูแลของ East India Company ในอินเดียอย่างเป็นทางการ
ในปี 1857-59 เกิดเหตุการณ์ India Mutiny เพื่อต่อต้าน East India Company นับว่าเป็นการต่อสู้เพื่อเอกราชครั้งแรกในอินเดีย โดยมีจุดเริ่มต้นจากกองทหารรับจ้างอินเดียที่ทำงานให้กับ East India Company ที่เมืองมีรุต (Meerut) จนขยายไปอีกหลายเมืองรวมทั้งเมืองเดลี (Delhi)
2
ในปี 1858 East India Company ก็ได้ถูกแปลงสภาพเป็นของรัฐบาล (nationalized) ด้วยหลายเหตุปัจจัยได้แก่
การค้าฝิ่นในจีนอย่างผิดกฎหมายเพื่อแลกกับใบชาที่มีความต้องการสูงมากในยุโรปขณะนั้นจนนำไปสู่สงครามระหว่างอังกฤษและจีนในช่วงปี 1839-42 และ 1856-60 นำไปสู่การกำเนิดของดินแดนฮ่องกงในความปกครองของอังกฤษในเวลาต่อมาภายใต้ the Treaty of Nanjing เมื่อจีนแพ้ในสงครามจากการคุกคามของกองทัพอังกฤษ ภายหลังที่มีการเปิดโปงการค้าฝิ่นผิดกฎหมายของ East India Company และทำลายคลังฝิ่นในจีน
2
หลังจากนั้นไม่นานในปี 1874 East India Company ได้เลิกกิจการที่ดำเนินงานมากว่า 200 ปี ภายใต้ the East India Stock Dividend Redemption Act (1873) เหลือเพียงตำนานในประวัติศาสตร์โลก กับบทบาทที่ยิ่งใหญ่ในการสร้างความมั่งคั่งและเป็นตัวแทนการปกครองของอังกฤษ ในเส้นทางการค้าระหว่างยุโรปและเอเชีย
2. ข้อพึงระวังคือ การรักษาสมดุลระหว่าง “การสร้างแรงจูงใจเพื่อผลักดันความสำเร็จ” กับ “การดำเนินธุรกิจจนเกินขอบเขตของธรรมภิบาล เพื่อสร้างกำไรสูงสุด” และเรื่องราวของ East India Company ได้สะท้อนความไม่สมดุลที่เกิดขึ้นในหลายมิติ จนนำไปสู่การยุติบทบาทของบริษัทในที่สุด
2
3. “การเมือง” กับ “ธุรกิจ” เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่โดดเด่นในรูปแบบธุรกิจ (business model) ของ East India Company ครั้งหนึ่งที่จุดเริ่มต้นของวัฏจักรขาขึ้น เราเรียกสิ่งนี้ว่า “จุดแข็ง” และอีกครั้งหนึ่งที่จุดสุดท้ายของวัฏจักรขาลง เรากลับเรียกสิ่งนี้ว่า “จุดอ่อน”
East India Company: How Did It Rise & How Much Power Did It Hold? - HistoryExtra
How the East India Company Became the World's Most Powerful Monopoly - HISTORY
Emily Erikson, a sociology professor at Yale University and author of Between Monopoly and Free Trade: The English East India Company.
Tirthankar Roy, a professor of economic history at the London School of Economics and author of The East India Company: The World’s Most Powerful Corporation.
Europe before 1914 - The British Library Professor David Stevenson, 29 Jan 2014
5 Fast Facts About the East India Company | Britannica
East India Company | Definition, History, & Facts | Britannica