The Bear Stearns Companies, Inc. (Bear Stearns) บริษัทวาณิชธนกิจรายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ประกาศเลิกกิจการในเดือนมีนาคม 2008 และขายกิจการให้แก่ JP Morgan Chase ที่ราคา 10 ดอลลาร์สหรัฐต่อหุ้น เทียบกับราคาสูงสุดในรอบ 52 สัปดาห์ (pre-crisis 52-week) ที่ 133.20 ดอลลาร์สหรัฐ ภายหลังจากที่ไม่ประสบผลสำเร็จในการแก้ไขสถานการณ์จากเงินกู้ฉุกเฉิน (an emergency loan) จาก the Federal Reserve Bank of New York
1
นอกจากการให้เงินกู้ฉุกเฉินแล้ว the Federal Reserve Bank of New York ยังมีบทบาทที่สำคัญในการช่วยเจรจาให้ราคาซื้อขายเพิ่มขึ้นจากราคาที่ตกลงกันไว้เดิมระหว่าง JP Morgan Chase และ Bear Stearns ที่ 2 ดอลลาร์สหรัฐด้วย
เรารู้จัก Bear Stearns ว่าคือบริษัทวานิชธนกิจรายใหญ่ในช่วงนั้น หลายคนที่อาจไม่ทันเหตุการณ์ในยุครุ่งโรจน์ของ Bear Stearns วันนี้มีเรื่องราวที่น่าสนใจมากของ the Rise and Fall ของยักษ์ใหญ่ในโลกการเงินมาเล่าให้ฟังค่ะ
Bear Stearns ก่อตั้งในปี 1923 โดย Joseph Ainslie, Robert B. Stearns และ Harold C. Mayer เพื่อทำธุรกิจซื้อขายหลักทรัพย์ (equity trading) ด้วยทุนจดทะเบียนตั้งต้น 500,000 ดอลลาร์สหรัฐในขณะนั้น
เพียงไม่กี่ปีที่ดำเนินธุรกิจ Bear Stearns เผชิญกับ the Wall Street Crash of 1929 (the Great Crash) ในช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม ในปี 1929 ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ราคาหลักทรัพย์ใน New York Stock Exchange ตกต่ำอย่างรุนแรงมาก (collapse) ตามมาด้วย London Stock Exchange Crash และ Great Depression ในปี 1929-1933
วันที่ 11 มีนาคม 2008: Bear Stearns ได้รับเงินกู้ฉุกเฉิน (an emergency loan) จาก the Federal Reserve Bank of New York จำนวน 50 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และในวันเดียวกัน บริษัทจัดอันดับเครดิต Moody’s ได้ลดอันดับเครดิตของ Mortgage-backed securities ของ Bear Stearns เหลือ B และ C (Junk bonds)