Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
สมองเพชร
•
ติดตาม
20 พ.ค. 2022 เวลา 08:40 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
จำโดยใช้อารมณ์จะจำได้นานกว่า จริงหรือ?!
เหตุการณ์ที่เต็มไปด้วยอารมณ์
เช่น ไปเที่ยวต่างประเทศครั้งเเรก กินอาหารพิเศษที่ไม่เคยกิน สารภาพรักกับคนที่ชอบ ถูกบอกเลิก ถูกเเกล้ง มักจำได้ดี เเม้จะเจอเเค่ครั้งเดียว
.
จึงสรุปได้ว่า ข้อมูลที่มีอารมณ์มาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ ดีใจ เสียใจ ตื่นเต้น สนุก เศร้า โกรธ กลัว ล้วนส่งผลให้สมองสร้างสารที่ทำให้จำได้ดีขึ้นทั้งสิ้น
.
ในทางกลับกัน ข้อมูลไหนที่ไม่มีอารมณ์มาเกี่ยวข้อง เช่น 234241 , ชื่อถนน , สูตรคณิต , คำศัพท์ยากๆ , ชื่อสารเคมี มักจำไม่ค่อยได้
.
เพราะข้อมูลที่ไร้อารมณ์ทำให้สมองไม่สร้างสารที่ช่วยจำ จึงมักต้องอ่านทำความเข้าใจซ้ำๆ เเล้วส่งออกโดยการสรุปออกมาบ่อยๆ กว่าจะจำได้ดี
ตัวอย่าง
ผมมักจำชื่อเพื่อนไม่ค่อยได้ เเต่ผมจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นร่วมกับเพื่อนได้ดี ไม่ว่าจะเป็น งานกลุ่มที่ทำด้วยกัน คำพูดที่ได้คุยกัน จำหน้าตาได้ เเสดงว่าสิ่งที่ผมจำได้นั้น มันมีอารมณ์ ประสบการณ์ที่พบเจอ มาเกี่ยวข้อง
.
เเต่ชื่อของเพื่อนนั้น มันดูเฉยๆ ไม่ได้เกิดอารมณ์เเต่อย่างใด จึงทำให้บางครั้งผมจึงลืมชื่อเพื่อนบางคนไปเลย
วิธีการจำโดยใช้อารมณ์ทำอย่างไร?
บางทีข้อมูลทุกอย่างมันก็ไม่ได้ทำให้เราเกิดความรู้สึก หรือ อารมณ์ใดๆ เสมอไป
.
ดังนั้นผมจึงใช้วิธีนี้ โดยนำข้อมูลที่ไร้อารมณ์ มาเชื่อมโยงกับข้อมูลที่มีอารมณ์ เช่น เดือนมกราคมเคยไปทำกิจกรรมร่วมกับคุณ A , เคยให้คำเเนะนำให้กับคุณ B เรื่องการเรียนต่อ เป็นต้น เเบบนี้จะทำให้จำชื่อคุณ A เเละ คุณ B ได้ดีขึ้น
.
ถ้าอยากจำให้ดียิ่งขึ้นไปอีก ก็ให้ทำการส่งออกข้อมูล โดยการจดบันทึกไว้ในมือถือก็ได้ เพราะเป็นการให้สมองใช้ข้อมูลที่มีอยู่ในหัว จะทำให้จำได้นานขึ้นไปอีก
ข้อมูลที่ไม่มีอารมณ์จำยาก ลืมง่าย
ข้อมูลที่มีอารมณ์จำง่าย ลืมยาก
พัฒนาตัวเอง
1 บันทึก
1
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ความจำ
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย