17 ก.ย. 2022 เวลา 04:17 • สุขภาพ
ต่อเนื่องจากตอนที่แล้ว ว่าด้วยเรื่องของ
เกลือกึ่งๆ โหมดวิชาการ เกลือที่เราใช้บริโภค มีทั้งผลิตเองและนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น เกลือหิมาลัยสีชมพูและสีดำ เกลือเปอร์เซียสีน้ำเงิน เป็นต้น
ก่อนอื่นเรามา Focus กันที่เกลือสมุทร (sea salt) ซึ่งผลิตได้ในประเทศกันก่อน ความรู้จากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ
แม้เกลือดำจะมีโซเดียมน้อยกว่าเกลือชนิดอื่นแต่ก็ไม่เหมาะกับการบริโภค
ความรู้เรื่อง 9 ชนิดของเกลือสมุทร จากช่อง Youtube Rama channel สรุปสาระสำคัญไว้ในภาพ
รายการจากช่อง Youtube Rama Channel ไอโอดีนสำคัญแค่ไหนแล้วเกลือไอโอดีนมาจากไหน:พบหมอราคาช่วง RamaHealthTalk
Focus ต่อไป เรามาดูเกลือสินเธาว์กัน ซึ่งต้องใช้วัตถุดิบอยู่ 2 ลักษณะ คือ ดินเค็มบนผิวหน้าดิน กับ น้ำเค็มใต้ดิน
การทำเกลือสินเธาว์ รายการจากช่อง Youtube ของ Thai PBS : เกลือสินเธาว์ มรดกจากผืนดินบ้านหนองเทา ต.นาแก อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร
การทำเกลือจากผิวหน้าดิน จะเป็นการนำดิน (แข่วปลาค้าว ขี้ทาเดิ่น ขี้ทาฝุ่น) มาผสมกัน แข่วปลาค้าวเป็นหัวเชื้อ ที่มีความเค็มที่สุด ขี้ทาเดิ่น และขี้ทาฝุ่น มีความเค็มรองลงมาตามลำดับ ดินที่ผสมกันแล้วนำมาใส่ไว้ในราง ขึ้นเหยียบ เทน้ำใส่ราง (ฮาง ภาษาอีสาน/เหนือ) ทิ้งไว้ 1 คืน กรองเอาเฉพาะน้ำเกลือที่ใสแล้วมาต้มให้น้ำระเหยจนเกลือตกตะกอน
การทำเกลือจากผิวหน้าดินบ้านหนองเทา ต.นาแก อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร
อีกวิธีการทำเกลือสินเธาว์คือการทำเกลือจากน้ำเค็มใต้ดิน ซึ่งทำได้ทั้งการต้มเกลือและการตากเกลือ
การต้มเกลือ รายการจากช่อง Youtube Thai PBS บาอเกลือบ้านดุง แหล่งผลิตเกลือสินเธาว์อีสาน: ลุยไม่รู้โรย Super Active
ส่วนการตากเกลือ จะเป็นการทำนาเกลือแบบใช้แสงแดดช่วยระเหยน้ำ หลักการเช่นเดียวกับการทำนาเกลือจากน้ำทะเล นั่นเอง ซึ่งทำได้เฉพาะหน้าแล้งเท่านั้น ถ้าน้ำท่วมน้ำจะไปเจือจางน้ำเค็มในนาเกลือทำให้ไม่ได้ผลผลิต จึงต้องใช้วิธีการต้มเกลือแทน
สำหรับแหล่งของความเค็มของเกลือสินเธาว์ในภาคอิสานมีมานานนับย้อนไปตั้งแต่ยุค Cretaceous ตอนปลายประมาณ 95 ล้านปีมาแล้ว น้ำเค็มใต้ดินได้มาจากเกลือหินชั้นใต้ดิน ปกติจะอยู่ลึกลงไปประมาณ 300 เมตร แต่ถูกบีบอัดขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 30-80 เมตร การนำน้ำเค็มใต้ดินมาทำเกลือแต่ละพื้นที่จึงแตกต่างกัน เพียงขุดดินลึกลงไปเมตรครึ่งก็จะเจอน้ำเค็มที่ใช้อุปโภคบริโภคไม่ได้ ถ้าจะนำมาทำเกลือบางบ่อก็จะขุดลึก 20-30 เมตร ถ้าทำระดับอุตสาหกรรมจะขุดลึก 180 เมตร เป็นต้น
ส่วนแหล่งน้ำเค็มอื่นๆ เช่น บ้านบ่อโพธิ์ ขุดลึก 12 ศอก (6 เมตร)
อนุภาคเกลือส่วนหนึ่ง จะถูกนำขึ้นสู่ผิวดิน โดยกระบวนการแพร่ (diffusion) และแรงดึงดูดของน้ำผ่านช่องขนาดเล็กระหว่างเม็ดดิน (capillary force) เมื่อถูกแสงแดดจะระเหยเป็นผลึกเล็กๆ อยู่บนผิวดินให้เราเห็นเป็นขี้เกลือสีขาวๆ นั่นเอง
ภาพจาก muangboranjournal.com "เกลือ" ทองขาวแห่งแผ่นดินอีสาน
แหล่งของน้ำเค็มส่วนใหญ่ได้มาจากการขุดเจาะบ่อบาดาล แต่จะพบปัญหาถ้าต้องใช้อุปโภค บริโภค แต่ประเทศไทยเราเก่ง...
กรมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส) สามารถเจาะทะลุชั้นหินเค็ม 1,014 เมตร งบกว่า 8 ล้านบาท เพื่อนำน้ำจืดกว่าหลายหมื่นล้านลูกบาศก์เมตรมาใช้ นับเป็นบ่อที่ลึกที่สุดในประเทศและอาเซียน ที่ต.สาวะถี อ.เมือง จ.ขอนแก่น เมื่อปี 2564
PPTV HD 36 ไทยขุดบ่อบาดาล 1,000 เมตร ลึกที่สุดในอาเซียน-เข้มข่าวค่ำ
ในส่วนของวัตถุดิบใต้ดินเพื่อนำมาทำเกลือสินเธาว์ของอ.บ่อเกลือ จ.น่าน จากการศึกษาทางธรณีวิทยาพบว่า น้ำเกลือเกิดการไหลมาสะสมตัวบริเวณแนวตัดของรอยเลื่อนของเกลือชั้นใต้ดิน ซึ่งมีลักษณะพิเศษหนึ่งเดียวในโลกของการทำเกลือ
และนาเกลืออีกรูปแบบหนึ่งคือ นาเกลือพลาสติก ใช้พลาสติก Food grade ปูพื้นนาเพื่อลดสิ่งเปื้อนและให้เกลือตกตะกอนเร็วขึ้น เริ่มจากชาวเกาหลีเช่าที่เพื่อทำนาเกลือส่งผลิตภัณฑ์กลับประเทศ ในท้องที่ ต.พันท้ายนรสิงห์ จ.สมุทรสาคร เป็นต้นแบบ GAP ให้เกษตรกรได้ทำตาม
มาต่อกันคราวหน้า ด้วยออเดิร์ฟอีกสักจาน

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา