Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
A WAY OF LIFE : ทางผ่าน
•
ติดตาม
1 ต.ค. 2022 เวลา 01:01 • ไลฟ์สไตล์
“เราปฏิบัติธรรม ไม่ได้ทำลายความเป็นตัวตน
ของกายก็ไม่ได้ทำลาย ของจิตก็ไม่ได้ทำลาย
เพราะความเป็นตัวตนไม่เคยมีมาแต่ไหนแต่ไร
มีแต่ความหลงผิดว่ามีตัวมีตน”
“ … เมื่อ 2 – 3 วันนี้มีพระมาถามหลวงพ่อองค์หนึ่ง มีพระองค์หนึ่งมาถามหลวงพ่อ บอกว่าผมเห็นหมดแล้วล่ะว่ารูป เวทนา สัญญา สังขารไม่ใช่เรา แต่มันยังมีจิตเป็นเราอยู่ ทำอย่างไรผมจะทำลายความเป็นเราของจิตได้
ทำอย่างไรจะสามารถเห็นว่าจิตมันไม่ใช่เราได้ คิดว่าต้องสู้กับอะไรสักอย่างหนึ่งถึงจะรู้ว่าจิตไม่ใช่เรา ทำลายความเป็นเราของจิต
ท่านใช้คำนี้
ทำอย่างไรจะทำลายความเป็นตัวเราของจิตได้
1
หลวงพ่อตอบว่าไม่มีใครทำได้หรอก
เพราะความเป็นตัวเราของจิตไม่เคยมีมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว
มีแต่ความหลงผิดว่าจิตเป็นเรา
1
ในความเป็นจริงมันไม่ใช่เรามาตั้งแต่แรกแล้ว
แล้วจะไปทำลายความเป็นเราได้อย่างไร
1
สิ่งที่เราจะทำลาย คือ ความเห็นผิดว่าจิตเป็นเรา
1
ฉะนั้นที่เราทำลายสักกายทิฏฐิได้ เราทำลายทิฏฐิ ทำลายความเห็นผิดว่าขันธ์ 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร จิตใจ หรือวิญญาณคือตัวเราของเรา
ทำอย่างไรจะหายจากความเห็นผิด ก็เห็นให้ถูกเสียสิ
หลักมันมีแค่นี้เอง
ความเห็นผิดก็คือตัวอวิชชา ความเห็นถูกก็คือตัววิชชา
1
เราอยากเห็นถูก เราก็หัดรู้ไป
หัดรู้กายอย่างที่กายเป็น หัดรู้ใจอย่างที่ใจมันเป็น
รู้มันไปเรื่อยๆ
แล้ววันหนึ่งมันก็จะเห็นร่างกายไม่ใช่เรา
มันจะเห็นกาย มันดูง่าย มันหยาบ
ร่างกายไม่ใช่เรา
ความสุขทุกข์ไม่ใช่เรา กุศลอกุศลไม่ใช่เรา
ตรงจิต วิธีดูให้เห็นว่าจิตไม่ใช่เรา
เราต้องเห็นจิตมันเกิดดับ
จิตเกิดที่ตาแล้วดับ เกิดที่หูแล้วดับ
เกิดที่จมูก ที่ลิ้น ที่กาย ที่ใจ
เกิดที่ไหนดับที่นั่น จิตไม่ได้มีดวงเดียว
1
ในขณะที่ปุถุชนทั้งหลายรู้สึกว่าจิตมีอยู่ดวงเดียว
แล้วจิตดวงนี้ไปรับความสุขบ้าง ไปรับความทุกข์บ้าง
ไปรับกุศลบ้าง รับอกุศลบ้าง
วิ่งไปดูรูป ไปฟังเสียง ไปดมกลิ่น ไปลิ้มรส
ไปรู้สัมผัสทางกาย ไปคิดนึกทางใจ
คิดว่าจิตมีดวงเดียว
อันนั้นไม่มีทางเห็นหรอกว่าจิตไม่ใช่เรา
มันรู้สึกแน่นแฟ้นเลยว่าจิตนี้คือตัวเรา
1
ในความเป็นจริงแล้ว จิตไม่ได้มีดวงเดียว จิตเกิดดับอยู่ตลอดเวลา ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไปทั้งวันทั้งคืน
ฉะนั้นเราหัดดูจิตมีความสุขเกิดแล้วก็ดับ
จิตมีความทุกข์เกิดแล้วก็ดับ
จิตโลภเกิดแล้วก็ดับ จิตโกรธ จิตหลงเกิดแล้วก็ดับ
จิตไปดูรูป จิตไปดมกลิ่น ไปลิ้มรส ไปรู้สัมผัสทางกาย ไปคิดนึกทางใจ มีแต่เกิดแล้วดับ
ถ้าเห็นอย่างนี้ ซ้ำๆๆ ถึงวันหนึ่งมันจะปิ๊งขึ้นมาเลย
จิตนี้ไม่ใช่เราหรอก จะเห็นความจริงแล้ว
ไม่ได้ทำลายความเป็นตัวตนของจิต
เราปฏิบัติธรรม ไม่ได้ทำลายความเป็นตัวตน
ของกายก็ไม่ได้ทำลาย ของจิตก็ไม่ได้ทำลาย
เพราะความเป็นตัวตนไม่เคยมีมาแต่ไหนแต่ไร
มีแต่ความหลงผิดว่ามีตัวมีตน
จะทำลายความหลงผิดก็เห็นถูก
เห็นกายอย่างที่กายเป็น ก็คือมันไม่ใช่ตัวเรา
เห็นเวทนาอย่างที่เวทนาเป็น มันก็ไม่ใช่เรา
อย่างสุขทุกข์เราสั่งได้ที่ไหน
ถ้าสั่งได้ทุกคนสั่งมีความสุขหมดแล้ว
อันนี้เราสั่งไม่ได้
กุศลอกุศลมันก็ไม่ใช่เรา เพราะเราสั่งมันไม่ได้
จิตเองเราก็สั่งมันไม่ได้
สั่งให้ดูรูปอย่างเดียว ห้ามฟังเสียงก็ทำไม่ได้
เพราะฉะนั้นจิตจะไปเกิดทางอายตนะอันไหน เราสั่งไม่ได้ เราเลือกไม่ได้
เฝ้ารู้เฝ้าดูไปถึงจุดหนึ่งก็จะเห็นจิตก็ไม่ใช่เรา
ถ้าเมื่อไรเราภาวนาจนเห็นร่างกายนี้ไม่ใช่เรา
ความสุขทุกข์ไม่ใช่เรา ความดีความชั่วไม่ใช่เรา
จิตใจก็ไม่ใช่เรา นั่นล่ะเราจะได้โสดาบัน
พระโสดาบันจะรู้ว่าขันธ์ทั้ง 5 ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ของเราหรอก จะเห็นอย่างนี้ มันไม่เกี่ยวอะไรเลยกับการนั่งสมาธินานๆ นั่งแล้วก็เงียบไม่รู้สึก รู้เหนือรู้ใต้ คนละเรื่องกันเลย
ถ้านั่งสมาธิแล้วบรรลุมรรคผล พวกฤๅษีบรรลุก่อนพระพุทธเจ้าแล้ว พระพุทธเจ้าท่านมาฝึกจนกระทั่งจิตมันเดินเข้าสู่ทางสายกลางได้
ทางสายกลางก็คือไม่ตามใจกิเลส คือหลงตามโลกตามอารมณ์ไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือคิดอะไรฟุ้งซ่านไป
แล้วก็ไม่สุดโต่งมาข้างบังคับกาย บังคับใจ
นักปฏิบัติร้อยละ 100 บังคับกาย บังคับใจ
เวลาคิดถึงการปฏิบัติ ใจมันจะอึดอัด จะแน่นๆ ขึ้นมา
บางคนแน่นจนชินเลยรู้สึกไม่แน่น
พวกนี้อาการหนักหน่อย
1
คิดมากยากนาน
ธรรมะไม่ว่าจะฟังมากแค่ไหน อ่านมากแค่ไหน ก็ไม่ได้ช่วยให้เราลดละกิเลสได้ เราต้องรู้ทันกิเลส
กิเลสอะไรเกิดขึ้นในจิตใจของเรา คอยรู้ทันไว้
อย่างของคนเมื่อกี้ หลวงพ่อบอกว่าจิตมันโลภ มันมีความอยากเกิดขึ้นให้รู้ นี่ก็คือการรู้ทันกิเลส
อีกคนหนึ่งถัดมา ใจมันชอบหงุดหงิด หลวงพ่อบอกจิตมันหงุดหงิดก็ให้รู้ จิตไม่หงุดหงิดก็รู้ มันคู่เดียวเอง
กรรมฐานสำหรับคนๆ หนึ่งไม่เยอะหรอก
ถ้ายิ่งทำกรรมฐานเยอะ จับหลักไม่ได้เสียที
อย่างง่ายๆ เราเห็นร่างกายหายใจ
แล้วจิตเราสงบอยู่กับการที่เห็นร่างกายหายใจ
อันนี้ได้สมถะ
แต่ถ้าเราเห็นว่าร่างกายที่หายใจออกไม่เที่ยง
ร่างกายที่หายใจเข้าไม่เที่ยง
หรือร่างกายที่หายใจออกไม่ใช่ตัวเรา
ร่างกายที่หายใจเข้าไม่ใช่ตัวเรา
ร่างกายทั้งหมดก็จะไม่ใช่เรา เห็นอยู่แค่นี้ก็พอ
เพราะฉะนั้นทำกรรมฐานไม่ใช่เรื่องวุ่นวายมากมาย ยิ่งคิดมาก ยิ่งยากนาน ตรงนี้ถูกเป๊ะเลย คิดมากยากนานจริงๆ ของง่ายก็เลยยาก ง่ายจะตายไป
ตรงนี้หลวงพ่อขำ หลวงพ่อภาวนาเรียนจากครูบาอาจารย์ หลวงพ่อรู้สึกง่ายๆ หลวงปู่ดูลย์บอกให้ดูจิต เราก็ดูๆๆ ไป เราก็เข้าใจมัน
พอมาสอนพวกเรา หลวงพ่อก็บอกการปฏิบัติง่ายที่สุดเลย หลวงปู่ทุยท่านบอกลูกศิษย์ท่าน ท่านอ่านหนังสือหลวงพ่อด้วย ท่านบอกท่านเห็นด้วยกับอาจารย์ปราโมทย์ทุกเรื่อง ไม่เห็นด้วยอยู่เรื่องเดียว คือมันยาก
เรารู้สึกง่าย ก็เราทำ เรารู้สึกง่าย
พอหลวงพ่อสอนมานานๆ อือ ท่านถูกแหะ
ก็พวกเราทำไมมันยากเหลือเกิน
พวกเรามันคิดมาก คิดมากยากนาน
รู้เอาสิ แทนที่จะคิดเอาๆ ก็รู้เอา
นั่งอยู่รู้ไหม ยากไหมจะรู้ว่านั่ง
หายใจอยู่รู้ไหม ยากไหมที่จะรู้ว่าหายใจ
ไม่เห็นยากเลย แต่ชอบลืม
โลภอยู่รู้ไหม อยากโน้นอยากนี้ รู้ได้ไหม
ไม่เห็นจะยากเลยที่จะรู้ว่ากำลังอยาก
โกรธ รู้ไหม ไม่เห็นจะยากเลยที่จะรู้ว่ากำลังโกรธ
ใจลอยรู้ไหม ก็หัดรู้ไปสิ
ไม่รู้ก็หัดรู้ไป มันไม่ได้ยากอะไรหรอก
มันยากเพราะเราไม่ยอมทำ ไม่ยอมปฏิบัติ
มัวแต่คิดมาก ต้องทำอย่างไรดี
ทำอย่างไรจะเจริญ ทำอย่างไรจะได้มรรคได้ผล
บอกเลย อยากเท่าไรก็ไม่มีทางได้ผลหรอก
ได้ผล ได้มรรคได้ผล ไม่มีทางหรอก
จะได้ผลก็คือได้ความทุกข์ไป อยากแล้วก็ทุกข์ๆ ไป
อาจารย์นั่งอยู่นี่ ตอนหลวงพ่อยังไม่บวช ใกล้ๆ จะบวชแล้ว แกถามอะไรหลวงพ่อสักข้อหนึ่ง หลวงพ่อลืมแล้วล่ะ แต่หลวงพ่อตอบว่าตัณหาเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ มันไม่ใช่เหตุให้พ้นทุกข์
เพราะฉะนั้นอย่างเรารู้ทันกิเลสของเรา กิเลสมันก็ดับไป
ใจเราก็ไม่ดิ้นรนไปตามกิเลส ใจเราก็สงบสุข
นิพพานเป็นสภาวะที่สิ้นตัณหา ไม่ใช่เป็นโลกลึกลับอะไร ไม่ใช่
นิพพานคือสภาวะที่สิ้นตัณหา สิ้นความดิ้นรนปรุงแต่ง
คือไม่เป็นภพ ความดิ้นรนของจิตคือคำว่าภพ
เพราะฉะนั้นไม่มีภพ ไม่มีชาติ
ชาติคือการที่จิตหยิบฉวยเอาจิตขึ้นมา
หรือหยิบฉวยตา หู จมูก ลิ้น กายขึ้นมา เป็นตัวกูของกู
ถ้าภาวนาถึงจุดหนึ่ง จิตมันจะวางจิต
ตรงนี้พวกเรายังไม่เป็น
จิตมันวางจิตไป ทำไมมันวาง
ก็เพราะว่ามันเห็นว่าจิตก็ตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ มันก็วาง
มันไม่มีอะไรหรอก มันง่ายๆ อย่างนั้นล่ะ
ดูสิกลับมายืนยันว่าง่ายอีกแล้ว
แต่พอมองหน้าพวกเรา มันยากจริง
ยากเหมือนเข็นควายขึ้นภูเขา
ก็ไปทำเอา ใครทำก็ได้
ใครไม่ทำก็เวียนว่ายตายเกิดไป
ยุติธรรมแล้วล่ะ …”
.
หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
บ้านจิตสบาย
18 กันยายน 2565
https://www.dhamma.com/not-complicated/
เยี่ยมชม
dhamma.com
การภาวนาไม่ยาก
การปฏิบัติไม่ยาก มันยากที่พวกเราไม่ปฏิบัติ อย่างแทนที่เราจะคอยดูความสุขความทุกข์ในใจเรา ไม่ดู เรามัวไปดูสิ่งอื่น มันพลิกกันนิดเดียว
Photo by : Unsplash
1 บันทึก
12
2
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
อ่านธรรม : อ่านใจ
1
12
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย