22 ธ.ค. 2023 เวลา 02:00 • สุขภาพ

อันตรายแอบแฝงของยารักษาโรคกระเพาะและกรดไหลย้อน

กรดไหลย้อนทเป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อผู้คนหลายล้านคนทั่วโลก เกิดขึ้นมาากกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นมาในหลอดอาหาร ทำให้รู้สึกระคายเคือง แสบร้อนบริเวณทรวงอกหรือลำคอ หลายคนพึ่งพายาที่เรียกว่า ยาลดกรดในกระเพาะ ชนิดยับยั้งการทำงานของโปรตอนปั๊ม (Proton Pump Inhibitors หคือ PPI) เพื่อบรรเทาอาการ ยา PPI ทำงานโดยลดปริมาณกรดที่กระเพาะผลิต และมีจำหน่ายทั้งแบบไม่ต้องสั่งแพทย์และแบบสั่งแพทย์ ตัวอย่างยาลดกรดชนิด PPI เช่น โอมีพราโซล แพทโทพราโซล อีโซมีพราโซล เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม งานวิจัยล่าสุดชี้ว่ายาลดกรดชนิด PPI อาจมีข้อเสียที่น่ากังวล นั่นคือ PPI เพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาโรคไต งานวิจัยนี้ตีพิมพ์ในวารสาร Nephrology Dialysis Transplantation เป็นการทบทวนววรณกรรมอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์อภิมาณรวมข้อมูลของงานวิจัยก่อนหน้านี้ 9 ชิ้น ซึ่งตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ยา PPI กับผลลัพธ์ด้านไตที่ไม่พึงประสงค์ ทึใวิจัยรวมข้อมูลจากงานวิจัยเหล่านี้ ซึ่งมีผู้ป่วยประมาณ 2.6 ล้านคน โดย 534,003 คน (20.2%) เป็นผู้ใช้ยา PPI
ผลลัพธ์แสดงว่า ผู้ใช้ PPI มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน (AKI), โรคไตเรื้อรัง (CKD), โรคไตชนิดเนื้อไตอักเสบ (AIN) และภาวะไตวายระยะสุดท้าย (ESRD) มากกว่าผู้ไม่ใช้ PPI อย่างมาก
AKI เป็นภาวะการสูญเสียการทำงานของไตอย่างเ)ียพลัน ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะน้ำเกิน ความไม่สมดุลของเกลือแร่ และการติดเชื้อ
CKD เป็นภาวะการสูญเสียการทำงานของไตแบบค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งอาจลุกลามไปเป็น ESRD ซึ่งจำเป็นต้องฟอกเลือดหรือปลูกถ่ายไต
AIN เป็นโรคไตอักเสบชนิดหนึ่ง อาจทำให้มีไข้, ผื่น และ/หรือเลือดปนในปัสสาวะ
นักวิจัยคำนวณอัตราส่วนความเสี่ยง (RRs) และช่วงความเชื่อมั่น (CIs) สำหรับผลลัพธ์แต่ละข้อ ซึ่งวัดว่าผู้ใช้ PPI มีโอกาสประสบกับผลลัพธ์เหล่านี้มากกว่าผู้ไม่ใช้ PPI มากน้อยเพียงใด
พบว่า ผู้ใช้ PPI มีความเสี่ยงต่อ AKI เพิ่มขึ้น 44% (RR 1.44, 95% CI 1.08-1.91)
ความเสี่ยงต่อ CKD เพิ่มขึ้น 36% (RR 1.36, 95% CI 1.07-1.72)
ความเสี่ยงต่อ AIN เพิ่มขึ้น 261% (RR 3.61, 95% CI 2.37-5.51)
ความเสี่ยงต่อ ESRD เพิ่มขึ้น 42% (RR 1.42, 95% CI 1.28-1.58) มากกว่าผู้ไม่ใช้ PPI
จากผลวิจัยข้างต้น สรุปได้ว่า การใช้ยาลดกรดชนิด PPI อาจเกี่ยวข้องกับผลลัพธ์ด้านไตที่ไม่พึงประสงค์อย่างไรก็ตามผลลัพธ์เหล่านี้มาจากการศึกษาวิจัยเชิงสังเกตการณ์และหลักฐานมีคุณภาพในระดับต่ำมีความจพเป็นต้องดำเนินการศึกษาที่เข้มงวดมากขึ้นเพื่อยืนยันความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่าง PPI และผลลัพธ์ทึ่ไม่พึงประสงค์ทางไต
ก่อนจะมีผลวิจัยที่แน่นอนในอนาคต ถ้าใครที่รับประทานยาลดกรดชนิด PPI นี้ อย่างไม่มีข้อบ่งชี้ในการรักษา ควรพิจารณาหยุดทานยากลุ่มนี้ หรืออาจปรึกษาแพทย์ว่าจำเป็นต้องทานยากลุ่มนี้ต่อหรือไม่ เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหากับไตในระยะยาว
อ้างอิง
Nochaiwong S, Ruengorn C, Awiphan R, Koyratkoson K, Chaisai C, Noppakun K, Chongruksut W, Thavorn K. The association between proton pump inhibitor use and the risk of adverse kidney outcomes: a systematic review and meta-analysis. Nephrol Dial Transplant. 2018 Feb 1;33(2):331-342. doi: 10.1093/ndt/gfw470. PMID: 28339835.

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา