Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Introverted investor
•
ติดตาม
18 ม.ค. เวลา 16:43 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (The Stock Exchange of Thailand)
🟢“One stock per week” [EP.16] : แนะนำหุ้นไทย🟢
✅บริษัท ไดนาสตี้เซรามิค จำกัด (มหาชน) : [DCC]
ผู้ผลิตและจำหน่ายกระเบื้องเซรามิค ซึ่งครองส่วนแบ่งทางการตลาดสูงเป็นอันดับที่ 2 ของประเทศไทย
✴️สำหรับธุรกิจกระเบื้องเซรามิค (ปูพื้นและบุผนัง) ในประเทศไทย ‘DCC’ มีส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ที่ประมาณ 30% มากเป็นอันดับที่ 2 เป็นรองเพียง ‘COTTO’ หรือ ‘SCGD’ ที่มีส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ที่ประมาณเกือบ 50%
🔷โครงสร้างรายได้ (เฉลี่ย 5 ปีย้อนหลัง) = 8,400 ล้านบาท ซึ่งเป็นยอดขายจากภายในประเทศ 95% และต่างประเทศ 5%
◾ผลิตและจำหน่ายกระเบื้องเซรามิค : 93%
◾จำหน่ายกาวยาแนวและอื่นๆ : 7%
🔷กำไรสุทธิ (เฉลี่ย 5 ปีย้อนหลัง) ประมาณ 1,500 ล้านบาท
🔷ลักษณะผลิตภัณฑ์ที่จำหน่าย
◾ ธุรกิจกระเบื้องเซรามิค : ปูพื้น บุผนัง และพอร์ซเลน ภายใต้เครื่องหมายการค้า “ไดนาสตี้”(Dynasty), “ไทล์ ท้อป” (Tiletop) , “จากัวร์ ” (Jaguar), “แวลู่” (Value), “มัสแตง” (Mustang) ,”ไก่” (Chicken) , “นก” (Birdie) ,”เป็ด” (Ducky) ,หงส์ (Swan) , เอ็ม(M), คอสโม (COSMO) , RCI
◾ กาวยาแนว : ผลิตโดยบริษัทย่อย ภายใต้เครื่องหมายการค้า ท้อปสติ๊ก (TOP STICK)
◾ สินค้าซื้อมาขายไป : กาวยาแนว กาวซีเมนต์ กาวตะปู คิ้วกระเบื้อง จมูกบันได ไม้บัว ฯลฯ
✴️ช่องทางการจัดจำหน่าย มากกว่า 80% ขายผ่านสาขาหน้าร้านของ DCC เองซึ่งกระจายตัวอยู่ทั่วประเทศกว่า 200 สาขา ส่วนที่เหลือเป็นการขายผ่านตัวแทนจำหน่าย และการส่งออกไปต่างประเทศ
สำหรับหน้าร้านของ ‘DCC’ เป็นที่ดินของบริษัทเอง 70 สาขา ส่วนที่เหลือเป็นที่ดินเช่าระยะเวลา 1-20 ปี นับจากนี้บริษัทมีนโยบายซื้อที่ดินเป็นของตนเองเพื่อทดแทนสาขาที่เช่าอยู่ และเพื่อการก่อสร้างขยายสาขาใหม่ในอนาคต มีแผนปรับปรุงภาพลักษณ์สาขาเดิมให้ทันสมัย เข้าถึงกลุ่มลูกค้าทุกระดับ ซึ่งกลยุทธ์ดังกล่าวที่ผ่านมาส่งผลให้บริษัทมียอดขายเพิ่มขึ้น 30%
มีแผนก่อสร้างและปรับปรุงเพิ่มเติมอีก 40 แห่ง คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2025 (ช่วงนี้ต้องใช้เงินลงทุนเพิ่ม ทำให้บริษัทจ่ายเงินปันผลลดลง) ยังมีข้อดีหนึ่งคือสินทรัพย์หลักๆสำหรับดำเนินธุรกิจของบริษัทจำพวกที่ดิน โรงงาน อาคาร เครื่องจักร นั้นปลอดหนี้สิน ไม่มีภาระผูกพันทางการเงินใดๆ
🔷ยอดขายเฉลี่ย 3 ปีที่ผ่านมาเป็นการขายสินค้าทั่วไป 75% และสินค้าคุณภาพสูงเกรดพรีเมี่ยมอีก 25%
🔷สัดส่วนยอดขายแยกตามประเภทสินค้า
◾ กระเบื้องปูพื้น : 83%
◾ กระเบื้องบุผนัง : 12%
◾ อื่นๆ : 5%
ต้นทุนการทำธุรกิจหลักของ ‘DCC’ คือค่าวัตถุดิบจำพวกดิน หินบด แร่ ซึ่งสั่งซื้อจากภายในประเทศประมาณ 42% และค่าพลังงานจำพวกก๊าซธรรมชาติและค่าไฟฟ้าอีกประมาณ 40% ส่วนที่เหลือคือสีและสารเคลือบซึ่งสั่งซื้อจากต่างประเทศ สำหรับกระบวนการผลิตกระเบื้องปูพื้นและบุผนังคร่าวๆ มี 8 ขั้นตอนหลักคือ การบดเนื้อกระเบื้อง การพ่นฝอยเม็ดดินอบแห้ง การขึ้นรูปกระเบื้อง การอบกระเบื้องดิบ การเตรียมสีเคลือบและสีพิมพ์ การเคลือบและพิมพ์ลวดลาย การเผากระเบื้อง และสุดท้ายคือการตรวจสอบคุณภาพและแยกขนาด
✴️‘DCC’ มีโรงงาน 1 แห่ง สำหรับผลิตกระเบื้องปูพื้น มีอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ย 3 ปีย้อนหลังประมาณ 62% และมีอีก 2 โรงงานของบริษัทย่อย ซึ่งทั้งหมดตั้งอยู่ในจังหวัดสระบุรี โดยทั้ง 2 บริษัทย่อยนั้นดำเนินธุรกิจผลิตและขายส่งสินค้าให้กับ ‘DCC’ เพื่อนำไปขายต่อเป็นหลัก บริษัทย่อยคือ
◾ ‘บริษัท ไทล์ ท้อป อินดัสตรี้ จำกัด (มหาชน)’ ผลิตกระเบื้องปูพื้น มีอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ย 3 ปีย้อนหลังประมาณ 71%
◾ ‘บริษัท โรแยล ซีรามิค อุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน)’ ผลิตกระเบื้องปูพื้นและบุผนัง มีอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ย 3 ปีย้อนหลังประมาณ 64%
✴️ตัวเลขรวมทั้ง 3 โรงงาน ใช้กำลังการผลิตเฉลี่ย 3 ปีย้อนหลังประมาณ 67% หรือนับเป็นผลิตกระเบื้องทั้งหมดประมาณ 57 ล้านตารางเมตร
🔷กลุ่มลูกค้าหลักของ ‘DCC’ เกินครึ่งเป็นตลาดกลาง-ล่างในภาคเหนือและภาคอีสาน
◾ ภาคเหนือและภาคอีสาน : 53%
◾ ภาคกลาง : 20%
◾ กรุงเทพ และเขตเมือง : 14%
◾ ภาคใต้ : 13%
🔷ผู้ถือหุ้นใหญ่
◾ กลุ่มแสงศาสตรา : 44% (รองประธานกรรมการ ประธานกรรมการบริหาร กรรมการ)
◾ กลุ่มวิริยะเมตตากุล : 8% (กรรมการ)
◾ กลุ่มวัชรสุรังค์ : 7%
◾ สุภาณี ทองเปล่งศรี : 3%
🔷สถานการณ์ของบริษัท ณ ปัจจุบัน
ช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจหดตัว ซบเซา ผู้บริหารแจ้งว่ามีหนทางเดียวที่จะผลักดันให้บริษัทเติบโตนั่นคือการแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาดจากคู่แข่ง มีการขายตัดราคาในช่วงครึ่งปีแรกของปีที่แล้ว (2023) จุดเด่นของ DCC คือการมีหน้าร้านเป็นของตนเองมากกว่า 200 สาขา มุ่งเน้นเพิ่มยอดขายในตัวเมืองเป็นหลัก
มีการปรับปรุงกระบวนการผลิต “กระเบื้อง Porcelain” เพราะตลาดมีความต้องการเพิ่มมากขึ้น สินค้าคุณภาพสูง
ตอนนี้บริษัทมีเตาเผาจำนวน 25 เตา แต่เปิดใช้งานจริงเพียงแค่ 16 เตา เพราะเศรษฐกิจแย่
ต้นทุนค่าก๊าซธรรมชาติแพง จึงต้องปิดเตาบางส่วน ส่งผลให้ต้นทุนค่าเสื่อมราคาเพิ่มขึ้น
ช่วงนี้ตลาดรากหญ้าและกลุ่มลูกค้าต่างจังหวัด เงียบมาก แรงซื้อไม่มี อุตสาหกรรมกระเบื้องในประเทศไทยน่าจะหดตัวลงประมาณ 10% ผู้ผลิตภายในประเทศลดลง มีการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น ซึ่งบางส่วนไม่ได้มาตรฐาน เสี่ยงที่จะเกิดความเสียหาย
กลุ่มลูกค้าที่ยังเติบโตได้คือตลาดบน กลุ่มลูกค้าในเมือง บริษัทจึงเน้นพัฒนาและปรับปรุงภาพลักษณ์สาขา บุคลากร และเพิ่มการประชาสัมพันธ์ เข้าร่วมงานสถาปนิก
แก้ไขนโยบายการจ่ายเงินปันผลจากไม่เกิน 70% ไปเป็นไม่เกิน 40% เนื่องจากช่วงนี้บริษัทต้องใช้เงินลงทุนเยอะ แต่ยังจ่ายปันผลทุกไตรมาสเหมือนเดิม
🔷ภาพรวมอุตสาหกรรมกระเบื้องในประเทศไทย
ปี 2023 ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมมีการหดตัวเกือบ 5% ตลาดซ่อมแซมที่อยู่อาศัยยังซบเซา โดยเฉพาะตลาดระดับกลาง-ล่าง มีสินค้าส่วนเกินในภาคอสังหาริมทรัพย์ ต้นทุนการผลิตสินค้าสูงตามราคาพลังงาน ส่วนแนวโน้มในปี 2024 – 2026 วิจัยกรุงศรีประเมินว่าปริมาณการจำหน่ายวัสดุก่อสร้างมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากการลงทุนของภาครัฐและเอกชนที่มีแนวโน้มเติบโต 3-4%
◾อัตราส่วน P/E เฉลี่ยของอุตสาหกรรม = 12-13 เท่า
◾อัตราส่วน P/E เฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี ของ DCC = 13 เท่า
◾อัตราส่วน P/E ณ ปัจจุบันของ DCC = 12 เท่า
ขอให้มีความสุขกับการลงทุน ในทุกๆวันนะครับ 😊
การลงทุน
หุ้น
ตลาดหุ้น
บันทึก
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
🟢“One stock per week” : แนะนำหุ้นไทย🟢
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย