6 ก.พ. เวลา 02:00 • สุขภาพ

กาแฟกับสุขภาพหัวใจ: ผลระยะสั้นของคาเฟอีนต่อสุขภาพ

บทความนี้จะพาไปสำรวจงานวิจัยที่ศึกษาผลกระทบของกาแฟที่มีต่อหัวใจโดยเฉพาะภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ไปดูประเด็นสำคัญกัน
งานวิจัยนี้ตีพิมพ์ในวารสารทาวการแพทย์ระดับโลก New England Journal of Medicine ปี ค.ศ. 2023 นักวิจัยทำการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมในผู้ใหญ่จำนวน 100 คน เพื่อประเมินผลกระทบของกาแฟที่มีคาเฟอีนต่อสุขภาพในหลายด้าน ผู้เข้าร่วมสวมอุปกรณ์ติดตามเพื่อตรวจสอบกิจกรรมของหัวใจ การนอนหลับ จำนวนก้าวเดิน และระดับน้ำตาลในเลือด โดยแบ่งเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับกาแฟที่มีคาเฟอีน และกลุ่มที่ไม่ได้รับคาเฟอีนในวันต่างๆ ตามคำแนะนำของนักวิจัย
ผลวิจัยตรงกันข้ามกับความเชื่อในอดีต กาแฟที่มีคาเฟอีนไม่ได้ทำให้หัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะมากขึ้น (atrial premature contractions) อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มที่งดคาเฟอีน
อย่างไรก็ตาม พบว่ามีการเต้นผิดจังหวะของหัวใจห้องล่าง (premature ventricular contractions) เพิ่มขึ้นเล็กน้อยหลังจากดื่มกาแฟ
ที่น่าสนใจคือ กาแฟส่งผลต่อจำนวนก้าวเดินต่อวันมากขึ้น แสดงว่ามีคนที่กินกาแฟมีกิจกรรมทางกายมากขึ้น แต่ก็จำนวนชั่วโมงการนอนหลับลดลงเล็กน้อย และไม่พบความแตกต่างของระดับน้ำตาลในเลือดของทั้งสองกลุ่ม
บทสรุป การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า สำหรับผู้ใหญ่ที่แข็งแรง การดื่มกาแฟในปริมาณที่พอเหมาะไม่ทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะของหัวใจห้องบนเพิ่มขึ้นโดยตรง อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษายังเน้นย้ำถึงผลกระทบอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้น เช่น การที่หัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะมากขึ้นและรูปแบบการนอนหลับที่เปลี่ยนไป
การศึกษานี้เน้นศึกษาเฉพาะผลกระทบเฉียบพลัน (ระยะสั้น) และไม่ได้ต้องสะท้อนถึงผลกระทบในระยะยาว การวิจัยนี้ทำในผู้ใหญ่ที่แข็งแรง ดังนั้นผลลัพธ์อาจไม่สามารถนำไปใช้กับบุคคลที่มีโรคหัวใจอยู่เดิม การปรึกษาแพทย์ก่อนเปลี่ยนแปลงปริมาณการดื่มกาแฟเป็นสิ่งที่พึวกระทำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณมีปัญหาสุขภาพหัวใจ
สำหรับผลระยะยาวของกาแฟต่อสุขภาพหัวใจสามารถอ่านเพิ่มเติมในบทความ https://www.blockdit.com/posts/634f94661829ea017772e962
อ้างอิง
Marcus GM, Rosenthal DG, Nah G, Vittinghoff E, Fang C, Ogomori K, Joyce S, Yilmaz D, Yang V, Kessedjian T, Wilson E, Yang M, Chang K, Wall G, Olgin JE. Acute Effects of Coffee Consumption on Health among Ambulatory Adults. N Engl J Med. 2023 Mar 23;388(12):1092-1100. doi: 10.1056/NEJMoa2204737. PMID: 36947466; PMCID: PMC10167887.
โฆษณา