Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Just a Life
•
ติดตาม
3 มิ.ย. เวลา 05:44 • ปรัชญา
แสดงว่าเราเลือกความสุขความทุกข์ด้วยตัวเองไม่ได้ใช่ไหม
" ด้วยความที่มันเกิด-ดับแบบรวดเร็ว สิบล้านครั้งนี้
การสืบเนื่องของมันจึงคงความเป็นสภาพปรากฏ
เหมือนกับว่ามีอะไรบางอย่างปรากฏและตั้งอยู่และมีอยู่จริง
ซึ่งสิ่งเหล่านั้นจริง ๆ แล้วมันไม่ได้มีอยู่จริง
ขณะที่ปรากฏขณะนั้นก็ดับแล้วทันที
เมื่อเรามองไม่เห็นอย่างนั้น
การสืบเนื่องที่มันปรากฏทดแทนกันอย่างนี้จนทำให้เราหลงเข้าใจว่าตัวตนของเรามันมีอยู่จริง
มิจฉาทิฏฐิก็เลยตั้งขึ้น
เมื่อมิจฉาทิฏฐิมันตั้งขึ้น
ความเห็นผิดก็ครอบงำ
อวิชชาก็มีที่ตั้งบนความเห็นผิดนั้น
คือไม่รู้ว่าสิ่งที่มีอยู่นี้มันคือสภาวะที่เสื่อมและสิ้น
เมื่อไม่รู้ว่ามันเป็นสภาวะที่เสื่อมและสิ้นก็หลงยึดถือว่าตัวตนชนิดนี้เป็นสิ่งที่คงอยู่ มีอยู่
และต้องมีภาวะบางอย่างที่เป็นตัวตนหรืออัตตาของเรา
ถ้าไม่ใช่กาย ก็ต้องเป็นจิต
เพราะกายเราเห็นการตายกันอยู่
เราอาจจะลงความเห็นได้ว่ากายไม่ใช่เราได้
เพราะมันเห็นการตายอยู่
เมื่อกายไม่ใช่เราก็ต้องจิตสิ เป็นเรา
แต่ในหลักการทางพุทธศาสนาบอกว่าทั้งกายและจิตก็ไม่ใช่เรา
เพราะมันเป็นสิ่งที่เกิดและดับ เสื่อมแล้วก็สิ้นเหมือนกัน
ฉะนั้นคำว่า “สติ” คือการเข้ามาเห็นสิ่งที่เกิดและดับ
เห็นอะไรเกิด-ดับ
เบื้องต้นก็คือเห็นสิ่งที่เกิดกับจิต
อะไรที่เกิดกับจิตได้
กลุ่มอารมณ์ใช่ไหมล่ะ
นั่นหมายถึงว่าสติในระดับแรกคือเห็นอารมณ์ที่เกิดกับจิตเกิด-ดับ
อารมณ์ที่เกิดกับจิตมีอะไรบ้าง
สุข ทุกข์ พอใจ ไม่พอใจ ดีใจ โมโห ฉุนเฉียว หงุดหงิด รำคาญ หลากหลายต่าง ๆ คือสิ่งที่เราเคยประสบกันมาทั้งนั้น
เวลาเราประสบกับอารมณ์เหล่านี้มันส่งผลต่อความรู้สึกกับเรายังไง
ก็รู้สึกตามอันที่มันปรากฏมานั่นแหละ ใช่ไหมล่ะ
ทำไมเราต้องมีความรู้สึกตามอันที่มาปรากฏนั้น
แสดงว่าชีวิตเราต้องขึ้นตรงต่อสิ่งที่มาเกี่ยวข้องกับเรา
เราก็ไม่มีชีวิตเป็นของตัวเอง
อะไรก็ตามมาปรากฏให้สุข เราก็สุข
อะไรก็ตามมาปรากฏให้เราทุกข์ เราก็ทุกข์
แสดงว่าเราเลือกความสุขความทุกข์ด้วยตัวเองไม่ได้ใช่ไหม... "
พระอาจารย์ต้น ธรรมนาวา (จารุวณฺโณ ภิกฺขุ)
ชีวิต
ธรรมะ
ปรัชญา
บันทึก
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
พระอาจารย์ต้น ธรรมนาวา
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย