19 มิ.ย. 2020 เวลา 03:00 • ประวัติศาสตร์
เปิดประวัตินักค้าทาส 'เอ็ดเวิร์ด คอลสตัน' และอนุสาวรีย์ที่ถูกทำลายในข้อหาเหยียดเชื้อชาติ
WIKIPEDIA PD
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
เอ็ดเวิร์ด คอลสตัน คือนักการเมืองและพ่อค้าชาวอังกฤษที่มีส่วนในการค้าทาสจนทำรายได้เป็นกอบเป็นกำ พร้อมกันนี้เขายังบริจาคเงินเพื่อการกุศลในเมืองบริสตอล บ้านเกิดของเขา เพื่อสร้างฐานเสียงและคะแนนความนิยม เพราะเหตุนี้ จึงทำให้คอลสตันมีประวัติที่ดูขัดแย้งในตัวเองไม่น้อย และกลายเป็นหนึ่งในประเด็นที่ถูกหยิบยกขึ้นมาหลังจากชาวผิวสี จอร์จ ฟลอยด์ ที่ถูกตำรวจนครมินีแอโปลิส รัฐมินนิโซตา กระทำเกินกว่าเหตุจนเสียชีวิต จนกลายเป็นประเด็นลุกลามใหญ่โตไปทั่วสหรัฐฯ และทั่วโลก และนำมาสู่การรณรงค์ต่อต้านการเหยียดสีผิวในตอนนี้
สำหรับเอ็ดเวิร์ด คอลสตัน เขาเป็นพ่อค้าที่คอยติดต่อซื้อขายสินค้าจากสเปน โปรตุเกส และประเทศอื่น ๆ ในยุโรปราวปี ค.ศ.1680 และเขาเป็นหนึ่งในคณะกรรมการของบริษัท Royal African Company ที่ผูกขาดในการซื้อขายแรงงานทาส จนสามารถทำกำไรได้มหาศาล และเขาได้นำเงินส่วนนี้มาบริจาคให้โรงเรียน โรงพยาบาล มูลนิธิการกุศล และโบสถ์ในเมืองบริสตอล และเมืองอื่น ๆ ในอังกฤษ มีชื่อของเขาปรากฎบนถนนและสถานที่ต่าง ๆ ในเมืองบริสตอล ประเทศอังกฤษ
WIKIPEDIA PD
แน่นอนว่าสิ่งที่เขากระทำไป ปฏิเสธไม่ได้ว่าเขาทำเพื่อคืนกำไรสู่สังคม เพื่อบ้านเกิดที่เขารัก ทว่าเงินที่เขาบริจาคนั้นเป็นเงินที่ได้มาจากการค้าทาส หลังจากที่คอลสตันเสียชีวิตลงในปี ค.ศ.1721 ได้มีการสร้างรูปปั้นของเขา ณ ใจกลางเมืองบริสตอลเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานรำลึกถึงคุณงามความดีที่เขาได้กระทำเพื่อบ้านเกิด แต่ไม่ใช่ทุกคนจะประทับใจในสิ่งที่เขากระทำ เพราะคอลสตันได้ชื่อว่าเป็นผู้ค้าทาสรายใหญ่ของอังกฤษ
WIKIPEDIA CC UNKNOWN
ย้อนกลับไปในปี 1990 เริ่มมีการรณรงค์ให้รื้อถอนรูปปั้นคอลสตันออกจากเมืองและมีการเรียกร้องเรื่อยมา และได้มีการหารือกันระหว่างชาวเมืองบริสตอลเพื่อชำระประวัติศาสตร์ใหม่อีกครั้ง โดยมีการถกเถียงกันถึงสถานะของคอลสตัน โดยฝ่ายสนับสนุนให้รักษารูปปั้นของเขาก็อ้างว่า คอลสตันคือบุคคลตัวอย่างของเมือง และรูปปั้นโลหะของเขา แสดงให้เห็นถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชุมชน แต่อีกฝ่ายที่คัดค้านให้เหตุผลว่าเขาคือผู้ค้ามนุษย์ มีผู้คนนับพันคนที่ต้องกลายเป็นทาสเพราะคอลสตัน จึงมีเหตุสมควรให้รื้อถอนรูปปั้นเสีย
จนในวันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ.2020 ผู้ประท้วงในเมืองบริสตอลได้โค่นรูปปั้นของเขาลงไปทิ้งทะเล เพื่อแสดงจุดยืนต่อต้านการเหยียดผิวและเหยียดเชื้อชาติ หลังจากการเสียชีวิตของจอร์จ ฟลอยด์ ที่กลายเป็นประเด็นไปทั่วโลกนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม ภายหลังทางการได้นำรูปปั้นของเขากลับขึ้นมาอีกครั้ง แต่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ความขัดแย้งในประเด็นเรื่องสีผิวและเชื้อชาติที่เกิดขึ้นนี้ยังไม่มีท่าทีจะจบสิ้นในเร็ววัน
1
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
WIKIPEDIA CC WILLIAM AVERY
โฆษณา