18 มิ.ย. 2020 เวลา 05:00 • ประวัติศาสตร์
เกร็ดสาระน่ารู้ของ 'หลุยส์ ปาสเตอร์' นักวิทยาศาสตร์ผู้ค้นพบเชื้อโรคและคิดค้นวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
นี่คือเกร็ดสาระน่ารู้ของ หลุยส์ ปาสเตอร์ นักเคมีและนักจุลชีววิทยาชาวฝรั่งเศส ที่หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน
WIKIPEDIA PD
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
1. หลุยส์ ปาสเตอร์ ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งทฤษฎีเชื้อโรค (Germ Theory) เขาได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสาเหตุของโรคมากมาย และพบว่าส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อโรค เขาได้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างจริงจังในปี 1860 และค้นพบคำตอบ จนนำมาสู่การพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ ในภายหลัง
2. จากการศึกษาและวิจัย ทำให้หลุยส์ ปาสเตอร์ ค้นพบว่าเชื้อโรคและจุลินทรีย์มีส่วนสำคัญในการทำให้เครื่องดื่มบางชนิดเน่าเสีย เช่น ไวน์องุ่น เบียร์ และนม เขาจึงคิดค้นวิธีการฆ่าเชื้อที่เรียกว่าการพาสเจอร์ไรซ์ได้เป็นผลสำเร็จ เขาจดสิทธิบัตรกระบวนการใหม่ของเขาในปี ค.ศ.1865 และวิธีการพาสเจอร์ไรซ์ก็เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
WIKIPEDIA PD
3. หลุยส์ ปาสเตอร์ ได้ทำการศึกษาโรคพิษสุนัขบ้า ที่คร่าชีวิตผู้คนไปมาก เขาเริ่มทดลองคิดค้นวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ด้วยการนำเชื้อพิษสุนัขบ้าฉีดเข้าไปในสมองของกระต่าย เมื่อกระต่ายตัวนั้นตาย ก็จะสกัดเชื้อเหล่านั้นไปฉีดในกระต่ายตัวต่อ ๆ ไป เมื่ออัตราการตายของกระต่ายช้าลง เขาจึงนำไปทดลองกับสัตว์ประเภทอื่น ต่อมาภายหลังมีเด็ก 9 ขวบที่ติดเชื้อพิษสุนัขบ้ามาขอความช่วยเหลือ เขาจึงทดลองฉีดวัคซีนที่คิดค้นขึ้นมา และพบว่ามันสามารถช่วยเด็กคนนั้นได้สำเร็จ
4. ในช่วงศตวรรษที่ 19 เหล่าบรรดาเกษตรกรในฝรั่งเศสได้ขอความช่วยเหลือจาก หลุยส์ ปาสเตอร์ ให้ช่วยรักษาโรคระบาดร้ายแรงในหนอนไหม ที่สร้างความเสียหายอย่างหนักในอุตสาหกรรมผ้าไหม เขาใช้เวลาเกือบ 5 ปี จึงค้นพบว่าโรคระบาดนี้เกิดจากเชื้อจุลินทรีย์ที่มีชื่อว่า โนสิมาบอมบายซิล (Nosema Bombycis) ที่ตัวหนอนไหมกินเข้าไป เขาจึงได้แนะแนววิธีการป้องกันให้เกษตรกรเหล่านั้นในเวลาต่อมา
WIKIPEDIA PD
5. หลุยส์ ปาสเตอร์ นั้นประสบความสำเร็จในงานวิจัยเกี่ยวกับเชื้อโรคและเชื้อจุลินทรีย์มากก็จริง แต่เขาได้สั่งเสียกับครอบครัวในช่วงวาระสุดท้ายของชีวิตเอาไว้ว่าให้ซ่อนสมุดบันทึกงานวิจัยของเขาเอาไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้ใครขโมยผลงานและงานวิจัยของเขาไปได้ แต่สุดท้ายในปี ค.ศ.1946 หลานชายของเขาได้นำสมุดบันทึกไปมอบให้หอสมุดแห่งชาติฝรั่งเศส และพบว่างานวิจัยของเขาหยิบยืมแนวคิดจากนักวิทยาศาสตร์คนอื่น เช่นวัคซีนป้องกันโรคแอนแทรกซ์ แท้จริงแล้วเป็นผลงานของนักสัตววิทยาชื่อ ฌอน โยเซฟ อองรี ตูแซง ที่ได้ทำงานวิจัยร่วมกับหลุยส ปาสเตอร์ แต่กลับกลายเป็นว่าปาสเตอร์ไม่ได้มอบเครดิตให้ตูแซงอย่างที่ควรจะเป็น
6. หลุยส์ ปาสเตอร์ แต่งงานกับ มารี โลร็องต์ ในปี 1849 หลังจากการพบกันที่ University of Strasbourg โดยพ่อของมารีเป็นอธิการบดีของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ มารีช่วยสนับสนุนปาสเตอร์ในการทำงานวิจัยตลอดชีวิต และมีลูกด้วยกัน 5 คน แต่ 3 คนเสียชีวิตจากโรคไทฟอยด์ อาจเป็นเพราะเหตุผลนี้ จึงทำให้ปาสเตอร์ตั้งใจทำงานเพื่อหาทางกำจัดเชื้อโรค
WIKIPEDIA PD
7. หลุยส์ ปาสเตอร์ เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงในยุคสมัยของเขา และเคยได้รับรางวัล Alhumbert Prize ในปี ค.ศ.1862 สำหรับงานวิจัยด้านเชื้อโรคและเชื้อจุลินทรีย์ที่เขาได้ศึกษามา
8. แท้จริงแล้วหลุยส์ ปาสเตอร์ ไม่ได้มีพรสวรรค์ด้านงานวิทยาศาสตร์เพียงอย่างเดียว แต่ยังมีพรสวรรค์ด้านงานศิลปะ ก่อนที่จะหันมาเอาดีด้านวิทยาศาสตร์ในภายหลังอย่างจริงจังจนประสบความสำเร็จ
WIKIPEDIA PD
9. หลังจากศึกษาเล่าเรียนจนจบปริญญาเอกด้านวิทยาศาสตร์ หลุยส์ ปาสเตอร์ ได้ริเริ่มสร้างสถาบันวิทยาศาสตร์ของตนเองที่มีชื่อว่าสถาบันปาสเตอร์ในปี ค.ศ.1887 และขยับขยายจนมีหลายสาขาทั่วโลก
10. หลุยส์ ปาสเตอร์ ล้มป่วยด้วยโรคอัมพาตและโรคหลอดเลือดสมอง
จนทำใหเขาเสียชีวิตในปี ค.ศ.1895 ที่กรุงปารีส งานศพของเขาถูกจัดขึ้นที่วิหาร Notre-Dame Cathedral ก่อนนำร่างของเขามาฝังไว้ในห้องใต้ดินของสถาบันปาสเตอร์ ในกรุงปารีส และภายในสุสานของเขาก็ถูกประดับไปด้วยภาพโมเสกและการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ของเขาอีกด้วย
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
โฆษณา