9 ก.ค. 2020 เวลา 22:55 • ไลฟ์สไตล์
ถ้าคำถามบางอย่างแก้ด้วยวิธีเดิมไม่ได้
แล้วต้องใช้กรอบคิดอะไรช่วยตัดสินใจ
ผมว่าทุกคนอาจเคยอ่าน เคยฟังคำกล่าวคำสอนทั้งตามตำราหรือตาม WEB มากมายที่ว่าถ้าใช้วิธีการเดิมจะได้ผลลัพธ์แตกต่างเดิมได้อย่างไร รวมถึงมีทฤษฏี มีแนวคิดรองรับมากมาย
แล้วสำหรับการนำลงสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมมีตัวอย่างเล่าง่ายๆ ไหม
ผมขอนำประสบการณ์ผสมความติสท์ของผมเองเมื่อเจอปัญหาแต่ละวันแล้วต้องแก้ด้วยวิธีที่แตกต่าง ผมเลือกทฤษฎี หรือ นำทฤษฎีลงไปปฏิบัติอย่างไร 3 แบบครับ
กรอบคิดแบบที่ 1
"การแก้ไขโดยทะลุกรอบของคำจำกัดความ"
ประสบการณ์ของผมพบว่า บางปัญหาที่ยังคิดทางออกใหม่ไม่ได้มาจากการไม่ทะลุกรอบคำจำกัดความเดิม
เพื่อให้เข้าใจมากขึ้น ผมอยากให้ลองเข้าไปค้นใน google แบบค้นโดยรูปภาพ โดยใช้คำว่า "เก้าอี้แปลก" คุณจะพบการออกแบบใหม่จนคุณอาจต้องลืมคำจำกัดความเดิมของเก้าอี้ที่คุณจะรู้จักก็ได้
แบบเดียวกันครับ ในการทำงานเพื่อให้ถึงผลลัพธ์ดังกล่าวบางทีบางยุค เราอาจติดกรอบคำจำกัดความในช่วงนั้น เช่น องค์กรต้องมีการ "สำรวจ" ความพึงพอใจและความผูกพันของบุคลากร โดยใช้ "แบบสำรวจ" ถ้าในยุคปัจจุบันเพื่อการตอบโจทย์นี้ คำว่า สำรวจ กับ แบบสำรวจ ภาพแรกที่แว๊บขึ้นมาคือ เดิมเป็นการทำผ่านแบบสอบกระดาษ และปัจจุบันเป็นการทำผ่านแบบสำรวจออนไลน์
แล้วคุณคิดว่าต่อไปยังจะเป็นแบบนี้ต่อไปอีกหรือไม่ หรือนิยามของคำว่า "สำรวจ" กับ "แบบสำรวจจะเปลี่ยนไป" ถ้าในอนาคตคนที่เข้ามาในองค์กรต้องใช้ Application สำหรับองค์กรหละ การสำรวจจะเป็นทำ ปีละ 1 ครั้งอยู่หรือไม่ หรือต่อไปจะมีโอกาสเปลี่ยนแปลงได้ หรือการได้ข้อมูลที่เพียงพอต่อการที่จะรู้ว่าบุคลากรมีความพึงพอใจ มีความผูกพัน ถ้าไม่ใช่การ "สำรวจ" เป็นไปได้ไหมที่ได้ผลลัพธ์เหมือนเดิมหรือผลลัพธ์ดีขึ้นโดยใช้วิธีอื่น
กรอบคิดแบบที่ 2 การแก้ไขโดยใช้แนวคิด Zero Design
จริงๆ ไม่ใช่ความผิดในอดีตของใครที่ออกแบบองค์กร จัดแบ่งกลุ่มงานที่ชัดเจน (มันเป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยมตอบโจทย์และแก้ปัญหาในยุคนึงที่เยี่ยมยอดที่สุดแล้ว..ในยุคที่ยังไม่มี Internet หรือการติดต่อกันไร้พรมแดนขนาดนี้) ดังนั้นในสมัยนึงถ้าเรากลายเป็นผู้ใช้บริการ เราจะต้องเดินไปเดินมาผ่านจุดต่างๆ เพื่อเข้ารับบริการแต่ละเรื่อง เนื่องจากการออกแบบเป็น Station Based ดังนั้นเมื่อ แนวคิดเป็น Station Based เมื่อผู้รับบริการมากขึ้น วิธีแก้ก็คือ การขอเพิ่มขยายสถานที่ ขอเพิ่มคนทำงาน และพอหลาย Station ผู้รับบริการถ้าทำหลายๆ เรื่อง อาจต้องเดินไปมาเองหลายตึกเพื่อรับบริการให้ครบถ้วนเป็นต้น
แนวคิด Zero Design จึงเป็นการกลับไปแก้ที่จุดเริ่มต้น นับ O ใหม่ (เพื่อตอบโจทย์บริบทปัจจุบันมากขึ้น) ถ้าในยุคนี้หลายๆ อย่างที่เป็น One Stop Service ก็เป็นส่วนหนึ่งของกรอบแนวคิด Zero Design เพราะเปลี่ยนการออกแบบให้ผู้รับบริการเดินให้น้อยที่สุด ให้ทุกเรื่องสามารถจบได้ที่เดียว (ซึ่งต่างกับเดิมที่แต่ละเรื่องอยู่ต่างจุด Station และต่างคนทำงาน)
กรอบคิดแบบที่ 3 การแก้ไขโดยใช้แนวคิด "เลิกทำ ช่างมัน ทิ้งไปเถอะ"
บางทีสื่งที่เชื่อว่าเป็นปัญหา หรือการที่พยายามแก้ พยายามยื้อในปัจจุบันบางที
มันอาจจะไม่ได้เป็นปัญหาจริงๆ ก็ได้
ความสำคัญของประเด็นนี้คือต้องกลับมาคิดถึงคุณค่าของมัน จริงๆ
บางอย่าง การตัดสินใจเปลี่ยนวิธีโดยการ "เลิกทำ ช่างมัน ทิ้งไปเถอะ" ก็สร้างผลลัพธ์ที่แตกต่างได้
ทุกท่านน่าจะคุ้นกับแนวคิดนี้ที่องค์กรส่วนใหญ่ใช้กัน ในงานที่ไม่ใช่สิ่งที่องค์กรถนัดก็ Outsource "เลิกทำ" ส่วนงานนั้นออกไป ตรงส่วนไหนงานซ้ำซ้อนหรือไม่ต้องทำก็ได้ ก็ "ทิ้งไปเถอะ" Lean เนื้องานส่วนนั้นออกไป
และงานเดิมๆ ที่ทำสืบต่อกันมา ถ้าน้องใหม่ถามย้อนกลับมาว่า พี่ทำไปทำไม ทำไมผมต้องทำ ถ้าพี่เองตอบได้แค่ว่าก็เขาทำๆ ต่อกันมา น้องก็ทำตามพี่สอนพอ......เชื่อพี่..พี่อาบน้ำร้อนสำเร็จมาก่อนบลาๆ
ผมว่าก็สมควรทำตามที่น้องเสนอว่า "ช่างมัน" ไม่ต้องทำแล้วพี่เขาเปลี่ยนไม่ใช้วิธีนี้นานแล้ว พี่กำลังเสียเวลาทำอะไรกันอยู่

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา