20 ก.ค. 2020 เวลา 22:55 • ไลฟ์สไตล์
เป็นหัวหน้าต้อง "ดัด" จริต อะไรบ้าง
คำจั่วหัวบทความอาจตีความได้หลายแบบแต่ถ้าผู้อ่านเคยอ่านผ่านซีรีย์ผมมาจะเข้าใจ ขอยกคำช่วงหนึ่งจากเพราะผิดพลาดเดอะซีรีย์มาอธิบาย
(แต่ชีวิตการทำงาน บางทีเมื่อ "จริต" บางอย่างเป็นสิ่งที่องค์กรและคนในองค์กรเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ดีผมเองก็ "ดัดจริต" เพื่อเป็นคนดี และพอทำไปเรื่อยๆ เป็น 10 ปีบางอย่างจากที่ไม่ชิน ก็เริ่มกลายเป็นนิสัยใหม่ หรือเป็น "จริต" ใหม่ขึ้นมาครับ
ซึ่งในยุคถัดไป "จริต" ใหม่ที่ผมเป็น ก็อาจไม่ใช่สิ่งที่ต้องการแล้ว ผมก็ต้อง "ดัดจริต" ต่อไป
คำว่า "ดัดจริต" บางคนอ่านคำนี้ครั้งแรกอาจรู้สึกว่าแรง แล้วถ้าคุณใช้คำว่า
"วัฒนธรรม แทน จริต" และ
" เรียนรู้วัฒนธรรมใหม่ แทน ดัดจริต)
แล้วจริตอะไรที่หัวหน้าควรมีถ้าตาม WEB ที่แนะนำก็จะแนะนำว่าก็อะไรที่ตอนเป็นลูกน้องอยู่แล้วเห็นแล้วไม่ชอบพอเป็นหัวหน้าก็ไม่ทำ ดังนั้นผมเองก็เป็นหัวหน้ามาหลายปี ก็จะลิสต์ออกมาซัก 10 อย่างเพื่อเตือนตัวผมเองให้ไม่หลุดติสท์ในทางที่ไม่ถูกที่ควรเป็นการเตือนใจผมเอง เอาซัก 10 ข้อละกัน
1. รับผิด และ รับชอบ ตามความหมายของคำว่า "รับผิดชอบ" ไม่โทษน้องๆ เพียงอย่างเดียว จะบอกว่าเวลาผิด ผิดคนละครึ่งอาจใช้ไม่ได้ทุกครั้ง เพราะเป็นหัวหน้า เป็นลายเซ็นต์สุดท้ายอย่างไรก็ตามถ้าจะผิดต้องเป็นความผิดเกินครึ่งหนึ่ง
2. กล้าตัดสินใจ เพราะในการทำงานอะไรที่เป็นสีขาว สีดำใครๆ ก็ตัดสินใจได้ ดังนั้นอะไรที่เป็นส่วนที่เป็นสีเทาเมื่อถึงเวลาต้องตัดสินใจก็ตัดสินใจ เพราะการไม่ตัดสินใจจะสร้างปัญหาที่มากกว่า และถ้าเกิดผิดพลาดอะไรในการตัดสินใจขึ้นมากลับไปอ่านข้อ 1
3. เชื่อใจ เมื่อได้มอบหมายงานให้น้องๆ ไม่เข้าไปแทรกแซงวิธีการดำเนินการในขั้นตอนย่อยๆ ให้อำนาจน้องๆ ในการตัดสินใจ แต่เมื่อน้องเกิดการปัญหาในการทำงานที่ไม่สามารถตัดสินใจได้และมาปรึกษาขอความช่วยเหลือกลับไปอ่านข้อที่ 2
4. ใช้หลักการ เหตุผล ใช้อารมณ์ให้น้อยที่สุดหรือในโอกาสที่ควรใช้ ในการทำงานการตัดสินใจของน้องๆ อาจมีทั้งคนเห็นเหมือน และเห็นต่าง อาจมีเสียงสะท้อนกลับทั้งมุมถูกใจและไม่ถูกใจ จนอาจมีคนมาฟ้อง จึงไม่ควรฟังความข้างเดียวเพราะต้องมีความเชื่อใจในงานที่มอบหมายให้น้องถ้ามีประเด็นขึ้นมากลับไปอ่านข้อที่ 3
2
5. งานที่หัวหน้าทำได้ดี หัวหน้าต้องสอนงานชิ้นนั้นกับน้องๆ และหัวหน้าต้องไปรับงานใหม่เองที่ท้าทายขึ้น มอบหมายงานที่เชื่อว่าเกิน 70-80% น้องจะทำได้เอง และสามารถหาวิธีหรือแนวทางการแก้ไขเบื้องต้น โดยหัวหน้าจะไม่เข้าไปตัดสินอะไร หรือสงสัยอะไรในเรื่องเล็กๆ น้อยเมื่อมอบหมายชิ้นงานนั้นให้น้องๆ หากเริ่มมีประเด็นขึ้นมากลับไปอ่านข้อที่ 4
3
กำลังคิดว่าเขียนย้อนกลับข้อหมดก็แปลกดีแต่เอาแค่นี้ก่อนดีกว่า เดี้ยวงง เขียนแบบปกติแล้วกัน
6. มีเวลาว่างสำหรับการให้คำปรึกษาน้องๆ บนฐานความคิดที่ว่า ถ้ากล้าขอให้ช่วย แม้จะเวลาไหนจะช่วยให้คำแนะนำ หรือช่วยลงไปแก้ไขให้ไม่เกิน 24 ชั่วโมง และเป็นผู้ "สื่อ" สารที่ดี ไม่ใช่ผู้ "ส่ง" สาร ที่แย่
7. เน้นการคุยแบบไม่เป็นทางการในการติดตามงาน การประชุมสำคัญระดับงานเน้นเป็นการอัพเดทแผนงานความคืบหน้าให้น้องคนอื่นๆ ในทีมรับทราบความคืบหน้าของแต่ละทีมเพื่อช่วยให้มุมมอง ความเห็นหรือข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหา ถ้าวาระการประชุมมีแต่ประธานคุยทางเดียวเพื่อแจ้งให้ที่ประชุมทราบ และสรุปรายงานการประชุมมีแต่การรับทราบ ก็แปลว่าจริงๆ วันนั้นไม่ต้องนัดประชุมก็ได้
8. ไม่จำเป็นต้องทำให้น้องๆ รักเราทุกคน และแม้ลูกน้องจะไม่รักหรือไม่ชอบตัวเราอย่างไร ก็ต้องหาวิธีคุยงานและสนับสนุนพัฒนารวมถึงแก้ไขปัญหาให้น้องคนนั้น ในรูปแบบทางตรงหรือทางอ้อม เพราะการที่นิ่งเฉยไม่เข้าไปแก้ไขอะไรอาจจะทำให้ภาพรวมของงานมีปัญหา (ไม่ได้เน้นแก้ไขปัญหาความสัมพันธ์ส่วนบุคคลแต่หาวิธีในการผลิตผลงานร่วมกันให้ได้)
9. เป็นหัวหน้าเป็นแค่หัวโขน ผิดก็ยอมรับผิด ตรงไหนไม่รู้ก็บอกไม่รู้และรีบหาวิธีทำให้รู้ ตรงไหนน้องเก่งกว่าก็ขอเข้าไปเรียนรู้ให้น้องแนะนำ น้องทำดีก็ชม ชมทั้งที่แจ้งทั้งส่วนตัว เวลาติเพื่อก่อน้องๆ ก็ทำในที่ลับ ไม่ติในที่แจ้ง
10. เป็นหัวหน้าแค่เวลางาน ตามบทบาท นอกเวลางานก็สวมหมวกอื่นตามความสัมพันธ์ ตามหลัก ถูกที่ ถูกเวลา ถูกคน ถูกสถานการณ์ ถูกบริบท หรือจะเพิ่ม ถูกๆๆๆ อะไรอีกได้ตามสไตล์แต่ละคน เพราะวันนึงข้่างหน้าหัวโขนที่ใส่ อาจส่งมอบไปที่น้องและตัวเราเปลี่ยนบทบาทเป็นลูกน้องวันใดวันหนึ่งก็ได้

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา