25 ต.ค. 2023 เวลา 13:01 • ท่องเที่ยว

พะแนง หรือ แพนง สู่ตำนานวัดพนัญเชิงตำนานรักโศกนาฏกรรมระหว่างเจ้าชายสายน้ำผึ้งกับเจ้าหญิงสร้อยดอกหมาก

แกงเนื้อหรือแกงใส่ไก่สีแดง เขียนว่ายังไงให้ถูกต้องตามที่ราชบัณฑิตฯ บัญญัติไว้ดีคะ
แอดเขียนผิดมาตลอดตั้งแต่สมัยเรียนประถมเลยค่ะ เพราะคิดว่า คำที่ใครๆก็ใช้กันและดูซับซ้อน ภาษาสวย ต้องแพนงแน่เลย แต่ผิดค่ะ คำนี้สะกดตรงตัวเลยว่า "พะแนง"
พะ-แนง นี้ รากศัพท์มาจากภาษาเขมร แปลว่า "ขัด" คือเอาของสองสิ่งมาไขว้กัน
พูดถึงเขมร พอศึกษาลงลึกหน่อย หลายอย่างไทยก็เอามาจากเค้าจริงๆ แต่เราเอามาปรับเปลี่ยน ดัดแปลง จนมันดูเหมือนของไทยไปแล้ว พอรู้อย่างนี้ ก็พอเข้าใจที่เค้าขยันเคลม
แกงพะแนง
แต่ก่อนเค้าทำพะแนงโดยใช้ไก่ทั้งตัวเอาขัดกันยัดเข้าไปในตัวไก่ ตอนนี้เปลี่ยนมาใช้ไก่สับ หรือเนื่้อสัตว์ชนิดอื่นแทนไก่ทั้งตัว แต่ยังเรียกพะแนงสืบต่อมา
คราวนี้ก็มาถึงพระพุทธรูปที่นั่งขัดสมาธิที่เรียกว่า พระแพนงเชิง คำนี้มาจาก แพนง+เชิง
ที่หมายถึง ขัดเท้า คือ ขัดสมาธินั่นเอง
พระแพนงเชิง
แล้วจากแพนงเเชิงก็เพี้ยนมาเป็น "พนัญเชิง" จากตำนานทางเหนือเล่าว่า เจ้าชายสายน้ำผึ้งสร้างวัดพนัญเชิงขึ้นโดยมีที่มาจากตพนานความรักของตัวเองกับเจ้าหญิงสร้อยดอกหมาก
วัดพนัญเชิง
เจ้าหญิงสร้อยดอกหมากนี้ไม่ใช่คนไทย แต่เป็นลูกบุญธรมของพระเจ้ากรุงจีน ยกให้เป็นมเหสีแก่เจ้าชาย พอมาถึงไทย เจ้าชายให้เจ้าหญิงรออยู่ก่อน แถวปากน้ำแม่เบี้ย ใกล้แหลมบางกะจะ
หน้าวัดพนัญเชิงในปัจจุบัน แต่ก็อีหรอบเดิม นิสัยชายเจ้าชู้ ได้แล้วทิ้ง เจ้าชายลืมเจ้าหญิง พอนึกได้ มารับ ก็แซวให้เสียใจ เจ้าหญิงเลยกลั้นใจตาย เป็นที่มาของ "ศาลเจ้าแม่สร้อยดอกหมาก" โดยทำเป็นศาลเจ้าแบบจีน
การที่เจ้าชายมารับเจ้าหญิงคือมาเชิญนั่นเอง บางคนเลยเรียก วัดพระนางเชิญ เป็นอีกตำนาน
จบแล้วค่ะ เป็นยังไงคะบทความแบบนี้ ชอบกันไหมคะ ถ้าชอบ อย่าลืมช่วยกดไลค์ กดติดตาม เป็นกำลังใจให้กันและบอกให้แอดรับรู้ด้วยนะคะว่า แบบนี้เวิร์คหรือไม่เวิร์ค

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา