17 ก.ค. 2020 เวลา 22:55 • ไลฟ์สไตล์
ใส่ใจกับคนที่อยากพัฒนา
แล้วคนแบบไหน.. ที่พัฒนาได้
ทำงานด้าน HR เรียนจบมาด้าน HR ก็จะถูกปลูกฝังความเชื่อ แนวคิดทฤษฏีต่างๆ เต็ม WEB ว่าคนพัฒนาได้ คนเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดในองค์กร คนในองค์กรสามารถสร้างความคุ้มค่า หรือนวตกรรมที่จะทวีคูณทิ้งคู่แข่งได้ในระดับ 5 - 10 ปี แล้วประเด็นสำคัญในเรื่องนี้คืออะไรที่นำมาเล่าในวันนี้
แล้ว "คนทุกคนพัฒนาได้....เพื่อทำงานให้องค์กรจริงหรือ" เพราะในชีวิตก็มีเรื่องอื่นมากมายที่ต้องทำรวมถึงเสริมสร้าง Work Life Balance ให้ชีวิตสมดุลค้นพบเป้าหมายค้นพบความสุขในชีวิต
และเมื่อฐานแนวคิดในการทำให้บุคคล พึงพอใจ ผูกพัน หรือมีความสุข จนสามารถสร้างผลงานที่แตกต่างกันได้ อาจมีปัจจัยรายคนที่แตกต่างกัน และในช่วงชีวิตกราฟของแต่ละคนหรืออารมณ์แต่ละวันก็แตกต่างกันตามบริบทแวดล้อม
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร.. ว่าคนแบบไหนที่พัฒนาได้ วันนี้ขอแชร์จากประสบการณ์ตรงเช่นเคย (เห็นเหมือนเห็นต่างได้เสมอ) ที่ถ้าเข้าเงื่อนไข 4 ใน 5 ข้อ คุ้มค่าที่ผมในฐานะหัวหน้าจะผลักดันพัฒนา
กรอบคิดที่ 1 "ความสามารถ VS ศักยภาพ"
ไม่ลงทฤษฏีมากนะครับ เพราะไม่ตรงวัตถุประสงค์เพจ แต่ง่ายๆ คือ ความสามารถเป็นเรื่องความสำเร็จในงานปัจจุบัน แต่ศักยภาพเป็นเรื่องของงานในอนาคตที่ท้าทายไปข้างหน้าตอบโจทย์องค์กรขึ้น
เลือกเงื่อนไข "ศักยภาพ"
กรอบคิดที่ 2 "ปัญหา VS โอกาส" ในการทำงานมีสิ่งที่ไม่คาดหวังไว้เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาดังนั้นเป็นความจริงที่คนส่วนใหญ่จะมองปัญหา เป็น ปัญหา เป็นเรื่องที่ขัดตา ขัดความรู้สึก ไม่ชอบ รังเกียจ ซึ่งเป็นสิ่งไม่ผิดที่ทุกคนมีช่วงเวลาที่ต้องพบเจอ แต่ถ้าเจอคนที่เมื่อเจอปัญหา แล้วเกินครึ่งสามารถแก้ปัญหาได้ และถ้ายิ่งแก้ปัญหาได้แบบเห็นว่าเป็น "โอกาส"
เลือกเงื่อนไข "โอกาส"
กรอบคิดที่ 3 "ดึง VS ผลัก"
การที่จะสนับสนุนใครให้พัฒนาได้ตัวของเขาเองต้องเปิดใจ ดังนั้นการที่จะสนับสนุนใคร ลองมองเป็นภาพนะครับ ระหว่าง เอามือผลักไปที่หลังให้เขาเดินเร็วขึ้น...เดินนำหน้าเราไปข้างหน้า กับ การที่เขาพยายามอยู่กับที่แล้วเรายื่นมือมาจับและดึงขึ้นไปกับเรา
เลือกเงื่อนไข "ผลัก"
กรอบคิดที่ 4 "เพื่อตัวเอง VS เพื่อส่วนรวม"
แรงผลักดันขึ้นกับเป้าหมายที่จะไป เป้าหมาย ไม่ผิดที่ทุกคนถ้าไม่พร้อมหรือยังไม่ได้เติมเต็มความสำเร็จระดับส่วนบุคคลแล้ว จะสามารถทำเพื่อส่วนรวมได้ทุกคน แต่ถ้าเริ่มมีพื้นฐานในการเติมเต็มความสำเร็จส่วนตัวแล้วการที่ขยายขอบเขตเป็นเพื่อส่วนรวมน่าสนใจ
เลือกเงื่อนไข "เพื่อส่วนรวม"
กรอบคิดที่ 5 "ความเสี่ยง VS ความเชื่อ"
การพัฒนาจริงๆ เป็นเรื่องของการลงทุนอย่างหนึ่งเราไม่รู้หรอกว่าทรัพยากรที่ลงไปที่เท่ากัน แต่ละคนจะสำเร็จแตกต่างกันหรือไม่ มันเหมือนการ "ปลูก" และ "ปลุก" และทดลองสิ่งที่ยังไม่เคยทำ ดังนั้นมันมีทั้ง ความเสี่ยงที่จะไม่สำเร็จ หรือ ผิดหวังอยู่แล้วครับ แต่ถ้ายังคงมีความเชื่อ ว่าจะเป็นไปได้ ก็สนับสนุนตามที่ใจต้องการ
เลือกเงื่อนไข "ความเชื่อ"
เป็นตัวอย่างในมุมผมนะครับ เวลาลงมือปฏิบัติ สามารถร่วมแบ่งปันในมุมมองต่างๆ ได้เช่นเคย

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา