Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
อ่าน เขียน เรียน รู้
•
ติดตาม
25 มี.ค. 2022 เวลา 02:00 • สุขภาพ
เตือนภัย คนชอบเครื่องดื่มร้อน ๆ
ในยามเช้า หลังตื่นนอนใหม่ ๆ การดื่มเครื่องดื่มร้อน ๆ เช่น น้ำเปล่า ชา หรือ กาแฟ สักแก้ว ทำให้เรารู้สึกผ่อนคลาย และรู้สึกกระปรี้กระเปร่า พร้อมที่จะทำงาน
แม้ว่าการดื่มเครื่องดื่มร้อน ๆ จะทำให้เรารู้สึกดี กระนั้น ยังมีอันตรายที่เราอาจไม่เคยล่วงรู้มาก่อน การดื่มเครื่องดื่มร้อน ๆ อย่างไม่ถูกต้อง ไม่ถูกวิธีอาจนำมาซึ่งโรคร้ายที่อาจก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาในอนาคต
โรคร้ายที่ว่า คือ มะเร็งหลอดอาหาร (esophageal cancer)
อย่างพึ่งตื่นตระหนกตกใจไป การดื่มเครื่องดื่มร้อน ๆ นั้น มิใช่ว่า จะทำให้เกิดโรคมะเร็งหลอดอาหารไปเสียทั้งหมด การดื่มที่ไม่ถูกวิธี กล่าวคือ ดื่มเครื่องดื่มที่ร้อนมาก ๆ จนเกินไป ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ เป็นสาเหตุที่ทำให้คนที่ชอบดื่มเครื่องดื่มร้อน ๆ มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งหลอดอาหารมากขึ้น
จากรายงานการประชุมของหน่วยงาน International Agency for Research on Cancer หรือ IARC ภายใต้องค์การอนามัยโลก ในปี ค.ศ. 2016 มีการรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ทั้งงานวิจัยในสัตว์ทดลอง และงานวิจัยในมนุษย์ มีหลักฐานหลาย ๆ ชิ้น บ่งชี้ว่า การดื่มเครื่องดื่มร้อน ๆ ที่จัดอยู่ในระดับร้อนมาก (very hot beverages) อุณหภูมิของเครื่องดื่มสูงกว่า 65 องศาเซลเซียส เพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งหลอดอาหารชนิด squamous cell carcinoma
เชื่อว่าเครื่องดื่มที่ร้อนมาก ๆ ไปทำให้เซลล์เนื้อเยื่อบุหลอดอาหารได้รับบาดเจ็บ และเป็นต้นตอของการเกิดมะเร็งบริเวณเยื่อบุหลอดอาหาร ซึ่งจากการประชุมดังกล่าว ได้ข้อสรุปว่า
"การดื่มเครื่องดื่มที่ร้อนมาก ๆ อุณหภูมิมากกว่า 65 องศาเซลเซียส ติดต่อเป็นระยะเวลานาน อาจเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งหลอดอาหาร" (Drinking very hot beverages at temperatures above 65 celcious degree is probably carcinogenic to humans: Group 2A)
พอทราบเช่นนี้ อย่าพึ่งตกใจหรือกระต่ายตื่นตูมไปนะครับ เรายังสามารถดื่มเครื่องดื่มร้อน ๆ กันได้อยู่ อย่างไรก็ตาม ควรรอสักพักให้เครื่องดื่มอุณหภูมิต่ำลงกว่า 65 องศาเซลเซียส หรืออาจใช้น้ำร้อนที่อุณหภูมิต่ำกว่า 65 องศาเซลเซียสในการชงเครื่องดื่มแทน เท่านี้เราก็สามารถหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งหลอดอาหารได้แล้วครับ
เอกสารอ้างอิง
https://www.iarc.who.int/wp-content/uploads/2018/07/pr244_E.pdf
https://www.iarc.who.int/featured-news/media-centre-iarc-news-mono116/
อาหาร
สุขภาพ
อาหารสุขภาพ
1 บันทึก
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
สาระน่ารู้ อาหารและสุขภาพ
รู้ทันหมอ
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย